สืบสานนาฎศิลป์พื้นเมืองจากอดีตสู่ความเป็นมืออาชีพ

(VOVworld) – คลังนาฎศิลป์พื้นเมืองของชนกลุ่มน้อย 53 เผ่าในเวียดนามมีความหลากหลายและได้สร้างเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนาม โดยเฉพาะในยุคแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกนั้น ความเป็นเอกลักษณ์แห่งศิลปะพื้นเมืองก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินเวียดนามหลายคนได้สืบสานและพัฒนาให้มีพลังชีวิตใหม่เพื่อความเป็นมืออาชีพ

(VOVworld) – คลังนาฎศิลป์พื้นเมืองของชนกลุ่มน้อย 53 เผ่าในเวียดนามมีความหลากหลายและได้สร้างเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนาม โดยเฉพาะในยุคแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกนั้น ความเป็นเอกลักษณ์แห่งศิลปะพื้นเมืองก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินเวียดนามหลายคนได้สืบสานและพัฒนาให้มีพลังชีวิตใหม่เพื่อความเป็นมืออาชีพ

สืบสานนาฎศิลป์พื้นเมืองจากอดีตสู่ความเป็นมืออาชีพ - ảnh 1
สืบสานนาฎศิลป์พื้นเมืองจากอดีตสู่ความเป็นมืออาชีพ

ในกระบวนการพัฒนานาฎศิลป์มืออาชีพในตลอดกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผลงานการร่ายรำที่ประสบความสำเร็จ 2 ใน 3 มีการสืบสานจากท่ารำพื้นเมือง ซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่น่าสนใจของนักออกแบบท่ารำรุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งผู้ที่เดินหน้าในการใช้เทคนิคนี้ก็อย่างเช่น นักอบบแบบท่ารำหว่างโจว ที่สามารถผสมผสานระหว่างท่ารำพื้นเมืองของชนเผ่าไทกับท่ารำทันสมัยเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน “รื่นเริงภาคตะวันตกเฉียงเหนือ” นักออกแบบท่ารำฝุ่งหญานได้ใช้ท่ารำพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าซ้านใจผสมในผลงาน “นกกาเหว่า” และศิลปินประชาชนเลหงอกแกงออกแบบการแสดงชุด “ต้อนรับแสงแดด” จากท่ารำของชนกลุ่มน้อยเผ่าไต เป็นต้น ศิลปินประชาชนเลหงอกแกงยืนยันว่า “นาฎศิลป์พื้นเมืองเป็นแหล่งกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์แห่งศิลปะที่งดงามของศิลปิน ถ้าหากมีความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและเอกลักษณ์ของศิลปะพื้นเมือง ความลึกซึ้งของวัฒนธรรม ของศิลปะและความรู้ในการร่ายรำก็สามารถผสมผสานเข้าในผลงานได้ดี ซึ่งสามารถพูดได้ว่า นาฎศิลป์พื้นเมืองเป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลงานการฟ้อนรำมืออาชีพ”

เทศกาลพื้นเมืองต่างๆ เช่น งานเกี๊บซักหรือการแต่งตั้งบุคคลสำคัญในชุมชนชนกลุ่มน้อยเผ่าเย้า พิธีขอฝนของชนกลุ่มน้อยเผ่าเมอนงและสเตียง พิธีเชิญฆ้องของชนกลุ่มน้อยเผ่าโจว์รอและเทศกาลกาเตของชนกลุ่มน้อยเผ่าจาม เป็นต้น รวมทั้งมหากาพย์ของชนกลุ่มน้อยเขตเตยเงวียน ภาพพื้นเมืองดงโห่ งานประติมากรรมและรูปปั้นโบราณล้วนเป็นแหล่งสมบัติอันล้ำค่าเป็นพื้นฐานแห่งศิลปะที่สมบูรณ์สำหรับการออกแบบท่ารำใหม่ให้แก่ศิลปะการร่ายรำ ในประวัติศาสตร์ หน่วยงานนาฎศิลป์เวียดนาม มีนักออกแบบท่ารำหลายคนได้ประสบความสำเร็จจากการใช้พื้นฐานเหล่านี้ เช่น ศิลปินประชาชนท้ายลี ศิลปินประชาชนอึ๊งยวีถิง ศิลปินประชาชนมิงเตี๊ยนและศิลปินท้ายเฟียน เป็นต้น ศิลปินท้ายเฟียนให้ข้อสังเกตว่า “ในท่ารำพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าไท ผู้รำต้องก้มหน้าลง ห้ามมองหน้าของผู้ชมที่เป็นขุนนาง แต่ในผลงานการแสดงชุด “ดอกกาหลงบาน”ของศิลปินประชาชนมิงเตี๊ยนผู้ล่วงลับผู้รำสามารถเงยหน้าขึ้นพร้อมรอยยิ้มและใช้ท่ารำที่ดูเหมือนดอกไม้บาน อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการปลดปล่อยต้อนรับรุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติและนี่คือนาฎศิลป์ร่วมสมัย”

สืบสานนาฎศิลป์พื้นเมืองจากอดีตสู่ความเป็นมืออาชีพ - ảnh 2
ท่ารำของชนกลุ่มน้อยเผ่า K'ho(Photo Internet)

ในการสืบสานนาฎศิลป์พื้นเมืองของชนกลุ่มน้อย บรรดาศิลปินยังพยายามนำเอกลักษณ์การร่ายรำของชนกลุ่มน้อยเข้าในผลงานประเภทอื่นๆ เช่น บทกวีรำ ละครรำ โดยเฉพาะผสมระหว่างแนวคิดที่เรียบง่ายของชนกลุ่มน้อยกับปรัชญาของยุคใหม่เพื่อผลิตผลงานนาฎศิลป์สมัยใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ชม ศิลปินยอดเยี่ยมเหงียนหวูเลินเผยว่า “ แนวทางที่นักออกแบบท่ารำหลายคนมักจะใช้คือ การผสมระหว่างท่ารำพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยกับท่ารำสมัยใหม่ แต่เพื่อจะทำได้เช่นนี้ พวกเขาต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับประเพณี อารมณ์ศิลป์และความรักของชนกลุ่มน้อยที่ตนกำลังสืบสานเพื่อสร้างเป็นภาษาท่ารำหรืออิริยาบถที่มีความกลมกลืนโดดเด่น”

ในกระบวนการพัฒนานาฎศิลป์มืออาชีพในตลอดกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา สามารถเห็นได้ชัดเกี่ยวกับคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยที่ได้สร้างเป็นพื้นฐานแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญเพื่อช่วยให้นักออกแบบท่ารำสามารถสืบสานและส่งเสริมพัฒนาให้เป็นผลงานนาฎศิลป์ร่วมสมัยที่มีคุณค่าศิลปะสูงและช่วยเสริมสร้างให้คลังศิลปะการร่ายรำเวียดนามมีความสมบูรณ์มากขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด