(VOVWORLD) -ในปี 2022 ฮานอยเป็นท้องถิ่นแห่งแรกที่ประกาศใช้มติเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยตั้งเป้าไว้ว่า จะพัฒนาหน่วยงานวัฒนธรรมของกรุงฮานอยอย่างรอบด้านทั้งในด้านขอบเขต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ การบริการและตลาด เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมให้เป็นหน่วยงานเศรษฐกิจหลักของกรุงฮานอย ทางการกรุงฮานอยกำลังพยายามพัฒนาวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งพลังเพื่อผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกรุงฮานอย
รายการแสดงศิลปะบนท้องถนน
|
มติ “การพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในกรุงฮานอยระยะปี 2021-2025 แนวทางจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045”กำหนดเป้าหมายร่วมคือพัฒนาหน่วยงานอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของกรุงฮานอยให้กลายเป็นหน่วยงานเศรษฐกิจหลักที่มีอัตราการขยายตัว มีสัดส่วนและมีมูลค่าเพิ่มสูง เป็นมืออาชีพ มีโครงสร้างพื้นฐานอย่างพร้อมเพรียงและทันสมัย การบริการ ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย มีคุณภาพ มีมูลค่าสูง ตอบสนองความต้องการของประชาชนภายในประเทศและการส่งออก นาย เหงวียนวันฟอง รองเลขาธิการพรรคสาขากรุงฮานอยได้เผยว่า ศักยภาพด้านวัฒนธรรมเป็นจุดแข็งของกรุงฮานอย โดยกรุงฮานอยมีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 17 ในบรรดานครหลวงต่างๆในโลก และเป็นไม่กี่นครหลวงที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี
“ทางการกรุงฮานอยกำหนดว่า การพัฒนาวัฒนธรรมและชาวฮานอยที่สุภาพเรียบร้อยและมีอารยธรรมกลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนากรุงฮานอยอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ซึ่งเป็นการตระหนักใหม่ที่ผ่านมา พวกเรากำหนดว่า นี่เป็นเป้าหมายและเป็นพลังขับเคลื่อน ส่วนตอนนี้ พวกเราต้องเน้นส่งเสริมคุณค่า วัฒนธรรมและคนฮานอยให้กลายเป็นพลังที่สำคัญในการพัฒนากรุงฮานอยอย่างรวดเร็วและยั่งยืน”
มติการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมกรุงฮานอยกำหนดเป้าหมายจนถึงปี 2025 ให้หน่วยงานอุตสาหกรรมวัฒนธรรมกลายเป็นหน่วยงานเศรษฐกิจที่สำคัญ สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีคุณภาพสูง มีความหลากหลาย มีเครื่องหมายการค้า มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมฮานอย สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคได้ ธำรงและพัฒนานครหลวงแห่งนวัตกรรม พยายามมีส่วนร่วมต่อ GRDP ของกรุงฮานอยร้อยละ 4-5 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7 ภายในปี 2030 และร้อยละ 10 ภายในปี 2045
ในการสัมมนาเกี่ยวกับการวิจัย การตระหนัก การศึกษา การประชาสัมพันธ์และปฏิบัติตามมติที่ 09 เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในกรุงฮานอยในช่วงปี 2021 -2025 แนวทางจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม บรรดาผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยด้านวัฒนธรรมต่างสนับสนุนมติดังกล่าว โดยเห็นว่า เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมให้เป็นหน่วยงานเศรษฐกิจใหม่ จำเป็นต้องมีก้าวเดินที่สอดคล้อง กลไกและนโยบายพิเศษ นาย บุ่ยหว่ายเซิน สมาชิกคณะกรรมาธิการวัฒนธรรมและการศึกษาสภาแห่งชาติได้ยืนยันว่า
"มติเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเป็นการปฏิบัติงานด้านการสร้างสรรค์ พัฒนาวัฒนธรรมและคนฮานอย ตอบสนองความต้องการพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะกรุงฮานอย ความดีเลิศของวัฒนธรรมฮานอย ก็ถือเป็นความภาคภูมิใจด้านวัฒนธรรมของเวียดนาม ดังนั้น ต้องปกป้อง ส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรม คุณค่าของคนฮานอยเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศและพลังของประชาชาติในระยะต่อไป”
เพื่อปฏิบัติมตินี้ ฮานอยกำลังจัดทำกลไกและนโยบายพิเศษเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของการระดมแหล่งพลังต่างๆ ในด้านวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การยกระดับมรดกวัฒนธรรม อาคารและวิลล่าเก่า มรดกตัวเมือง มรดกแห่งความทรงจำให้เป็นมรดกวัฒนธรรมใหม่ การพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม มีกลไกและนโยบายส่งสริมการลงทุนและการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม
กรุงฮานอยยังเน้นพัฒนาตลาดอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในพื้นที่ที่มีศักยภาพและจุดแข็ง เช่น เขตตัวเมืองและหมู่บ้านศิลปาชีพผ่านการฝึกอบรมหรือการเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถด้านนวัตกรรม มุ่งสู่ตลาดต่างประเทศ การสร้างเครื่องหมายการค้าและการบริการที่มีคุณภาพสูงเพื่อประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรมฮานอยภายในประเทศและโลกผสานกับการท่องเที่ยว กิจกรรมการดึงดูดการลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ นาย เหงวียนแทงกวาง ผู้อำนวยการศูนย์การอนุรักษ์มรดกทังลองได้เผยว่า
“จากการประกาศใช้มติที่ 09 โครงการต่างๆที่ได้รับการอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีจะได้รับการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว พวกเราเน้นจัดกิจกรรมที่แนะนำวัฒนธรรมนามธรรมของโบราณสถานหว่างแถ่งทังลองเป็นประจำ เช่น เทศกาลตรุษเต๊ต เทศกาลสารทไหว้พระจันทร์ และกิจกรรมอื่นๆเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ พวกเรายังผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อขยายการพบปะแลกเปลี่ยน”
กรุงฮานอยยังตั้งเป้าหมายการวางผัง การจัดสรรที่ดิน การระดมแหล่งพลังของรัฐและภาคเอกชนให้แก่การปฏิบัติโครงการพัฒนาวัฒนธรรมที่มีคุณภาพสูง โดยให้ความสนใจต่อการพัฒนาสถานที่สาธารณะ สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สถานที่บันเทิง ศิลปะการแสดง ผสานระหว่างถนนคนเดินกับแหล่งช้อปปิ้ง ปัจจุบัน กรุงฮานอยมีหมู่บ้านศิลปชีพกว่า 300 แห่ง มีโบราณสถานทางวัฒนธรรมเกือบ 6,000 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และอนุรักษ์ ซึ่งเป็นศักยภาพเพื่อผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของกรุงฮานอยอย่างยั่งยืน.