เวียดนามอนุรักษ์และส่งเสริมประโยชน์มรดกจากอ่าวฮาลอง
Hoang Trinh-Pham Phong -  
( VOVworld )-ก่อนหน้านี้ ๒๐ ปี องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนอ่าวฮาลองเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน ซึ่งเป็นมรดกแห่งที่สองของเวียดนามที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกต่อจากมรดกกรุงเก่าเว้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อปีค.ศ.๑๙๙๓ แม้ว่าเวียดนามได้บริหารและอนุรักษ์มรดกตามมาตรฐานของยูเนสโกเป็นครั้งแรกก็ตาม แต่ด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่และความพยายามอย่างเต็มที่ก็ทำให้ทางจังหวัดกว่างนินห์สามรถประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์
( VOVworld )-
ก่อนหน้านี้ ๒๐ ปี องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนอ่าวฮาลองเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน ซึ่งเป็นมรดกแห่งที่สองของเวียดนามที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกต่อจากมรดกกรุงเก่าเว้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อปีค.ศ.๑๙๙๓ แม้ว่าเวียดนามได้บริหารและอนุรักษ์มรดกตามมาตรฐานของยูเนสโกเป็นครั้งแรกก็ตาม แต่ด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่และความพยายามอย่างเต็มที่ก็ทำให้ทางจังหวัดกว่างนินห์สามรถประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์
ภูไก่ตัวผู้และไก่ตัวเมืยบนอ่าวฮาลอง
ตลอด ๒๐ ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ปฏิบัติยุทธศาสตร์และโครงการอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางมรดกของอ่าวฮาลอง โดยสามารถอนุรักษ์คุณค่าพิเศษของอ่าวฮาลองและสามารถส่งเสริมศักยภาพและความได้เปรียบของมรดกทางธรรมชาติของโลกแห่งนี้ในการพัฒนาหน่วยงานการท่องเที่ยวและมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกจของท้องถิ่น อย่างไรก็ดี การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกอ่าวฮาลองยังประสบกับความลำบากและอุปสรรคมากมายที่ต้องแก้ไขเนื่องจาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตลอดจนการร่างยุทธศาสตร์บริหารอ่าวฮาลองโดยรวม ท่านหวูถี่ทูถุ่ย รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว่างนินห์เห็นว่า ๒๐ ปีไม่ใช่ระยะเวลาที่ยาวนานแต่ก็สามารถประเมินผลการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกอ่าวฮาลองได้อย่างสมบูรณ์ในทุกด้าน โดยสามารถอนุรักษ์มรดกทางธรรมมชาติเป็นอย่างดี ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวในอ่าวได้มีการพัฒนาให้มีโฉมใหม่ที่สวยงามและได้มีการสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ท่านหวูถี่ทูถุ่ยกล่าวว่า “ ในปีต่อๆไป ทางจังหวัดกว่างนินห์จะผลักดันความร่วมมือกันนานาประเทศเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากชุมชนและองค์การต่างๆเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกอ่าวฮาลอง ตลอดจนเพิ่มการลงทุนในการอนุรักษ์มรดกและอนุรักษ์ระบบนิเวศ การผลักดันการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอ่าวฮาลองให้กลายเป็นจุดนัดพบของนักท่องเที่ยวและศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเวียดนามและโลก ”
ปัจจุบันในจังหวัดกว่างนินห์มีสถานที่พักผ่อนประมาณ ๘๕๐ แห่ง รวม๑๓,๐๐๐ ห้อง ซึ่งมีโรงแรมระดับ ๑ ดาวถึง ๕ ดาว ๘๖ แห่ง เรือสำราญกว่า ๕๐๐ ลำซึ่งมีเรือหรู ๑๕๐ ลำ บริษัทนำเที่ยวกว่า ๔๐ มีร้านอาหาร ภัตคารและแหล่งชอปปิ้งหลายร้อยแห่ง ดังนั้นทางจังหวัดกว่างนินห์ต้องให้ความสนใจต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์จากมรดกอ่าวฮาลองก็ได้ส่งผลกระทบในทางลบมากมายไม่ว่าจะในด้านสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม ภูมิทัศน์และธรรมชาติดังนั้นต้องวางแผนบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยก่อนอื่นคือการพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยว การวิจัยผลกระทบจากนักท่องเที่ยว การบริหารจัดการนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม วางแผนสร้างงานทำ ตลอดจนความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในพื้นที่
หลายปีที่ผ่านมา สำนักงานโครงการให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นหรือไจก้าได้ช่วยเหลือจังหวัดกว่างนินห์ในการอนุรักษ์ธรรมชาติอ่าวฮาลองในโครงการต่างๆ ทั้งนี้ได้ส่งผลให้ชาวประมงและนักท่องเที่ยวมีจิตสำนึกและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศ.โกจิ โอ๊ตสึกา อาจารย์มหาวิทยาลัยโอซากาที่เป็นตัวแทนของไจก้าได้ย้ำถึงปัจจัยสำคัญเพื่ออนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติให้อยู่ในสภาพเดิมคือ จิตสำนึกของคนที่เป็นเจ้าของมรดก ศ.โกจิกล่าวว่า “ ในการอนุรักษ์อ่าวโอซาก้าของญี่ปุ่นพวกเราก็ประสบหลายปัญหา ดังนั้นพวกเรามีประสบการณ์มากพอสมควร สิ่งที่สำคัญที่สุดในการอนุรักษ์คือ การให้ความรู้แก่คนรุ่นใหม่และยกระดับจิตสำนึกของพวกเขาในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และถ่ายทอดให้คนรุ่นต่อไป ดังนั้นพวกคุณต้องทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้เพื่ออนุรักษ์อ่างฮาลองในเวลาข้างหน้า ”
นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามและชาวต่างชาติที่เคยมาเที่ยวอ่าวฮาลองมีความคิดเห็นว่า อ่างฮาลองเปรียบเสมือนเจ้าหญิงนิทราในป่า เพราะการบริการการท่องเที่ยวยังไม่หลากหลายและไม่เป็นมืออาชีพ ยังไม่มีผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของฮาลอง มีผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของจังหวัดและประเทศเท่านั้น ส่วนท่านเหงวียนวันต๊วน อธิบดีทบวงการท่องเที่ยวเวียดนามได้เห็นว่า หากทางจังหวัดกว่างนินห์ไม่เร่งดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างแบรนด์และโรดโชว์ การท่องเที่ยวอ่าวฮาลองก็จะยังไม่ได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ ท่านเหงวียนวันต๊วนกล่าวว่า “ พวกเราจะเป็นคนแรกที่ได้รับความเสียหายหากไม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอ่าวฮาลอง นอกจากนี้ก็ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์เพราะไม่มีใครสามารถทำแทนบริษัทได้ พวกเราต้องขยายการประชาสัมพันธ์ การสร้างความเชื่อมั่นต่ออ่าวฮาลองจะมีส่วนร่วมต่อการบริหารอ่าว อ่าวฮาลองมีหลายปัจจัยที่สมบูรณ์ที่สมควรกลายเป็นแบรนด์การท่องเที่ยวของชาติ ”
อ่าวฮาลองไม่เพียงแต่มีคุณค่าแห่งมรดกระดับชาติเท่านั้นหากยังในระดับโลกและเป็นมรดกของมนุษย์อีกด้วย ดังนั้นเพื่อใช้ประโยชน์คุณค่าของอ่าวฮาลองอย่างเต็มที่แต่ก็ยังอนุรักษ์อ่าวให้อยู่ในสภาพเดิมตามอนุสัญญาขององค์การยูเนสโกจำเป็นต้องพยายามและใช้ความตั้งใจอย่างเหนียวแน่นและการบริหารแบบบูรณาการของทั้งประเทศไม่ใช่เฉพาะของจังหวัดกว่างนินห์เพียงอย่างเดียว./.
Hoang Trinh-Pham Phong