กระแสการค้าเสรีในโลก

(VOVWORLD) - ในปี 2020 เศรษฐกิจโลกประสบกับภาวะถดถอยครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากผลกระทบในทางลบของโควิด-19 มาตรการล็อกดาวน์และปิดพรมแดนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทำให้การค้าทั่วโลกชะงักงัน ในขณะที่ลัทธิคุ้มครองการค้าได้ขยายอย่างกว้างขวางก็เป็นอุปสรรคขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ตาม การค้าโลกในช่วงปลายปี 2020 ได้มีสัญญาณฟื้นตัว

กระแสการค้าเสรีในโลก - ảnh 1บรรดาผู้นำและรัฐมนตรีการค้าของ 15 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกหลังจากลงนาม RCEP เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนปี 2020 (EPA)

ในปี 2020 นอกจากแนวโน้มขยายการเปิดเสรีทางการค้า การปรับลดและมุ่งสู่การยกเลิกกำแพงภาษีผ่านการปฏิบัติตามคำมั่นในข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอรุ่นใหม่แล้ว ประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศพัฒนาได้เพิ่มการใช้มาตรการคุ้มครองการค้าเพื่อปกป้องการผลิตและผู้บริโภคภายในประเทศ การลดลงของการค้าโลกได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจต่างๆส่วนใหญ่ต้องล็อกดาวน์เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  แต่หลังจากนั้นไม่นาน การค้าก็เริ่มมีการขับเคลื่อนฟื้นตัว

สัญญาณในเชิงบวก

นาย Robert Koopman หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากองค์การการค้าโลกหรือ WTO ได้แสดงความเห็นว่า หลังจากเกิดสงครามด้านภาษีระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นเวลา 2 ปี การค้าระหว่างประเทศยังคงดำเนินไปอย่างราบรื่นผ่านเครือข่ายผู้จัดสรรคที่กว้างขวางโดยบริษัทข้ามชาติหลายแห่งกำลังพยายามขยายโรงงานผลิตในประเทศต่างๆแทนการถอนตัวออกจากตลาดโลก 

หลักฐานเกี่ยวกับการฟื้นตัวอย่างมั่นคงของการค้าโลกในปี 2020 กำลังปรากฎในเดือนสุดท้ายของปีเมื่อตัวเลขของเศรษฐกิจต่างๆที่อาศัยการส่งออกเป็นหลักในเอเชียมีสัญญาณดีขึ้น โดยสาธารณรัฐเกาหลีได้เผยว่า การส่งออกของประเทศได้กลับเพิ่มขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วเนื่องจากขยายตัวด้านการส่งออกไปยังตลาดใหญ่ๆ เช่น สหรัฐและสหภาพยุโรป ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อหรือพีเอ็มไอของภาคการผลิตในประเทศจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาได้พุ่งขึ้นแตะ 54.9 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบทศวรรษ ในขณะที่ดัชนีพีเอ็มไอภาคการผลิตของญี่ปุ่นก็กลับสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดเช่นกัน

ที่น่าสนใจคือ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนปี 2020 10 ประเทศในอาเซียนและ 5 ประเทศหุ้นส่วน ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP หลังจากเจรจาเป็นเวลา 8 ปี RCEP ได้สร้างเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีประชากร 2.2 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรโลก GDP อยู่ที่ 26,200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเกือบร้อยละ 30 ของ GDP และเกือบร้อยละ 28 ของการค้าทั่วโลก การลงนาม RCEP ถือเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อผลักดันการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก  ปกป้องระบบการค้าพหุภาคีในช่วงเวลาที่ลัทธิพหุภาคีกำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดและการเติบโตของโลกกำลังลดลง

โลกาภิวัตน์ยังคงเป็นแนวโน้มในอนาคต

ในช่วงต้นปี 2020 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 องค์การการค้าโลกหรือ WTO ได้คาดการณ์ว่า การเติบโตของการค้าโลกอาจลดลงร้อยละ 32 ในปีนี้ ซึ่งหมายความว่า ตัวเลขนี้สามารถลดลงต่ำกว่าในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ แต่เป็นที่น่ายินดีที่สถานการณ์ไม่ได้รุนแรงเหมือนที่คาดการณ์ไว้โดยเมื่อล่าสุดนี้  WTO ได้คาดการณ์ว่า การค้าโลกจะลดลงเพียงร้อยละ 9.2 ในปีนี้ซึ่งต่ำกว่าช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2009 ที่การค้าโลกลดลงร้อยละ 12

เพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทข้ามชาติหลายแห่งได้พัฒนาวิธีการใหม่ ๆ รวมทั้งการแสวงหาสถานที่ใหม่เพื่อผลิตและจำหน่ายสินค้า ประเทศต่างๆกำลังเพิ่มความหลากหลายในการลงทุนจากต่างประเทศอย่างเข้มแข็ง ผลักดันการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและการเข้าร่วมของภาคต่างๆภายในประเทศเพื่อลดความเสี่ยงและค้ำประกันความมีเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทาน ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแสดงความเห็นว่า ถ้ามองปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนในอีกด้านหนึ่งที่เหมือนเป็นแรงกระตุ้นการผลักดันแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายการผลิตไปยังประเทศอื่นหรือกลับไปลงทุนในประเทศบ้านเกิดเพื่อใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษด้านต้นทุน แรงงานหรือโลจิสติกส์

ทั้งนี้ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ต่อเศรษฐกิจโลกจะยังคงดำเนินต่อไป แต่เพื่อให้ระบบการค้าทั่วโลกมีความสามารถในการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ประเทศต่างๆต้องร่วมกันยืนหยัดคัดค้านลัทธิคุ้มครองการค้าและถือโลกาภิวัตน์เป็นทิศทางที่จะช่วยให้การค้าโลกพัฒนาอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ซึ่งสัญญาณที่น่ายินดีในเบื้องต้าของกระแสการค้าเสรีในช่วงปลายปี 2020 ได้สร้างความคาดหวังเกี่ยวกับอนาคตที่สดใสของการค้าโลกในปี 2021./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด