การประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 ปี 2022 และภาระหน้าที่ที่เต็มไปด้วยความท้าทาย
Ba Thi- VOV5 -  
(VOVWORLD) -เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการจัดการประชุมสุดยอดกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือจี 20 โดยมีการเข้าร่วมของผู้นำเศรษฐกิจชั้นนำ การประชุมนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่โลกกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี วิกฤตด้านอาหาร พลังงานและการเงิน เป็นต้น การประชุมครั้งนี้ได้รับการตั้งความหวังว่า จะมีส่วนช่วยผลักดันการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง รอบด้านและยั่งยืนของเศรษฐกิจโลก
การประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 ปี 2022 ภายใต้หัวข้อ “ร่วมกันฟื้นฟูอย่างเข้มแข็งมากขึ้น” ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 15 -16 พฤศจิกายน ได้เน้นถึงปัญหาที่ร้อนระอุที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง นอกจากนี้การพบปะทวิภาคีและพหุภาคีนอกรอบการประชุมก็ดึงดูดความสนใจเป็นพิเศษจากประชาคมโลกและสื่อต่างชาติ
ระเบียบวาระการประชุมและความผันผวนที่น่าสนใจ
ตามการประกาศของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20ปี 2022 สามปัญหาที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมครั้งนี้คือความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน โครงสร้างสาธารณสุขโลกและการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งบรรดาผู้นำกลุ่มจี 20 จะหารือเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร พลังงานและโครงสร้างด้านสาธารณสุขโลกในวันแรกของการประชุมและการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล จะได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือในวันที่สองของการประชุม
บรรดานักวิเคราะห์ระหว่างประเทศประเมินว่า ระเบียบวาระการประชุมปีนี้ล้วนแต่เป็นปัญหาที่ร้อนระอุและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งกลุ่มประเทศจี 20 และโลกอีกด้วย ซึ่งในนั้น ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานเป็นประเด็นที่รัฐบาลประเทศต่างๆเน้นผลักดันในสภาวการณ์ที่การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนและความผันผวนต่างๆกำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อแหล่งอุปทานโลก ซึ่งทำให้ราคาพลังงานและอาหารเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติกาลในภูมิภาคต่างๆ ส่วนโครงสร้างสาธารณสุขโลกก็เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ร้อนระอุในฟอรั่มพหุภาคีต่างๆในเวลาที่ผ่านมาในขณะที่โลกกำลังต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ความท้าทายด้านสาธารณสุขที่รุนแรง เช่น โรคฝีดาษลิงและโรคร้ายแรงต่างๆ สำหรับปัญหาการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลก็เป็นแนวโน้มที่ส่งผลกระทบต่อทุกด้านของชีวิตสังคมในทุกประเทศในโลก
นอกจากระเบียบวาระการประชุม การพบปะทวิภาคีนอกรอบการประชุมก็ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากประชามติและสื่อต่างชาติ โดยตั้งความหวังว่า จะแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาที่ร้อนระอุในทั่วโลก ซึ่งการพบปะระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดนกับประธานประเทศจีน สีจิ้นผิงเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนเป็นการพบปะโดยตรงครั้งแรกระหว่างผู้นำสองเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดในโลกนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 เมื่อเกือบ 3 ปีก่อน สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ ในสภาวการณ์ที่การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนกำลังมีขึ้นอย่างรุนแรง ทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งในหลายปัญหา ไม่ว่าผลการพบปะเป็นอย่างไรแต่การพบปะนี้เป็นสัญลักษณ์ของแนวโน้มการสนทนาและความต้องการร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างสองประเทศและในขอบเขตระดับโลก
การตั้งความหวังและความท้าทาย
ตามข้อมูลล่าสุด เศรษฐกิจกลุ่มจี 20 มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรโลก จีดีพีมากถึงร้อยละ 80 ของจีดีพีโลกและมูลค่าการค้าคิดเป็นร้อยละ 75 ของการค้าโลก จากการที่มีบทบาทและสถานะที่สำคัญนี้ กลุ่มจี 20 ได้รับการตั้งความหวังว่าจะมีส่วนร่วมผลักดันความสามัคคีระหว่างประเทศต่างๆ ส่งเสริมการรักษาสันติภาพ สร้างสรรค์โลกที่เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น
กลุ่มจี 20 ประกอบด้วยสหรัฐ สหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แคนาดา สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ เม็กซิโก อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี และสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นสมาชิกพิเศษ .
ในการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20ปีนี้ นอกจากการเข้าร่วมของผู้นำและประมุขประเทศสมาชิกกลุ่มจี 20 ประเทศเจ้าภาพอินโดนีเซียยังเชิญผู้นำ ตัวแทนขององค์การระดับภูมิภาคและโลก เช่น กัมพูชา ซึ่งเป็นประธานอาเซียนปี 2022 ตัวแทนประเทศแอฟริกา ลาตินอเมริกา แปซิฟิกและแคริบเบียนและ 10 องค์การระหว่างประเทศเข้าร่วม การเข้าร่วมของประเทศต่างๆในการประชุมครั้งนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการประชุมเท่านั้น หากยังเป็นการปฏิบัติสองหลักการที่ประเทศเจ้าภาพกลุ่มจี 20 ยืนหยัดปฏิบัติ แนวทางที่รอบด้านและ “ไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ซึ่งอินโดนีเซียมีความประสงค์ว่า ทุกประเทศจะมีวิธีการเข้าถึงอย่างยุติธรรมในการส่งเสริมปัญหาที่ได้รับความสนใจของกลุ่มจี 20 เป้าหมายของการประชุมคือนำผลประโยชน์มาให้แก่ทั้งประเทศสมาชิก ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก รวมทั้งประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศหมู่เกาะและกลุ่มเสี่ยง
แต่อย่างไรก็ดี เป้าหมายนี้ได้รับการประเมินว่า เป็นภาระหน้าที่ที่เต็มไปด้วยความท้าทายในสภาวการณ์ที่การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกมีความผันผวนที่ซับซ้อนและยากที่จะคาดเดาได้ สถานการณ์การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ความผันผวนน่ากังวลบนคาบสมุทรเกาหลี ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจต่างๆสร้างแรงกดดันต่อความพยายามสร้างสรรค์สันติภาพ เสถียรภาพในทั่วโลก ซึ่งต้องการความพยายามของประชาคมโลก โดยเฉพาะกลุ่มจี 20 ซึ่งเป็นองค์การพหุภาคีที่มีอิทธิพลต้องส่งเสริมบทบาทและสถานะมากขึ้นเพื่อโลกที่ปลอดภัย เจริญรุ่งเรืองและครอบคลุม.
Ba Thi- VOV5