การเลือกตั้งในอังกฤษและปัญหาBrexit
Hong Van- VOV5 -  
(VOVWORLD) -วันที่8มิถุนายน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอังกฤษได้ออกไปลงคะแนนเลือกตั้งรัฐสภาก่อนกำหนด ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญที่สุดหลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือ Brexitเพราะผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะส่งผลต่อกระบวนการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาBrexitของอังกฤษในเวลาที่จะถึง
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เทเรซา เมย์ (Photo: EPA/TTXVN) |
พรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล พรรคแรงงาน พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคประชาชาติสกอตแลนด์ พรรคกรีน พรรคเอกภาพอังกฤษและพรรค Plaid Cymruของเวลส์จะเข้าร่วมการแย่งชิงที่นั่งในรัฐสภาอังกฤษ แต่อย่างไรก็ดี บรรดานักการเมืองต่างคิดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่เป็นการแข่งขันระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์กับพรรคแรงงานของนาย เจเรมี คอร์บิน
ในการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะลงคะแนนเลือกส.ส.650คนจากพรรคต่างๆ ซึ่งหัวหน้าของพรรคใดที่มีที่นั่งในรัฐสภามากที่สุดก็จะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่และขึ้นบริหารประเทศ
การเลือกตั้งครั้งนี้ได้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่อังกฤษเพิ่มความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยหลังจากที่เกิดเหตุโจมตีก่อการร้าย2ครั้งติดต่อกัน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน
จุดยืนเกี่ยวกับปัญหา Brexitของพรรคการเมืองต่างๆ
สำหรับพรรคการเมืองต่างๆในประเทศอังกฤษ ทัศนะในการเจรจาเกี่ยวกับปัญหา Brexitกับอียูเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดและเป็นปัจจัยสำคัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง สิ่งที่น่าสนใจคือ ปัญหา Brexitเป็นสาเหตุที่ทำให้นายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์ ตัดสินใจจัดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนด3ปีเนื่องจากเห็นว่า นี่เป็นวิธีเดียวเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมืองในอีกหลายปีข้างหน้าเมื่ออังกฤษผลักดันการเจรจากับอียู ดังนั้น ในกระบวนการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมได้ยืนหยัดจุดยืนคือให้ความเคารพการตัดสินใจถอนตัวออกจากอียูของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอังกฤษและหน้าที่ของรัฐบาลคือปฏิบัติตามความปรารถนาของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง พร้อมทั้ง ยืนยันว่า พรรคอนุรักษ์นิยมมีทักษะความสามารถในการเจรจาให้ประสบความสำเร็จ นายกรัฐมนตรีอังกฤษยังแสดงความเชื่อมั่นต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหา Brexit โดยย้ำว่าหลังจากที่ถอนตัวออกจากอียู อังกฤษจะกลายเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของโลกที่มีความยุติธรรม ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นเอกภาพและความมั่นคงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์ได้ประกาศจุดยืนที่แข็งกร้าวในการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาBrexitคือ การไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆดีกว่าการบรรลุข้อตกลงที่ขาดประสิทธิภาพและส่งผลกระทบในทางลบต่ออังกฤษ พร้อมทั้ง เผยว่า อังกฤษจะไม่เข้าร่วมการเจรจาถ้าหากอียูบังคับให้อังกฤษจ่ายเงิน 1แสนล้านปอนด์เนื่องจากการถอนตัวออกจากอียู ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งบางส่วนได้ชื่นชมจุดยืนดังกล่าวของนาง เทเรซา เมย์ ส่วนบางส่วนเห็นว่า ท่าที่ที่แข็งกร้าวของนาง เทเรซา เมย์ จะไม่เป็นประโยชน์ต่ออังกฤษในการเจรจาและอนาคตของความสัมพันธ์ทางการค้ากับอียู โดยเฉพาะ นักลงทุน ธนาคารและการเงิน
นาย เจเรมี คอร์บิน หัวหน้าพรรคแรงงานก็ให้การสนับสนุนการถอนตัวออกจากอียูแต่มีวิธีการเข้าถึงที่โอนอ่อนกว่า โดยให้ความสนใจต่อการเจรจาเพื่อให้อังกฤษมีสิทธิ์เข้าถึงตลาดอียูอย่างเสรี โดยชื่นชมบทบาทที่สำคัญของอียูต่อเศรษฐกิจอังกฤษและมุ่งสู่การบรรลุข้อตกลงการค้ากับอียู สำหรับพลเมืองอียู นาย เคียร์ สตาร์เมอร์ โฆษกของพรรคแรงงานอังกฤษเกี่ยวกับปัญหา Brexitได้ย้ำว่า พลเมืองอียูไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมต่อสังคมอังกฤษเท่านั้นหากยังเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอังกฤษอีกด้วย พร้อมทั้ง ให้คำมั่นว่า รัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยมจะค้ำประกันสิทธิ์ผลประโยชน์ของพลเมืองอียูทุกคนที่กำลังอาศัยในประเทศอังกฤษและจะแสวงหามาตรการค้ำประกันสิทธิผลประโยชน์ให้แก่พลเมืองอังกฤษที่อาศัยในประเทศอียูเช่นกัน
(Photo: Internet)
|
ความท้าทายของอังกฤษหลังการเลือกตั้ง
แม้พรรคใดได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้แต่แน่นอนว่า ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการก่อการร้าย ความมั่นคงและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ สำหรับด้านความมั่นคง สำนักงานข่าวกรองอังกฤษสามารถระบุชื่อสมาชิก23,000คนของกลุ่มญิฮาดหัวรุนแรงที่กำลังอาศัยในประเทศนี้ ข้อมูลดังกล่าวและเหตุก่อการร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อังกฤษจะถูกโจมตี นอกจากนี้ การก่อเหตุทำร้ายชาวมุสลิมในกรุงลอนดอนก็อยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะ เมื่อวันที่6มิถุนายนที่ผ่านมา จำนวนเหตุอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องถึงการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ40 โดยเฉพาะ การทำร้ายชาวมุสลิมได้เพิ่มขึ้น5เท่า ในสถานการณ์ที่เป็นจริง ไม่ว่าพรรคใดขึ้นเป็นรัฐบาลแต่อังกฤษก็ต้องธำรงความสัมพันธ์พันธมิตรในการต่อต้านการก่อการร้ายกับอียูเพื่อผลประโยชน์ ความมั่นคงและการพัฒนาของทั้งสองฝ่าย
อังกฤษยังต้องเผชิญกับความท้าทายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งข้อมูลสถิติล่าสุดระบุว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอังกฤษอาจเพิ่มขึ้นอย่างล่าช้าเมื่ออังกฤษเริ่มทำการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาBrexitกับอียู นาย Carolyn Fairbairn หัวหน้ากลุ่มรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสังกัดสมาคมอุตสาหกรรมอังกฤษได้เผยว่า รัฐบาลชุดใหม่ต้องค้ำประกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้สถานประกอบการมีความมั่นใจในการลงทุนเพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของประเทศอังกฤษและชื่อเสียงของอังกฤษต้องได้รับการปกป้อง
ภายหลังเกือบ1ปีของการลงประชามติ เมื่อวันที่23มิถุนายนปี2016 ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอังกฤษได้ออกไปลงคะแนนในการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อช่วยให้กระบวนการเจรจาเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียูมีความสะดวกมากขึ้น ยุทธศาสตร์Brexitเกี่ยวกับการปกป้องผลประโยชน์ของอังกฤษและมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องการ ดังนั้น แม้พรรคใดจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ต้องสร้างสรรค์รัฐบาลที่เข้มแข็งและสามัคคีเพื่อนำประเทศเข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาBrexitที่คาดว่า จะเริ่มขึ้นหลังการเลือกตั้ง11วัน.
Hong Van- VOV5