ความชะงักงันในความพยายามปรับขึ้นราคาน้ำมันโลก

(VOVworld) – หลังการเจรจานานถึง 6 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 17 เมษายน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกได้ประสบความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพื่อทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นซึ่งผลการประชุมนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมันและการปรับขึ้นราคาน้ำมันคือเรื่องที่ยากจะสำเร็จ

(VOVworld) – หลังการเจรจานานถึง 6 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 17 เมษายน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกได้ประสบความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพื่อทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นซึ่งผลการประชุมนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมันและการปรับขึ้นราคาน้ำมันคือเรื่องที่ยากจะสำเร็จ
ความชะงักงันในความพยายามปรับขึ้นราคาน้ำมันโลก - ảnh 1
นาย อเล็กซานเดอร์ โนวัค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรัสเซียได้เผยว่า ซาอุดิอาระเบีย กาต้าร์ เวเนซุเอล่าและรัสเซียได้บรรลุความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับร่างข้อตกลงเพื่อจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเมื่อวันที่ 16 เมษายน แต่หลังจากนั้น 1 วันก่อนเปิดการประชุม บางประเทศกลับเปลี่ยนแปลงทัศนะดังกล่าว ตามความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรัสเซีย ต้องรอถึงกลางปี 2017 ตลาดน้ำมันโลกถึงจะมีเสถียรภาพ แต่ถ้าหากสามารถบรรลุข้อตกลง ณ กรุงโดฮาได้ ตลาดก็จะมีเสถียรภาพเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ 6 เดือน
ไม่มีสัญญาณเกี่ยวกับการลดปริมาณการผลิตน้ำมัน

การประชุม ณ กรุงโดฮามีขึ้นในสภาวการณ์ที่ในหลายปีมานี้ ประเทศผู้ผลิตน้ำมันในอ่าวเปอร์เซียยังคงเดินหน้าเพิ่มการผลิตน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานสถิติของเว็บไซต์ Oilprice.com จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันภายในประเทศของซาอุดิอาระเบียตั้งแต่ปี 2014 ได้เพิ่มขึ้นจาก 58 แท่นเป็น 67 แท่นในปัจจุบัน นอกจากนั้น ซาอุดิอาระเบียก็กำลังเดินหน้าขยายบ่อน้ำมัน Khurais ให้แล้วเสร็จภายในปี 2018 ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะเมื่อเดือนที่แล้ว นาย Amin Nasser CEO ของบริษัท Saudi Aramco ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทปิโตรเลี่ยมที่ใหญ่ที่สุดของซาอุดิอาระเบียได้ประกาศว่า ซาอุดิอาระเบียจะไม่ยกเลิกโครงการขุดเจาะหรือกลั่นน้ำมันใดๆและกำลังศึกษาการขยายโรงกลั่นน้ำมัน Ras Tanura เพื่อเพิ่มปริมาณการกลั่นน้ำมันของโรงงานขึ้นเป็น 5 แสน 5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
ส่วนที่อิรักซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสองของโอเปกก็กำลังเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานล่าสุดของบริษัท marketing น้ำมันอิรักหรือ SOMO ได้แสดงให้เห็นว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันเมื่อเดือนมีนาคมของประเทศนี้ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 อยู่ที่ 4.55 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนคูเวตซึ่งเป็นประเทศสมาชิกสำคัญอีกประเทศของโอเปกก็กำลังแสวงทางเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันเช่นกัน ในการกล่าวปราศรัยเมื่อเร็วๆนี้ นาย Jamal Jaafar ประธานฝ่ายบริหารบริษัทน้ำมันคูเวตได้เผยว่า คูเวตหวังว่า ในปีนี้หรืออย่างช้าคือภายในปี 2017 จะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันจาก 3 ล้าน 1 แสน 6 หมื่น 5 พันบาร์เรลต่อวัน
ในขณะเดียวกัน กระทรวงน้ำมันของอิหร่านได้ยืนยันว่า จะไม่เข้าร่วมแผนการจำกัดการผลิตน้ำมันจนกว่าจะฟื้นฟูปริมาณการผลิตน้ำมันได้เท่ากับก่อนที่ถูกคว่ำบาตร
สถานการณ์ที่เป็นจริงนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศในอ่าวเปอร์เซียไม่มีเจตนาลดปริมาณการผลิตน้ำมันและที่น่าสนใจคือ รายงานล่าสุดของโอเปกได้คาดการณ์ว่า ในปี 2016 ความต้องการน้ำมันของโลกจะอยู่ที่ประมาณ 31.46 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 6 หมื่นบาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่า ความพยายามปรับขึ้นราคาน้ำมันยังคงยากลำบากมาก
ผลกระทบในทางลบต่อตลาดน้ำมันและเศรษฐกิจ

การที่ประเทศต่างๆประสบความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับปริมาณการผลิตน้ำมันในการประชุมที่กรุงโดฮาได้ทำให้ราคาน้ำมันโลกลดลงอย่างหนักในต้นสัปดาห์นี้โดยที่ตลาดเอเชีย ราคาน้ำมันดิบดับ WTI ที่ขายในเดือนพฤษภาคมปี 2016 ลดลง 2.2 ดอลลาร์สหรัฐซึ่งอยู่ที่ 36.16 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันเบรนท์ที่ขายในเดือนมิถุนายนก็ลดลง 2.23 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 5.17 คืออยู่ที่ 40.87 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
การลดลงของราคาน้ำมันทำให้รัฐบาลของหลายประเทศได้ตกเข้าสู่ภาวะที่ยากลำบาก โดยเฉพาะประเทศที่งบประมาณแผ่นดินอาศัยการขยายน้ำมันเป็นหลัก เช่นเวเนซุเอล่า รัสเซียและประเทศสมาชิกโอเปก และประเทศผู้ผลิตน้ำมันจะได้รับความเสียหายอย่างต่อเนื่องจนอาจสูงกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ซึ่งหมายความว่า สถานการณ์การขาดดุลงบประมาณแผ่นดินมหาศาลจะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ศูนย์การเงินคูเวตหรือ Markaz ได้คาดการณ์ว่า ประเทศในอ่าวเปอร์เซียอาจจะต้องกู้เงินตั้งแต่ 2 แสน 8 หมื่น 5พันล้านดอลลาร์สหรัฐถึง 3 แสน 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2020 เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณแผ่นดินเนื่องจากราคาน้ำมันลดลง หลายประเทศจะต้องปฏิบัติมาตรการรัดเข็มขัด โดยเฉพาะประเทศในอ่าวเปอร์เซีย ในสภาวการณ์ที่ราคาน้ำมันลดลง กรรมกรนับพันคนของหน่วยงานน้ำมันคูเวตได้เริ่มเดินขบวนประท้วงแผนการปรับลดเงินเดือนและเงินโบนัสของรัฐบาล ประธานสหภาพกรรมกรน้ำมัน Saif al-Qahtani ได้ประกาศว่า  การชุมนุมประท้วงจะยืดเยื้อไปจนกว่าคำเรียกร้องของกรรมกรจะได้รับการยอมรับจากนายจ้าง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลคูเวตได้ตำหนิการชุมนุมประท้วงและเรียกร้องให้กลุ่มบริษัทน้ำมันคูเวตหรือเคพีซีแก้ไขปัญหาเพื่อธำรงการผลิต
ความประสงค์ที่จะจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบไม่สามารถกลายเป็นความจริงได้ก็หมายความว่า สถานการณ์น้ำมันดิบล้นตลาดจะยังคงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงซึ่งคาดว่า จะอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในสภาวการณ์ที่ราคาน้ำมันดิบได้ลดลงประมาณร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับช่วงกลางปี 2014 ถ้าหากประเทศต่างๆไม่มีเจตนาในการเจรจาลดปริมาณการผลิตน้ำมัน การฟื้นตัวของราคาน้ำมันก็จะเป็นสิ่งที่อยู่ไกลเอื้อม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด