ความท้าทายต่างๆต่อประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน
Quang Dung- VOV5 -  
(VOVWORLD) -นาย มาซูด เปเซชเคียน ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านขึ้นดำรงตำแหน่งในวันที่ 30 กรกฎาคม จากการเป็นนักการเมืองที่มีแนวคิดค่อนข้างก้าวหน้า ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านตั้งความหวังว่า จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่ออิหร่าน แต่อย่างไรก็ตาม นาย มาซูด เปเซชเคียน จะต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งภายในและต่างประเทศ
นาย มาซูด เปเซชเคียน ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน (Photo: THX/TTXVN) |
นาย มาซูด เปเซชเคียน อายุ 69 ปีได้กลายเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านหลังจากที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมและขึ้นดำรงตำแหน่งในวันที่ 30 กรกฎาคมแทนนาย เอบราฮิม ไรซี ที่เสียชีวิตจากเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม
ความท้าทายจากภายในประเทศ
เศรษฐกิจเป็นความท้าทายใหญ่อันดับแรกที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านต้องเผชิญ ภายหลังหลายปีที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกที่เกี่ยวข้องถึงโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธนำวิถี เศรษฐกิจอิหร่านตกเข้าสู่ภาวะยากลำบาก แม้อัตราการขยายตัวจีดีพีของอิหร่านเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ตามข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF และร้อยละ 5.7 ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติอิหร่านหรือ SCI (ลดลงเหลือเป็นร้อยละ 3.5 ถ้าหากไม่รวมน้ำมัน) แต่ดัชนีอื่นๆของเศรษฐกิจกลับไม่สูงนัก ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอิหร่านในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 32.2 ตามข้อมูลที่ SCI ประกาศเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมได้ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงในรอบกว่า 2 ทศวรรศษที่ผ่านมาได้ทำให้ชีวิตของประชาชนอิหร่านประสบอุปสรรคมากมายและถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางสังคม ดังนั้น หลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่าน นาย มาซูด เปเซชเคียนได้ประกาศว่า การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในหน้าที่เร่งด่วนที่สุดและมาตรการที่จะได้รับการปฏิบัติโดยเร็วคือการเพิ่มเงินอุดหนุนด้านพลังงานให้แก่ครอบครัวที่ยากจน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเงินเฟ้อ
อีกหนึ่งความวิตกกังวลใหญ่คือ จากการที่ถูกคว่ำบาตร อิหร่านได้สูญเสียรายได้ก้อนใหญ่จากการจำหน่ายน้ำมัน แม้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบสูงที่สุดในโลก การขาดแคลนรายได้นี้ทำให้อิหร่านประสบอุปสรรคในการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงสวัสดิการสังคม การเข้าถึงแหล่งเงินทุน เทคโนโลยีและทักษะความสามารถในด้านธรรมาภิบาลที่ทันสมัยจากภายนอก จากการตระหนักถึงอุปสรรคต่างๆ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นาย มาซูด เปเซชเคียนเผยว่า ทางการใหม่ของอิหร่านต้องมีนโยบายเศรษฐกิจที่สามารถตอบสนองความต้องในสภาการณ์ปัจจุบัน
อีกความท้าทายใหญ่จากภายในประเทศต่อประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านคือการเปลี่ยนแปลงใหม่ระบบข้าราชการ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการบริหารที่อ่อนแอ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่ยืดเยื้อและสร้างประสิทธิภาพต่ำในการปฏิบัตินโยบายด้านเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ นาย มาซูด เปเซชเคียน ได้จัดตั้งสภานโยบายใหม่ รวมสมาชิกที่เป็นนักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญที่มีแนวคิดแห่งการปฏิรูปนำโดยนาย Mohammad Reza Aref อดีตรองประธานาธิบดีอิหร่านเพื่อผลักดันการปฏิรูปในด้านหลัก นอกจากนี้ ประธานาธิบดี มาซูด เปเซชเคียนยังประกาศรายชื่อ 18 มาตรฐานที่จำเป็นในการแต่งตั้งตำแหน่งรัฐมนตรี โดยให้ความสำคัญต่อทักษะความสามารถ ความกล้าหาญและสุจริต
บรรยากาศการต่างประเทศนับวันซับซ้อนมากขึ้น
อุปสรรคต่อความพยายามในการปฏิรูปเศรษฐกิจของประธานาธิบดี มาซูด เปเซชเคียนนับวันเพิ่มมากขึ้นเมื่ออิหร่านต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงที่ใหญ่กว่า มีความเป็นไปได้น้อยในการฟื้นฟูการเจรจาเกี่ยวกับการฟื้นฟูข้อตกลงด้านนิวเคลียร์เมื่อปี 2015ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐเพื่อช่วยให้อิหร่านได้รับการผ่อนปรนคำสั่งคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม นาย John Kirby โฆษกระสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐได้เผยว่า ปัจจุบัน ทางการสหรัฐไม่มีแผนการเจรจากับอิหร่านเกี่ยวกับข้อตกลงด้านนิวเคลียร์โดยให้เหตุผลว่า อิหร่านยังคงสนับสนุนกองกำลังต่อต้านสหรัฐและอิสราเอลในภูมิภาค
นาย Alex Vatanka ผู้อำนวยการโครงการอิหร่าน ณ สถาบันตะวันออกกลางของสหรัฐเผยว่า ยากที่จะตั้งความหวังต่อก้าวกระโดดในการปฏิบัตินโยบายการต่างประเทศของอิหร่านในวาระดำรงตำหน่งของนาย มาซูด เปเซชเคียนเพราะบรรยากาศความมั่นคงระหว่างประเทศในปัจจุบันนับวันซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ การตัดสินใจหลักต่างๆของอิหร่านมาจากผู้นำสูงสุดของอิหร่าน อาลี คาเมเนอี และกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามอิหร่าน ไม่ใช่ของประธานาธิบดี
“นาย มาซูด เปเซชเคียนมีจุดยืนที่ชัดเจนต่อหัวข้อใหญ่ๆ เช่น ความสัมพันธ์กับสหรัฐ จุดยืนกับอิสราเอล โครงการนิวเคลียร์ ขีปนาวุธและปฏิบัติการของอิหร่านคือต้องมีการเข้าร่วมของฝ่ายต่างๆ”
บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า ในบทปราศรัยหลังจากที่ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดี มาซูด เปเซชเคียน แสดงจุดยืนที่คล้ายคลึงกับอดีตประธานาธิบดี เอบราฮิม ไรซี ผู้ล่วงลับ โดยเฉพาะการปะทะระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา ความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะครั้งใหญ่ระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ในเลบานอน สำหรับการฟื้นฟูข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน นาย Alex Vatanka เห็นว่า มีเวลาน้อยสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ของอิหร่านเพราะข้อตกลงนี้จะหมดอายุในเดือนตุลาคมปีหน้าและอิหร่านยากที่จะแก้ไขความชะงักงันจนกว่าสหรัฐจะเสร็จสิ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายนนี้.
Quang Dung- VOV5