(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ณ สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เวียดนามได้เข้าร่วมการสนทนาเกี่ยวกับรายงานแห่งชาติของเวียดนามว่าด้วยการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามกลไกการตรวจสอบเป็นประจำหรือ UPR รอบที่ 4 ของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยนอกจากการยืนยันถึงความสำเร็จที่ได้บรรลุในกระบวนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการค้ำประกันและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแล้ว เวียดนามยังคงย้ำถึงคำมั่นที่จะพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้ำประกันสิทธิมนุษยชน
คณะผู้แทนเวียดนามเข้าร่วมการสนทนา (VNA) |
นอกจากได้เข้าร่วมการสนทนากับกว่า 130 ประเทศ เวียดนามก็ได้รับข้อเสนอแนะด้วยเนื้อหาที่หลากหลายเกี่ยวกับภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนเกือบ 300 ข้อ
ยืนยันถึงความสำเร็จในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
นาย โด๋หุ่งเวียด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้อ่านรายงานแห่งชาติของเวียดนามในการประชุม โดยยืนยันถึงนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามเกี่ยวกับการปกป้องและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โด๋หุ่งเวียด เผยว่า
“ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนทั่วประเทศและในชีวิตของประชาชน จากประเทศที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ปัจจุบัน เวียดนามได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกสินค้าเกษตรชั้นนำของโลก มีส่วนช่วยต่อการรักษาความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคและทั่วโลก เวียดนามเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุด โดยในช่วงปี 1989-2023 GDP เฉลี่ยต่อหัวประชากรของเวียดนามได้เพิ่มขึ้น 40 เท่า”
ผลงานนี้เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนความพยายามและนโยบายที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาของเวียดนาม เวียดนามยังย้ำถึงการให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการส่งเสริมและการปกป้องสิทธิมนุษยชนในเวลาที่จะถึง รวมทั้ง การสร้างสรรค์นิติรัฐสังคมนิยม การปฏิรูประเบียบราชการ การส่งเสริมการสนทนาและความร่วมมือเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการให้การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน
ควบคู่กับการยืนยันถึงผลงานที่ได้บรรลุต่องานด้านมนุษยชนแล้ว ในการสนทนา เวียดนามยังตอบคำถามและให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่ได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ รวมทั้ง ความพยายามในการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างสรรค์เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและครอบคลุม การพัฒนาของอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ เสรีภาพในด้านความเชื่อและศาสนา สิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล การเข้าร่วมและการปฏิบัติตามอนุสัญญาขั้นพื้นฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO การป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ การปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการช่วยเหลือชนกลุ่มน้อย เวียดนามได้ย้ำถึงการยึดหลักปฏิบัติตามหลักการสนทนา ร่วมมือ และให้ความเคารพความแตกต่างด้านสิทธิมนุษยชน อีกทั้ง ย้ำว่า ไม่มีสูตรสำเร็จเดียวกันสำหรับการพัฒนา หากแต่ละประเทศจะต้องเลือกเอกลักษณ์และเงื่อนไขเฉพาะสำหรับการพัฒนาให้เหมาะสมและและหลายประเทศได้ชื่นชมความสำเร็จของเวียดนามในการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้ำประกันความยุติธรรมทางสังคม การส่งเสริมการศึกษาเพื่อยกระดับจิตสำนึกเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมสิทธิของสตรี สิทธิของกลุ่ม LGBT และคนข้ามเพศ และสิทธิของชนกลุ่มน้อย
นาย โด๋หุ่งเวียด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม |
ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ UPR อย่างเคร่งครัดเพื่อค้ำประกันสิทธิมนุษยชนให้ดีขึ้น
นับตั้งแต่กลไก UPR ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 2006 จนถึงขณะนี้ เวียดนามได้เข้าร่วมการประชุมรายงานรอบต่างๆอย่างเต็มที่อยู่เสมอ และปฏิบัติตามข้อเสนอแนะอย่างจริงจัง การประเมินรายงานรอบที่ 1 รอบที่ 2 และรอบที่ 3 ของเวียดนามได้รับการปฏิบัติเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2009 เดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 และเดือนมกราคมปี 2019 ซึ่ง นับตั้งแต่การจัดทำรายงานรอบแรกจนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้บรรลุความคืบหน้ามากมายในการค้ำประกันและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เวียดนามได้ปรับปรุงระบบกฎหมายให้มีความสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ การอนุมัติรัฐธรรมนูญปี 2013 โดยมี 1 บรรพเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การจัดทำและการปรับปรุงเอกสารกฎหมายกว่า 100 ฉบับให้มีความสมบูรณ์ ในการประเมินรายงานรอบที่ 3 ที่ผ่านมา ได้มีข้อเสนอแนะ 239 ข้อจากจำนวนทั้งหมด 241 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 99.2 ที่ได้รับการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์หรือได้รับการปฏิบัติบางส่วน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โด๋หุ่งเวียด ยืนยันว่า
“เวียดนามให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อกลไก UPR และหลักการของความโปร่งใส ความเที่ยงธรรม การเจรจาและความร่วมมือของกลไกนี้ รายงานแห่งชาติของเวียดนามรอบที่ 4 ได้สะท้อนถึงความคืบหน้าที่ได้บรรลุในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะดังกล่าว รายงานนี้จัดทำขึ้นอย่างครอบคลุมและโปร่งใส โดยสำหรับเวียดนาม UPR ไม่เพียงแต่เป็นความรับผิดชอบในการทบทวนกระบวนการเพื่อจัดทำรายงานเท่านั้น หากเราถือว่า การประเมิน UPR แต่ละรอบเป็นโอกาสเพื่อกำหนดความยากลำบาก ความท้าทายและด้านที่สามารถปฏิบัติให้ดีขึ้น และปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อแปรข้อเสนอแนะเป็นการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง”
ผ่านการสนทนา ณ สหประชาชาติ เวียดนามได้ยืนยันถึงผลสำเร็จในกระบวนการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม ย้ำถึงคำมั่นในการปฏิบัติตามหน้าที่และคำมั่นที่ให้ไว้ของของประเทศผู้เป็นสมาชิกในกรอบสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่อไป อีกทั้ง มีความประสงค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในกระบวนการสนทนาและร่วมมือกับประเทศและกลไกสิทธิสิทธิมนุษยชนต่างๆของสหประชาชาติบนเจตนารมณ์แห่งความเสมอภาคและการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน.