ค้ำประกันผลประโยชน์ของมนุษย์ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม
Minh Cham-Thuy Hang -  
(VOVWORLD) - ในขณะที่ความต้องการเปลี่ยนแปลงใหม่เศรษฐกิจได้ถูกกำหนดขึ้น เพื่อบรรลุการขยายตัวที่รวดเร็วและยั่งยืน พรรคและรัฐได้ทำการวิจัยและพิจารณาปัญหาที่วางไว้เพื่อปรับปรุงระเบียบเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมในเวียดนามให้มีความสมบูรณ์ นี่ก็คือเนื้อหาที่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามนำมาหารือในการประชุมครั้งที่ 5 ณ กรุงฮานอย
ที่ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 9 ปี 2001 ได้ยืนยันว่า รูปแบบเศรษฐกิจในเวียดนามในระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่านคือเศรษฐกิจเชิงสินค้าหลายภาคส่วนตามกลไกตลาด มีการบริหารของรัฐตามแนวทางสังคมนิยมหรือเรียกว่าเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม การเลือกเฟ้นนี้อาศัยผลประโยชน์ที่เวียดนามได้รับจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม จนถึงขณะนี้ เวียดนามยังคงเดินหน้าปรับปรุงเศรษฐกิจเชิงตลาดนี้ให้มีความสมบูรณ์เพื่อนำผลประโยชน์มาสู่ประชาชนมากขึ้น
มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และตีความจิตสำนึกเกี่ยวกับเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม
การปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ในหลายปีที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบเศรษฐกิจเชิงตลาดของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคือสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งช่วยส่งเสริมการใช้ศักภาพของประเทศในบางด้านควบคู่กับการดึงดูดเงินทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ กระตุ้นกำลังการผลิตในสังคม พัฒนากองกำลังในการผลิต มีส่วนร่วมต่อการค้ำประกันอัตราการขยายตัวจีดีพีเฉลี่ยแต่ละปีให้อยู่ในระดับสูง ระบบโครงสร้างด้านเทคโนโลยีและสังคมได้รับการเสริมสร้าง ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการปรับปรุงและสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับความต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นเศรษฐกิจเชิงตลาดที่ทันสมัยและสมบูรณ์นั้น เศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมของเวียดนามยังมีความแตกต่างมากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เนื่องจากจิตสำนึกและความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมยังไม่ชัดเจนและทันกับความต้องการเปลี่ยนแปลงใหม่การพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นี่คือช่วงเวลาที่จำเป็นเพื่อมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมในเวียดนาม นาย หวอชี้แถ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้เผยว่า
“พวกเราได้หารือเกี่ยวกับเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมมาหลายปีแล้ว นี่คือช่วงเวลาสำคัญเพื่อมีมุมมองที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหานี้ เพราะโลกได้เปลี่ยนแปลงและเวียดนามก็กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการปฏิรูปและพัฒนา ถ้าหากมองจากพื้นฐานของกลไกก็จะเห็น 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 คือกฎของเกมส์ ประเด็นที่ 2 คือองค์ประกอบและสุดท้ายคือวิธีการปฏิบัติ”
ค้ำประกันผลประโยชน์ให้แก่มนุษย์ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม
ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนกวางท้าย เลขาธิการสมาคมเศรษฐศาสตร์เวียดนามได้แสดงความเห็นว่า พรรค รัฐและประชาชนได้ยืนหยัดสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศตามรูปแบบเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมในหลายปีที่ผ่านมาและจะปฏิบัติในปีต่อๆไป นาย เหงียนกวางท้าย ได้ยืนยันว่า“เศรษฐกิจเชิงตลาดคือการปฏิบัติตามกฎของตลาด อุปสงค์และอุปทาน ราคาตลาดและการแข่งขันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการผสมผสาน ดังนั้นทางส่วนกลางได้กำหนดว่า เศรษฐกิจเชิงตลาดที่ทันสมัยและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกคือความต้องการในระดับสูง แต่ต้องย้ำถึงผลประโยชน์ของมุษย์ในการสร้างสรรค์สังคมนิยมของเวียดนาม พวกเราได้พยายามมุ่งสู่เศรษฐกิจเชิงตลาดที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน แต่ก็ต้องมุ่งสู่ประชาชน ทำให้ประชาชนทุกคนและประชาชาติได้รับผลประโยชน์ของภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่และพัฒนา”
บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจหลายคนได้แสดงความเห็นว่า การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมคือภารกิจและกระบวนการที่ไม่เคยเกิดขึ้น ดังนั้นมีหลายปัญหาที่วางไว้ในปัจจุบันจำต้องได้รับการพิจารณาและปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร. เหงียนถิยือห่า จากสถาบันการเมืองรัฐศาสตร์โฮจิมินห์ได้แสดงความเห็นว่า“ต้องเน้นแก้ไขปัญหาความเป็นเจ้าของ การจัดตั้งสถานประกอบการและปรับปรุงโครสร้างสถานประกอบการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดสำหรับผลักดันการวิจัยประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญเพื่อยกระดับผลผลิต ในเวลาที่จะถึง ต้องเน้นพัฒนาด้านการเกษตรและชนบทเพื่อสร้างก้าวกระโดดให้สามารถใช้ศักยภาพจากเขตเหล่านี้ได้เพื่อให้มีสถานะที่สำคัญในเศรษฐกิจของประเทศ”
การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมสำหรับเวียดนามคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อเศรษฐกิจและหน้าที่ด้านเศรษฐกิจที่เร่งด่วนเพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจที่ล้าสมัยให้เป็นเศรษฐกิจที่ทันสมัย ผสมผสานเข้ากับการแบ่งปันแรงงานสากล นั่นคือเส้นทางที่ถูกต้องเพื่อพัฒนากองกำลังผลิต ใช้ทุกศักยภาพของประเทศเพื่อปฏิบัติภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยให้ประสบความสำเร็จ.
Minh Cham-Thuy Hang