ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐ
Ba Thi -  
(VOVWORLD) - เหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 มกราคมตามเวลาสหรัฐ บริเวณ Capitol Hill ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารรัฐสภาสหรัฐในกรุงวอชิงตันได้ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 200 ปีที่อาคารรัฐสภาของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกถูกกลุ่มผู้ก่อเหตุจราจลบุกเข้าไปภายในเพื่อขัดขวางการนับคะแนนคณะผู้เลือกตั้งในการรับรองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐซึ่งทำให้การโหวตต้องหยุดชะงักเป็นเวลาหลายชั่วโมง
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวปราศรัยต่อหน้ากลุ่มผู้ประท้วงเมื่อวันที่ 6 มกราคม (AP) |
ก่อนการประชุมนัดพิเศษของสภาคองเกรสสหรัฐ ผู้ประท้วงหลายร้อยคนที่สนับสนุนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รวมตัวกันเดินขบวนเพื่อขัดขวางการประชุม แต่สถานการณ์ได้บานปลายจนไม่สามารถควบคุมได้จนกลายเป็นเหตุจราจลเนื่องจากผู้ประท้วงได้พยายามบุกเข้าไปในห้องประชุมของอาคารรัฐสภา
ความวุ่นวายที่ไม่เคยมีมาก่อนภายในอาคารรัฐสภาสหรัฐ
กลุ่มผู้ประท้วงได้บุกฝ่ารั้วป้องกันเข้าไปภายในห้องประชุมในขณะที่รัฐสภาเพิ่งนับคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งได้เพียง 12 คะแนนจากทั้งหมด 538 คะแนนเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ซึ่งทำให้การนับคะแนนต้องยุติลงชั่วคราว นอกจากนี้ยังเกิดความวุ่นวายโกลาหนและมีสียงปืนดังขึ้น ส่วนบรรดา ส.ส.ได้ถูกอพยพออกจากรัฐสภาผ่านอุโมงค์ภายใต้การอารักษาของเจ้าหน้าที่ เหตุการณ์นี้ถือเป็นการบุกเข้าอาคารรัฐสภาที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1814 ที่กองทัพอังกฤษทำการโจมตีใส่อาคารแห่งนี้ในสงครามที่เกิดขึ้นในปีเดียวกัน
ประชาคมระหว่างประเทศได้มีท่าทีทันทีหลังจากเกิดเหตุดังกล่าว โดยแสดงความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ นาย Volkan Bozkir ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประธานได้แสดงความวิตกกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่กำลังทำลายกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศสหรัฐ ในขณะเดียวกัน นาย จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาได้เผยว่า นี่เป็นสิ่งที่น่า "วิตกกังวลเป็นอย่างมาก" เมื่อผู้สนับสนุนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ หลายพันคนก่อเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภาและเรียกว่า นี่คือการ"โจมตีใส่ระบอบประชาธิปไตย" อีกทั้งยืนยันว่า ความรุนแรงจะไม่สามารถขัดขวางเจตจำนงของประชาชนได้ ก่อนหน้านั้น เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ เจนส์ สโตลเตนเบิร์ก ได้อธิบายการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงในกรุงวอชิงตันว่า เป็น "ภาพแห่งความสยองขวัญ" อีกทั้งยืนยันว่า ผลการเลือกตั้งที่เป็นไปอย่างมี "ประชาธิปไตย" ในสหรัฐต้องได้รับความเคารพ ส่วนนาย บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้เรียกร้องให้ยุติการจลาจลในวอชิงตันทันที
นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐจะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม (AP) |
คำแถลงแห่งประวัติศาสตร์
แต่หลังจากผู้ประท้วงบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาไม่กี่ชั่วโมง สถานการณ์ก็ได้กลับเข้าสู่ความเรียบร้อบและสมาชิกรัฐสภาสามารถปฏิบัติหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ต่อไปคือการนับคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งทั้งหมด 538 เสียงให้แล้วเสร็จเพื่อรับรองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2020
เวลา 04.00 น. ของวันที่ 7 มกราคมตามเวลาสหรัฐ รองประธานาธิบดีและประธานวุฒิสภาสหรัฐ ไมค์ เพนซ์ ได้ประกาศว่า นาย โจ ไบเดน ได้รับชัยชนะโดยได้รับเสียงสนับสนุน 306 เสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง ส่วนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับคะแนนสนับสนุน 232 เสียง คำประกาศนี้ถือเป็นการยุติข้อถกเถียงทั้งหมดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีความพิเศษที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ
หลังจากนั้นทันที ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่า เขาจะถ่ายโอนอำนาจให้แก่ทางการชุดใหม่อย่างราบรื่นในวันที่ 20 มกราคม แต่ตัวเขาจะไม่เห็นด้วยกับผลการเลือกตั้งก็ตาม และเมื่อเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาสหรัฐ ประธานาธิบดีสหรัฐได้โพสต์วิดีโอบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์โดยประณามเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภา และให้คำมั่นว่าจะถ่ายโอนอำนาจให้แก่ทางการของว่าที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน อย่างราบรื่น
คำประกาศของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ช่วยคลี่คลายความกังวลของประชามติเกี่ยวกับสถานการณ์ความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นในกรุงวอชิงตันและทั่วประเทศสหรัฐอีกครั้ง สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้น ณ อาคารรัฐสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 6 มกราคม ทำให้เห็นว่า จำเป็นต้องส่งเสริมการเคารพกฎกติกาและความแข็งแกร่งของระบอบประชาธิปไตยสหรัฐก่อนการถ่ายโอนอำนาจให้แก่ว่าที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในวันที่ 20 มกราคมนี้./.
Ba Thi