มติที่ 120 ของรัฐบาลมุ่งสู่การพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่อุดมสมบูรณ์และยั่งยืน
กลุ่มนักข่าววีโอวี -  
(VOVWORLD) -มติที่ 120 ของรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนได้ระบุว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องตระหนักแนวทางการดำรงอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล ต้องเลือกรูปแบบการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมประสิทธิภาพของเขตนิเวศต่างๆ มติดังกล่าวได้รับการปฏิบัติมาเป็นเวลา 3 ปีและจะได้รับการปฏิบัติอย่างเข้มแข็งต่อไปหลังการประชุมสรุป 3 ปีการปฏิบัติมติที่ 120 ของรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา
การปลูกข้าวผสานการเลี้ยงกุ้งถือเป็นรูปแบบการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพของจังหวัดก่าเมา |
ภายหลังปฏิบัติมาเป็นเวลา 3 ปี สถานการณ์ที่เป็นจริงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้แสดงให้เห็นว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ปรับเปลี่ยนจากการให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการปลูกข้าวมาเป็นการพัฒนาในด้านสัตว์น้ำและการปลูกผลไม้ ส่วนน้ำเค็มกลายเป็นแหล่งทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการพัฒนา โดยพื้นที่ปลูกข้าวผสานการเลี้ยงกุ้งรวมพื้นที่ประมาณ 2 แสนเฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2000 หลังการประกาศใช้มติที่ 120 ก็มีการจัดตั้งสภาประสานงานเขตและเป็นครั้งแรกที่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีแผนการวางผังในช่วงปี 2021 -2030 โดยให้ความสนใจต่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลเพื่อพัฒนา บนพื้นฐานนี้ บรรดาสถานประกอบการภายในประเทศ นักลงทุนและหุ้นส่วนต่างชาติได้ลงทุนปฏิบัติโครงการต่างๆในด้านการเกษตร การคมนาคม การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและโลจิสติกส์ เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของเขต โดยเฉพาะด้านการลงทุน
จากบทบาทแห่งการสร้างสรรค์ รัฐบาลได้เสร็จสิ้นการจัดทำกลไกและนโยบาย เพิ่มการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นแรงกระตุ้นการดึงดูดการเข้าร่วมของบรรดานักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ ผลักดันการปรับเปลี่ยนในขอบเขตใหญ่ ส่งเสริมศักยภาพและจุดแข็งของเขตและอนุภูมิภาค ส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทั้งภายในเขตและระหว่างเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกับนครโฮจิมินห์และเขตตะวันออกภาคใต้
ส่วนในมุมมองการวิจัยวิทยาศาสตร์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นาย เหงวียนหึวเถียน ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการวิจัยอิสระได้ให้ข้อสังเกตว่า
“มติที่ 120 ของรัฐบาลเป็นคำตอบให้แก่ยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในระยะยาวโดยต้องเตรียมความพร้อมให้แก่กรณีที่อาจเกิดขึ้น โดยให้ความสนใจต่อความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในเขตริมฝั่งแม่น้ำ กุญแจในการแก้ไขปัญหาของเขตที่ราบุล่มแม่น้ำโขงคือการปรับเปลี่ยนด้านการเกษตรตามเจตนารมณ์ของมติที่ 120 โดยเน้นถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแทนการให้ความสนใจด้านปริมาณ”
เป็นฝ่ายรุกในการสำรองน้ำจืดเพื่อใช้ในการทำการเกษตรในฤดูแล้ง |
เกี่ยวกับความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ บรรดาผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์และท้องถิ่นต่างๆได้มีข้อเสนอในหลายเวที ซึ่งนาย เหงวียนแทงบิ่ง ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดอานยางได้เผยว่า ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำสร้างความท้าทายต่างๆให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
“ปัจจุบัน ในสภาวการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ต่อเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ผมขอเสนอให้วางผังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในจังหวัดอานยางและด่งท๊าปเพื่อใช้ในการทำการเกษตรในฤดูแล้ง”
ในร่างการวางผังเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงปี 2021 -2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2050ที่มีกระทรวงวางแผนและการลงทุนเป็นเจ้าภาพ การพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนต้องขึ้นอยู่กับ 3 เสาหลักได้แก่เศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวลด้อม โดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ถือการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นวิธีการพัฒนา ผลักดันการเปลี่ยนแปลงใหม่นวัตกรรมเพื่อแปรความท้าทายให้เป็นโอกาส ถือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่สำคัญคือเราต้องใช้ ปรับปรุงและควบคุมเพื่อการพัฒนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เหงวียนชี้หยุงได้ชี้ชัดว่า
“พวกเรามีพื้นฐานเพื่อพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการเกษตรที่ยั่งยืน คล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูงของประเทศ ภูมิภาคและโลก โดยมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมเพรียงและทันสมัย รวมถึงระบบคมนาคมหลักๆที่เชื่อมโยงกับศูนย์กลางการเกษตรและแนวระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ”
ในการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกได้ชี้ชัดว่า “เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต้องให้ความเคารพกฎธรรมชาติ เลือกรูปแบบการปรับตัวเพื่อดำรงอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล พัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางเป็นฝ่ายรุกในการรับมือปัญหาอุทกภัย ภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง ในการประชุมสรุป 3 ปี ผลการปฏิบัติมติที่ 120 รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีให้คำมั่นที่จะจัดทำกลไกเพื่อปฏิบัติมติที่ 120 มุ่งสู่การพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่อุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรืองและถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง โดยยึดหลักในการใช้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดและยั่งยืนเป็นปัญญาและอุดมการณ์ในการพัฒนา.
กลุ่มนักข่าววีโอวี