สัญญาณที่ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
(VOVWORLD) -การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 ที่ต่ำกว่าการพยากรณ์ควบคู่กับการที่นโยบายการเงินของสหรัฐและสหภาพยุโปยากจะคาดเดาได้ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจโลกใน 6 เดือนที่เหลือของปีนี้มีสัญญาณที่ไม่แน่นอน
อัตราการขยายตัวจีดีพีของจีนในปีต่างๆ (Photo: NBS) |
ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐและยุโรปได้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจใหญ่ต่างๆยังคงมีการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ แบบช้าช้า แต่อย่างไรก็ดี ก็มีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจโลกอาจเผชิญกับความเสี่ยงที่ใหญ่กว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพแต่ฟื้นตัวอย่างล่าช้า
ในรายงานที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนหรือ NBS เผยว่า อัตราจีดีพีของจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การฟื้นตัวของภาคการผลิตเป็นพลังขับเคลื่อนหลักให้แก่การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความต้องการสูงจากภายนอก ใน 6 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42มื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ในขณะที่การฟื้นตัวของบางด้าน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมต่อการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ นาง หลิวอ้ายฮัวโฆษกของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน NBS ได้เผยว่า
“ในภาพรวม เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพและมีความคืบหน้าต่างๆ ภาคการผลิตมีความเติบโตและความต้องการของตลาดได้รับการฟื้นตัวต่อเนื่อง งานทำและราคาได้รับการรักษาอย่างมีเสถียรภาพ ในขณะที่รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พลังขับเคลื่อนใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการพัฒนาในเชิงคุณภาพสูงบรรลุความก้าวหน้าใหม่”
แต่อย่างไรก็ดี บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า สิ่งที่ต้องสนใจคืออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 บรรลุเพียงร้อยละ 4.7เท่านั้น ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกคือร้อยละ 5.3 และต่ำกว่าการพยากรณ์ก่อนหน้านั้น ซึ่งการที่การขยายตัวช้าลงก็ เป็นการส่งสัญญาณความไม่แน่นอนต่อการเติบโตที่สดใสของเศรษฐกิจใน 6 เดือนที่เหลือของปีนี้ นาย สิงจ้าวเพิง ผู้เชี่ยวชาญของจีนในธนาคาร ANZ สาขาเมืองเซี่ยงไฮ้ได้ให้ข้อสังเกตว่า การจีดีพีของจีนในไตรมาสที่2เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.7 เท่านั้นทำให้เป้าหมายการบรรลุอัตรการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2024 คือร้อยละ 5 ยากที่จะปฏิบัติได้เพราะ6 เดือนที่เหลือของปีนี้เป็นช่วงเวลาที่การส่งออกสินค้าหลักของจีนต้องประสบอุปสรรคเนื่องจากลัทธิคุ้มครองการค้า โดยเฉพาะการที่สหภาพยุโรปหรืออียูเพิ่มภาษีนำเข้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าของจีน นาย Harry Murphy ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของ Moody’s Analytics เผยว่า จีนจะต้องแก้ไข 2 ความท้าทายใหญ่ด้านการอุปโภคบริโภคและการชลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อป้องกันแนวโน้มการขยายตัวล่าช้าในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้จากการที่จีนมีบทบาทเป็นพลังขับเคลื่อนของการขยายตัวเศรษฐกิจโลก และเป็นผู้นำหน้าในการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างประเทศ สัญญาณ์ที่ไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจจีนอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของโลก
FED ลังเลใจ
ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจจีนยังไม่มีความคืบหน้าตามที่คาดหวัง ความเชื่อมั่นของบรรดานักธุรกิจต่อสหรัฐ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดของโลกต้องเผชิญกับสัญญาณที่ไม่ชัดเจนจากผู้บริหารเศรษฐกิจสหรัฐ โดยในการกล่าวปราศรัยต่อการไต่สวน ณ วุฒิสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม นาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED เผยว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะอยู่ที่ร้อยละ 2 ในปีนี้แต่เป้าหมายการลดอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ร้อยละ 2 ยังไม่มีแนวโน้มที่จะบรรลุได้ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐยังต้องรอข้อมูลที่ดีขึ้นเพื่อปรับลดดอกเบี้ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรดานักลงทุนรอคอยตั้งแต่ต้นปี สิ่งที่น่าสนใจคือ นาย Jerome Powell ประธาน FED เผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มได้รับผลกระทบในทางลบจากการธำรงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานต่อตลาดแรงงานและเศรษฐกิจ โดยการสร้างตำแหน่งงานใหม่ในเดือนมิถุนายนมีแนวทางช้าลง ส่วนอัตราคนว่างงานได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ดังนั้น FED จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบการเปลี่ยนแปลงนโยบายในเวลาที่จะถึง
ส่วนนาง คริสตาลินา กอร์เกียวา กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้ให้ข้อสังเกตว่า แม้สหรัฐเป็นเศรษฐกิจเดียวในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ของโลกหรือ G20 มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด –19แต่อัตราหนี้สาธารณะของสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นกลับเป็นปัจจัยที่น่ากังวลในระยะยาวดังนั้นสหรัฐต้องใช้โอกาสจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในปัจจุบันเพื่อลดหนี้สาธารณะและปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ และนาง คริสตาลินา กอร์เกียวา ยังเตือนว่า สหรัฐควรธำรงดอกเบี้ยวสูงจนถึงปลายปีนี้ ส่วนนาย Tim Oechsner ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตลาดเงินทุนของบริษัทการเงิน Steubing AG ของเยอรมนีเผยว่า การที่เฟดมีความลังเลไม่ชัดเจน ในกระบวนการปรับลดดอกเบี้ยและยุทธศาสตร์การเงินที่ระมัดระวังของธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีได้ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญจะต้องระมัดระวังมากขึ้นในการเสนอข้อสังเกตเกี่ยวกับศักยภาพเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้.