สนธิสัญญาทะเลหลวงเพื่อปฏิบัติ UNCLOS ปี 1982 อย่างมีประสิทธิภาพ
(VOVWORLD) -
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ณ สำนักงานของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้อนุมัติสนธิสัญญาเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลอย่างยั่งยืนในพื้นที่นอกเขตอำนาจศาลหรือสนธิสัญญาทะเลหลวง ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีส่วนร่วมที่สำคัญในการเสริมสร้างระบบเอกสารบนพื้นฐานของอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS 1982 ในการบริหารทะเลและมหาสมุทร ค้ำประกันการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ทุกประเทศ
การประชุมระหว่างรัฐบาลเพื่อให้สัตยาบันสนธิสัญญาทะเลหลวง ณ สำนักงานของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน (Photo: THX/ TTXVN) |
การอนุมัติสนธิสัญญาทะเลหลวงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจทางการเมืองของบรรดาประเทศสมาชิกในการบรรลุเอกสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล
กลไกการแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรทางทะเลอย่างเท่าเทียมกัน
ตาม UNCLOS ปี1982 เขตน่านน้ำสากลหมายถึงบริเวณพื้นน้ำที่ไม่มีอำนาจอธิปไตย ไม่มีใครเป็นเจ้าของและไม่มีรัฐใดควบคุม ซึ่งเป็นทุกส่วนของทะเลที่ไม่ได้อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ทะเลอาณาเขต หรือน่านน้ำภายในของรัฐ ในเขตทะเลนี้สากล ประเทศต่างๆมีสิทธิเสรีภาพในการจับปลาแต่แร่ธาตุใต้ท้องทะเลลึกถือเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ และการขุดเหมืองเร่ใต้ทะเลต้องได้รับการปฏิบัติตามกลไกการขออนุญาตและแบ่งปันผลประโยชน์ของทุกประเทศ
แต่อย่างไรก็ดี UNCLOS ปี1982 ยังไม่มีข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในเขตทะเลน้ำลึกและไกลฝั่ง ปัจจุบัน มีแต่ประเทศที่พัฒนาและบริษัทเอกชนที่มีเทคโนโลยีทางทะเลและเทคโนโลยีชีภาพที่ทันสมัยและมีแหล่งเงินทุนเยอะเท่านั้นที่สามารถรวบรวมแหล่งพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในทะเลเพื่อพัฒนาและสร้างรายได้ ในขณะที่ไม่มีเอกสารระหว่างประเทศกำหนดภาระหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งปันผลประโยชน์และการอนุรักษ์ทางทะเล ดังนั้น สนธิสัญญาทะเลหลวงได้กำหนดหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรที่เป็นพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ อันเป็นพื้นฐานสำหรับการแบ่งปันทุกผลประโยชน์ที่เกิดจากแหล่งพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างเท่าเทียมกันให้แก่ทุกประเทศ สิ่งที่น่าสนใจคือนับเป็นครั้งแรกที่ข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในทะเล ซึ่งถือเป็นสมบัติดิจิทัลและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องสามารถได้รับการแบ่งปันให้แก่ทุกประเทศตามกลไกที่สนธิสัญญากำหนด ในสภาวการณ์ที่ความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแหล่งพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในทะเลระหว่างประเทศที่พัฒนากับประเทศที่กำลังพัฒนามีความแตกต่างกัน การบรรลุเอกสารดังกล่าวเป็นการตกลงระหว่างกลุ่มประเทศที่มีผลประโยชน์ที่แตกต่างกันในการผลักดันกิจกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในเขตทะเลนอกเขตอำนาจศาลอย่างยั่งยืน การเพิ่มทักษะความสามารถและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ค้ำประกันความสมดุลย์ในการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ประโยชน์จากแหล่งพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ในทางเป็นจริง มีพื้นที่ทะเลไกลฝั่งไม่กี่แห่งที่ได้รับการปกป้อง ในขณะที่ปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมและการจับปลามากเกินไปเป็นภัยคุกคามที่นับวันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น สนธิสัญญาดังกล่าวตั้งเป้าไว้ว่า ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2030 ในแต่ละปี โลกต้องปกป้องพื้นที่ทะเล 11 ล้านตารางกิโลเมตร สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้กำหนดพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องในเขตทะเลสากล มีบทบาทในการสร้างพื้นฐานให้แก่ความร่วมมือและปฏิบัติการของประเทศ ภูมิภาคและโลก
ยืนยันความพยายามของประชาคมโลกเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล
สนธิสัญญาทะเลหลวงเป็นเอกสารฉบับที่สามเกี่ยวกับการปฏิบัติ UNCLOS ปี 1982 ควบคู่กับข้อตกลงเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นของปลาปี 1995 และข้อตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติส่วนที่11 ปี 1994 ที่กำหนดการบริหารและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ก้นทะเลลึก
บรรดาประเทศสมาชิก UNCLOS ประเมินว่า การอนุมัติสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นชัยชนะของลัทธิพหุภาคีและความพยายามระหว่างประเทศในการต่อต้านแนวโน้มการทำลายมหาสมุทร สนธิสัญญาทะเลหลวงจะช่วยเสริมสร้างการปฏิบัติ UNCLOS ปี 1982 ซึ่งเป็นธรรมนูญทางมหาสมุทรและเป็นกรอบทางนิตินัยให้แก่ทุกกิจกรรมในทะเล โดยเฉพาะนี่เป็นนิมิตหมายใหม่ในการพัฒนาของกฎหมายสากลและมีส่วนร่วมปฏิบัติทศวรรษของสหประชาชาติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาที่ 14 เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล ทรัพยกรทางทะเลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน.