อัฟกานิสถานกับการถ่ายโอนภารกิจรักษาความมั่นคง

(VOVWorld) – วันที่๑๙มิถุนายนถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของอัฟกานิสถานภายหลังสงครามที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ๑๒ปีโดยกองกำลังรักษาความมั่นคงของอัฟกานิสถานได้รับมอบหน้าที่รักษาความมั่นคงจากกองกำลังพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐ ในทางเป็นจริง การถ่ายโอนนี้ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ความมั่นคงในอัฟกานิสถานเปลี่ยนแปลงไปเพราะความผันผวนในปัจจุบันทำให้ประชามติไม่สามารถตั้งความหวังเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในประเทศนี้

(VOVWorld) – วันที่๑๙มิถุนายนถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของอัฟกานิสถานภายหลังสงครามที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ๑๒ปีโดยกองกำลังรักษาความมั่นคงของอัฟกานิสถานได้รับมอบหน้าที่รักษาความมั่นคงจากกองกำลังพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐ ในทางเป็นจริง การถ่ายโอนนี้ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ความมั่นคงในอัฟกานิสถานเปลี่ยนแปลงไปเพราะความผันผวนในปัจจุบันทำให้ประชามติไม่สามารถตั้งความหวังเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในประเทศนี้

อัฟกานิสถานกับการถ่ายโอนภารกิจรักษาความมั่นคง - ảnh 1
ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ (Photo:VTV)

ตามแผนการ กองกำลังรักษาความมั่นคงของอัฟกานิสถานจะรับผิดชอบรักษาความปลอดภัยใน๓๔จังหวัดทั่วประเทศ ส่วนในปลายปีนี้ กองกำลังพันธมิตรในอัฟกานิสถานจะลดเจ้าหน้าที่ลงครึ่งหนึ่งและในปลายปี๒๐๑๔ กองกำลังสู้รบทั้งหมดจะถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานโดยจะคงไว้แต่กองกำลังขนาดเล็กที่ปฏิบัติหน้าที่ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาถ้าทางการอัฟกานิสถานต้องการ           อย่างไรก็ดี ขณะที่ทางการวอชิงตันเห็นว่า การถ่ายโอนความรับผิดชอบรักษาความมั่นคงเป็นนิมิตรหมายสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า กองกำลังรักษาความมั่นคงของอัฟกานิสถานมีพลังเข้มแข็งเพียงพอเพื่อรับผิดชอบรักษาความมั่นคงของประเทศ แต่ชาวอัฟกานิสถานกลับไม่มีความเชื่อมั่นต่อความสามารถของฝ่ายรักษาความมั่นคงที่ต้องรับมือกับกองกำลังที่กระหายสงคราม มิหนำซ้ำ ยังมีกระแสประชามติว่า การถ่ายโอนนี้เป็นละครบทหนึ่งเพื่อยกสถานะของรัฐบาลอัฟกานิสถานและอวดผลงานของกองกำลังพันธมิตรที่ช่วยให้กองทัพอัฟกานิสถานมีความเข้มแข็งและทางการมีความมั่นคงในการรักษาความมั่นคงและความมีเสถียรภาพด้วยตนเอง เพราะควบคู่กับเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มก่อการร้ายตาลีบันได้ประกาศจัดตั้งสำนักงานตัวแทนที่ประเทศกาตาร์ที่ใช้ชื่อว่า “สำนักงานการเมืองของอิสลามมิคอมิเรตแห่งอัฟกานิสถาน”เพื่อมุ่งจัดการสนทนากับประชาคมระหว่างประเทศและรัฐบาลอัฟกานิสถานเกี่ยวกับมาตรการสันติภาพและสหรัฐได้ตกลงเข้าร่วมการเจรจานี้ทันทีโดยถือว่า นี่เป็นพัฒนาการที่สำคัญ เพราะตาลีบันได้แถลงมานานแล้วว่า ตราบใดที่ยังมีทหารต่างชาติประจำการในอัฟกานิสถาน ตราบนั้นจะไม่มีการเจรจา กระบวนการเจรจานี้จะแบ่งเป็น๓ระยะซึ่งในระยะแรก สหรัฐตั้งเงื่อนไขว่า ตาลีบันต้องตัดความสัมพันธ์กับกลุ่มอัลกออิดะห์แต่นี่มิใช่เงื่อนไขล่วงหน้าและฝ่ายตาลีบันได้ส่งสัญญาณตอบว่า จะไม่อนุญาติให้ใครใช้ดินแดนของอัฟกานิสถานเพื่อคุกคามความมั่นคงของประเทศอื่น ต่อจากนั้น คาดว่า สหรัฐและตาลีบันจะเจรจาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเชลยศึก ปัญหาเรือนจำกวนตานาโมและทหารอเมริกันที่ถูกตาลีบันจับกุมใน๔ปีที่ผ่านมา สุดท้าย สหรัฐต้องโน้มน้าวให้ตาลีบันยอมรับการเจรจากับประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซโดยตรงซึ่งเป็นเป้าหมายที่ยากจะบรรลุได้ จากการเสนอเจรจาในเชิงรุกครั้งนี้ ประชามติมีความหวังว่า กระบวนการสันติภาพในอัฟกานิสถานจะได้รับการปฏิบัติ มีส่วนร่วมยุติการปะทะที่ยืดเยื้อมาเกือบ๑๒ปีในประเทศนี้
แต่การพบปะครั้งแรกระหว่างสหรัฐกับตาลีบันได้ถูกประท้วงอย่างรุนแรงจากทางการคาบูลโดยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ได้ยืนกรานปฏิเสธการเจรจาครั้งนี้เพราะเห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐพูดกำลังสวนทางกับสิ่งที่ทำอยู่ที่เกี่ยวข้องถึงกระบวนการสันติภาพในอัฟกานิสถานโดยทางการคาบูลให้เหตุผลที่การเจรจาถูกยกเลิกว่า เนื่องจากสหรัฐอนุญาติให้ตาลีบันเปิดสำนักงานในประเทศกาตาร์ แขวนธงอิสลามมิค อมิเรต แห่งอัฟกานิสถานซึ่งเป็นชื่อของทางการตาลีบันก่อนที่ถูกโค่นล้มเมื่อปี๒๐๐๑ ซึ่งเหมือนเป็นการรับรองกลายๆว่า ตาลีบันเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมซึ่งขัดกับคำมั่นของสหรัฐต่ออัฟกานิสถาน บรรดาผู้นำอัฟกานิสถานยังประณามสหรัฐที่ได้เจรจากับตาลีบันโดยตรงและเปิดเผยนอกดินแดนอัฟกานิสถานว่า เป็นการกระทำที่ไม่มีความชัดเจนซึ่งส่งผลเสียต่อบทบาทของรัฐบาลอัฟกานิสถาน แม้ว่า ฝ่ายสหรัฐได้มีการปลอบขวัญโดยได้ยืนยันว่า ไม่รับรองอิสลามมิคอมิเรตแห่งอัฟกานิสถานและไม่ถือสำนักงานของตาลีบันในกาตาร์เป็นสถานทูตหรือสำนักงานตัวแทนแต่ก็ยังยืนยันจะดำเนินการเจรจาตามแผนที่ได้วางไว้ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจต่อประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซซึ่งทางการอัฟกานิสถานยังขู่ว่า จะยกเลิกการเจรจากับสหรัฐเกี่ยวกับข้อตกลงด้านความมั่นคงทวิภาคีภายหลังปี๒๐๑๔          
 นี่มิใช่เป็นครั้งแรกที่ความสัมพันธ์พันธมิตรระหว่างวอชิงตันกับคาบุลแตกร้าว  ๑๒ปี นับตั้งแต่ประกาศสงคราม ผลสำเร็จที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐและพันธมิตรคือโค่นล้มทางการตาลีบัน สังหารผู้นำกลุ่มก่อการร้ายอัลเกดาห์โอซามา บินลาเดนซึ่งทำให้เครือข่ายก่อการร้ายอัลเกดาห์อ่อนแอลง แต่ความสูญเสียของสหรัฐและพันธมิตรก็ไม่น้อยเพราะ สงครามในอัฟกานิสถานเป็นสงครามที่ยาวนานที่สุดที่สหรัฐได้ก่อขึ้นในต่างประเทศซึ่งทำให้วอชิงตันต้องสิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาลพร้อมทั้งเสียชื่อเสียง แม้ความสูญเสียจะมากมายเช่นนี้ แต่ความล่อแหลมต่อการก่อการร้ายยังคงลุกลามออกไป ถึงแม้ กองกำลังตาลีบันจะลดน้อยลงในดินแดนอัฟกานิสถาน แต่กลับกำลังขยายการเคลื่อนไหวในปากีสถาน เยเมน โซมาเลีย และอีกหลายแห่ง  ด้วยเหตุนี้ ในสภาวการณ์ความขัดแย้งอย่างลึกซึ้งในปัจจุบัน โอกาสที่ทุกฝ่ายหันมานั่งเจรจากันเพื่อแสวงหามาตรการสันติภาพให้แก่อัฟกานิสถานจึงมีน้อยมาก./. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด