เบื้องหลังการตัดสินใจยุติหน้าที่การสู้รบของสหรัฐในอิรัก

(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมทางการสหรัฐได้ตัดสินใจที่จะยุติการปฏิบัติหน้าที่สู้รบของกองทัพสหรัฐในอิรักโดยสิ้นเชิงภายในสิ้นปี 2021 อันเป็นการยุติยุทธนาการส่งกองกำลังทหารไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศที่ยืดเยื้อเป็นเวลาเกือบ 2 ทศวรรษอย่างเป็นทางการแต่นี่ไม่ใช่การตัดสินใจถอนกำลังทหารเหมือนการยุติสงครามในอัฟกานิสถานแต่การถอนทหารครั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสหรัฐกับอิรักซึ่งเป็นก้าวเดินที่ได้รับการมองว่าจะนำผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์มาให้แก่ทั้งสองฝ่าย
เบื้องหลังการตัดสินใจยุติหน้าที่การสู้รบของสหรัฐในอิรัก - ảnh 1ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคมปี 2021 กองกำลังทหารสหรัฐในอิรักจะเปลี่ยนหน้าที่จากการทำสู้รบเป็นการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาด้านความมั่นคงให้แก่อิรัก (กองทัพสหรัฐ/Spc. Jensen Guillory)

การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน และนายกรัฐมนตรีอิรัก มุสตาฟา อัล-คาดฮีมี บรรลุข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการยุติการสู้รบของสหรัฐในอิรักในการเจรจาโดยตรง ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ด้วยข้อตกลงนี้ สหรัฐจะยุติการส่งกำลังรบที่ดำเนินมายาวนานถึง 18 ปี แต่อย่างไรก็ตาม การยุติภารกิจในอิรักมีความแตกต่างไปจากการยุติภารกิจในอัฟกานิสถาน เพราะสหรัฐจะยังคงธำรงความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับอิรักเพื่อสนับสนุนผลประโยชน์หลักของตน

สหรัฐยังคงต้องการธำรงความร่วมมือทางทหารอย่างใกล้ชิดกับอิรัก

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ เหตุผลที่สหรัฐอยากจัดทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการผ่านการเจรจากับอิรักมากกว่าการตัดสินใจแต่ฝ่ายเดียวในเรื่องการยุติภารกิจทางทหารในอิรักก็เพื่อสนับสนุนแผนการของสหรัฐเกี่ยวกับอิรักและภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยทางการสหรัฐอยากให้อิรักมีบทบาทเป็นตัวจักรด้านความมั่นคงในตะวันออกกลาง เพราะวอชิงตันเห็นว่าถ้าอิรักมีเสถียรภาพก็จะส่งผลดีต่อสหรัฐในการเข้าถึงทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ของอิรักและยังช่วยค้ำประกันการธำรงอิทธิพลของสหรัฐในตะวันออกกลาง ในทิศทางนี้ สหรัฐจะยังคงพยายามช่วยเหลืออิรักในการลดการพึ่งพาอิหร่าน  โดยเฉพาะในด้านพลังงาน

เป็นที่ชัดเจนว่า เมื่อเทียบกับการตัดสินใจถอนทหารออกจากสนามรบอัฟกานิสถาน วิธีการเข้าถึงของทางการสหรัฐในการยุติสงครามในอิรักมีความแตกต่างกันมาก โดยถึงแม้สหรัฐจะถอนทหาร แต่ก็ยังต้องการสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางทหารที่ยาวนานกับอิรัก   ซึ่งสิ่งนี้อธิบายได้ว่า ทำไมประธานาธิบดี ไบเดน จึงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับอิรักในการฝึกอบรม สนับสนุนกองทัพอิรักเพื่อต่อสู้กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วอชิงตันไม่อยากตัดความสัมพันธ์กับอิรักอย่างสิ้นเชิง แต่ยังคงต้องการธำรงความสัมพันธ์ทางทหารอย่างใกล้ชิดกับอิรัก

เบื้องหลังการตัดสินใจยุติหน้าที่การสู้รบของสหรัฐในอิรัก - ảnh 2ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน พบปะกับนาย มุสตาฟา อัล-คาดฮีมี นายกรัฐมนตรีอิรัก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม (The New York Times)

จุดเริ่มต้นใหม่สำหรับอิรัก

สำหรับอิรัก การบรรลุข้อตกลงถอนทหารกับสหรัฐถือเป็นชัยชนะทางการเมืองและการทูตที่สำคัญของทางการนายกรัฐมนตรี มุสตาฟา อัล-คาดิมี อันที่จริงแล้ว นายกรัฐมนตรี มุสตาฟา อัล-คาดิมี กำลังเผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากสมาชิกรัฐบาลที่นิยมอิหร่าน โดยเรียกร้องให้ถอนกองกำลังต่างชาติออกจากอิรักที่นำโดยกองทัพสหรัฐโดยสมบูรณ์ ซึ่งการบรรลุข้อตกลงนี้ ทำให้ทางการอิรักสามารถตอบสนองความต้องการของฝ่ายการเมืองในประเทศไปพร้อมๆกับการที่ยังคงได้รับการสนับสนุนด้านการทหารและความมั่นคงที่สำคัญจากสหรัฐในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายที่นำโดยไอเอส และทำให้มองเห็นในภาพกว้างว่ารัฐบาลของนายกรัฐมนตรี มุสตาฟา อัล-คาดิมี ได้เริ่มสร้างความสมดุลที่จำเป็นในความสัมพันธ์ที่ยากจะแก้ไขกับทั้งสหรัฐและอิหร่าน

ชัยชนะนี้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติยุทธศาสตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างมั่นใจในระยะใหม่ด้วยความเป็นอิสระมากขึ้น โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่อิรักกำลังเตรียมจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนตุลาคมปี 2021

แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงก้าวเดินแรก มิใช่การค้ำประกันที่แน่ชัดที่สำหรับอนาคตของอิรัก เพราะมีหลายเหตุผลที่ต้องกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทั้ง 2 ประเทศในอ่าวเปอเซียร์ในช่วงหลังจากสหรัฐถอนกำลังออกจากอิรัก  ประการแรกคือความแตกแยกอย่างลึกซึ้งในกองกำลังต่างๆและกลุ่มการเมืองในอิรักที่ยือเยื้อมานานหลายปี หลักฐานล่าสุดคือ ฝ่ายการเมืองต่างๆได้ประกาศไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นในเร็วๆนี้ อีกทั้งคัดค้านข้อตกลงของรัฐบาลกับสหรัฐ นอกจากนั้น ก็คือเรื่องข้อจำกัดเกี่ยวกับความสามารถในการรับมือวิกฤตของรัฐบาลและกองกำลังรักษาความมั่นคงต่างๆในอิรักเมื่อแหล่งสนับสนุนการเงินกำลังหมดเนื่องจากการทุจริต ความไม่สงบทางสังคมและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะเดียวกัน กลุ่มไอเอสกำลังแสดงให้เห็นถึงความสามารถและการปรากฎตัวอย่างแข็งแกร่งในอิรักในเวลาที่ผ่านมาผ่านการโจมตีอย่างต่อเนื่องหลายครั้งใส่เป้าหมายต่างๆของสหรัฐ รวมถึงของรัฐบาลอิรัก

จากสถานการณ์ที่เป็นจริงนี้ ผู้เชี่ยวชาญระดับภูมิภาคหลายคนเตือนว่า รัฐบาลอิรักจำเป็นต้องถอดบทเรียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอัฟกานิสถานเพื่อมีการเตรียมพร้อมที่จำเป็นสำหรับอนาคตของประเทศตนในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ทางการเมืองและการทหารในภูมิภาคกำลังมีความซับซ้อนในปัจจุบัน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด