เวียดนามผลักดันกรอบทางนิตินัยทั่วโลกใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
(VOVworld) – ดังข่าวที่เราได้เสนอไปแล้ว การประชุมซีโอพีครั้งที่๒๐เพิ่งเสร็จสิ้นลง ที่ประเทศเปรูหลังจากที่ทำการประชุมมาเป็นเวลา๒สัปดาห์ซึ่งมติที่ประชุมระบุว่า ๑๙๐ประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะต้องอนุมัติโครงการแห่งชาติเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกที่จะยื่นเสนอต่อสหประชาชาติก่อนเดือนมิถุนายนปี๒๐๑๕ ส่วนเวียดนามได้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการประชุมครั้งนี้พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติและให้คำมั่นที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน๒องศาเซลเซียส
(VOVworld) – ดังข่าวที่เราได้เสนอไปแล้ว การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหรือซีโอพีครั้งที่๒๐เพิ่งเสร็จสิ้นลง ที่ประเทศเปรูหลังจากที่ทำการประชุมมาเป็นเวลา๒สัปดาห์ซึ่งมติที่ประชุมระบุว่า ๑๙๐ประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะต้องอนุมัติโครงการแห่งชาติเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกที่จะยื่นเสนอต่อสหประชาชาติก่อนเดือนมิถุนายนปี๒๐๑๕ ส่วนเวียดนามได้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการประชุมครั้งนี้พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติและให้คำมั่นที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน๒องศาเซลเซียส
|
การประชุมซีโอพีครั้งที่๒๐(Photo: TTX ) |
แม้ว่า ไม่ใช่ประเทศที่ปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกมากก็ตาม แต่เวียดนามเป็นประเทศที่ถูกผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและน้ำทะเลหนุน คาดว่า อุณหภูมิของพื้นผิวโลกที่เพิ่มสูงขึ้นดังปัจจุบันจะทำให้พื้นที่เกือบร้อยละ๔๐ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจมอยู่ใต้น้ำเนื่องจากน้ำทะเลหนุนและมีประชากรร้อยละ๓๕ได้รับผลกระทบภายในปี๒๐๕๐ ดังนั้น เวียดนามต้องแสดงความมุ่งมั่นทางการเมืองในระดับสูง พยายามเจรจาในฟอรั่มต่างๆทั้งระดับภูมิภาคและโลกในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
วางแผนปฏิบัติการแห่งชาติโดยเร็ว
ที่ประชุมครั้งที่๗ของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่๑๑ เมื่อเดือนมิถุนายนปี๒๐๑๓ได้อนุมัติมติเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเชิงรุกและผลักดันการบริหารทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้อนุมัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี๒๐๕๐โดยแบ่งเป็น๓ระยะและมีหน้าที่ที่เป็นรูปธรรม๙ประการซึ่งถือเป็นกรอบนโยบายสูงสุดที่กำหนดแนวทางการชี้นำการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การบริหารทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเวียดนามในเวลาข้างหน้า
ควบคู่กับโครงการเป้าหมายแห่งชาติ ได้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชน สถานประกอบการและองค์กรสังคมทราบเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและจนถึงปัจจุบัน จังหวัดและตัวเมืองแทบทุกแห่งในทั่วประเทศได้อาสาเข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและโครงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายเจืองดึ๊กจี๊ ผู้อำนวยการโครงการร่วมมือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมอุทกศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเวียดนามกล่าวว่า“นอกจากความพยายามของรัฐบาลแล้ว กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆรณรงค์การอุปถัมภ์จากนานาชาติเพื่อช่วยเวียดนามรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศพร้อมทั้งส่งเสริมให้ทุกคนในสังคมเข้าร่วม สถานประกอบการและเขตชุมชนก็ต้องเข้าร่วมเพื่อร่วมกับรัฐบาลรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ”
พยายามปฏิบัติคำมั่นสัญญาระหว่างประเทศ
เวียดนามไม่เพียงแต่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการผลักดันกิจกรรมรับมือและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเท่านั้นหากยังเป็นประเทศแรกที่เข้าร่วมการให้สัตยาบันกรอบอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโตต่อท้ายอนุสัญญาฉบับนี้ ที่ฟอรั่มต่างๆ กลไกร่วมมือภูมิภาคและโลกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เวียดนามได้เข้าร่วมอย่างครบถ้วน เข้มแข็งและมีความคิดสร้างสรรค์มากมายซึ่งจนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้ให้คำมั่นว่า จะลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกร้อยละ๘ถึงร้อยละ๑๐ภายในปี๒๐๒๐เมื่อเทียบกับปี๒๐๑๐ และลดการใช้พลังงานตั้งแต่ร้อยละ๑ ถึงร้อยละ๑.๕ต่อปีของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือGDP เวียดนามกำลังศึกษาวิจัยถึงการมีส่วนร่วมโดยสมัครใจโดยกำหนดส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและคำมั่นของเวียดนามในการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อผลักดันกระบวนการเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี๒๐๑๕
ในที่ประชุมซีโอพีครั้งที่๒๐ ที่กรุงลิมา ประเทศเปรู เวียดนามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศแรกที่ยื่นเสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่อัพเดททุกๆ๒ปีต่อคณะเลขาธิการอนุสัญญาของสหประชาชาติ นายเจิ่นห่งห่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามที่เข้าร่วมการประชุมซีโอพี ครั้งที่๒๐ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ประชาคมโลกต้องร่วมมือกันและกล่าวว่า“ปัจจบัน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังมีความซับซ้อน โดยเฉพาะ ก๊าซคาบอนไดอ๊อกไซด์ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับทศวรรษก่อนๆและอาจทำให้โลกตกเข้าสู่ความหายนะภายในปี๒๐๓๐ ถ้านหากพวกเราไม่สามารถควบคุมก๊าซคาบอนไดอ๊อกไซด์ให้ต่ำกว่า๔ร้อยส่วนล้านในบรรยากาศได้ซึ่งสิ่งนี้เรียกร้องให้ต้องมีความพยายามมากขึ้นเพื่อผลักดันกระบวนการเจรจาอย่างมีประสิทธิภาพ”
นานาประเทศควรมีคำมั่นที่เข้มแข็ง และมีความพยายามมากยิ่งขึ้นในการเจรจาเพื่อบรรลุกรอบทางนิตินัยทั่วโลกใหม่ที่มีลักษณะผูกมัดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในปี๒๐๑๕เพื่อให้โลกสามารถบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน๒องศาเซลเซียสซึ่งเวียดนามมีทัศนะนี้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และจากความพยายามของตน เวียดนามกำลังร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศสร้างกรอบให้แก่การเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกเพื่อนำไปใช้แทนพิธีสารเกียวโตที่จะหมดอายุในปี๒๐๑๕ ./.
Huyền –Thy Hạt