(VOVWORLD) - ในตลอดกว่าหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา โควิด-19ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกและแม้ว่าการมาของวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยขจัดการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แต่การใช้วัคซีนอย่างไม่เหมาะสมและการเข้าถึงที่ไม่เท่าเทียมกันทำให้ยังไม่สามารถยุติการแพร่ระบาดในระดับโลกได้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปิดโปงความไม่เท่าเทียมกันที่ร้ายแรงระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งปัญหาความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีนนั้นเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากมาก
(Getty Images) |
เรื่องของวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันได้กลายเป็นเนื้อหาหลักของความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆในตลอดเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีนระหว่างกลุ่มประเทศร่ำรวยที่มีไม่กี่ประเทศกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ลาตินอเมริกาและประเทศยากจน
ความไม่เท่าเทียมกันด้านวัคซีนทั่วโลก
ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีนถูกระบุโดยผู้อำนวยการขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO เมื่อเร็วๆ นี้ ขณะนี้ มีเพียงประชากรร้อยละ 1 ในประเทศที่มีรายได้ต่ำเท่านั้นที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดสในขณะที่ประเทศร่ำรวยบางประเทศกำลังพิจารณาที่จะฉีดวัคซีนเข็มที่สามให้แก่ประชาชน ส่วนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ในหลายพื้นที่ของโลกยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้
สาเหตุของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีนมาจากลัทธิชาตินิยมวัคซีน จนถึงปัจจุบันประเทศร่ำรวยได้ฉีดวัคซีนกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนวัคซีนทั้งหมดที่ผลิตทั่วโลก เป็นที่ชัดเจนว่า ทุกฝ่ายมีความผิดพลาดในการตระหนักเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยประเทศร่ำรวยมุ่งพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ภายในประเทศของตนก่อนโดยมองข้ามไปว่าไม่มีประเทศใดปลอดภัยจนกว่าทุกประเทศจะปลอดภัย
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีน จึงได้มีการจัดตั้งโครงการ COVAX โดยองค์การอนามัยโลกหรือWHO กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาดหรือ CEPI และกลุ่มพันธมิตรเพื่อวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันโรคทั่วโลกหรือ GAVI เพื่อค้ำประกันว่าทุกประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับศักยภาพทางการเงิน แต่อย่างไรก็ตาม โครงการ COVAX ไม่มีงบประมาณเพียงพอเพื่อจัดสรรวัคซีนตามคำมั่น นอกจากนั้น ก็ไม่มีกลุ่มบริษัทเภสัชกรรมใดที่จะยอมแบ่งปันเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแม้ว่าจะเป็นการขอซื้อสิทธิบัตรก็ตาม
ผู้อำนวยใหญ่ขององค์การอนามัยโลกหรือWHO (AFP/VNA) |
พยายามร่วมมือเพื่อค้ำประกันความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีน
จากสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อต้นเดือนมิถุนายนปี 2021 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือ G7 ได้มีตัดสินใจสำคัญคือมุ่งมั่นที่จะจัดสรรวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1 พันล้านโดสให้แก่ประเทศยากจน บรรดาผู้นำโลกยังตกลงที่จะจัดสรรเงิน 6 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนสำรองระหว่างประเทศหรือ SDR โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เป็นผู้ก่อตั้งเพื่อช่วยประเทศต่างๆที่ต้องรับมือการแพร่ระบาดที่รุนแรงที่สุดและเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าที่สุด เงินทุนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรร้อยละ 70 ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางภายในสิ้นปี 2022
ก่อนหน้านั้น องค์การอนามัยโลกหรือ WHO องค์การการค้าโลกหรือ WTO และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกหรือ WIPO ได้ประชุมและตกลงที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มความช่วยเหลือทางเทคนิคร่วมกันเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ต้องการเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเฉพาะ เทคโนโลยีในการวินิจฉัยและรักษาโรคโควิด-19 เรียกร้องให้บรรลุข้อตกลงในการยกเลิกสิทธิบัตรวัคซีน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม WHO ได้เรียกร้องให้บางประเทศระงับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็ม 3 ไปจนถึงปลายเดือนกันยายน และเตือนว่า ประเทศที่ยากกำลังเข้าถึงวัคซีนได้อย่างล่าช้า
เป็นที่ชัดเจนว่า การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของสายพันธ์เดลต้าในทั่วโลกในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่า การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในชุมชนขนาดเล็กจะไม่ได้ผลในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อไวรัส SARS-CoV-2 ยังคงมีการกลายพันธุ์ ซึ่งเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่อาจต้านทานต่อวัคซีนที่มีอยู่ ทำให้การต่อสู้กับโรคระบาดนี้อาจต้อง "เริ่มต้นใหม่นับหนึ่งใหม่ทั้งหมด" ในสภาวการณ์ดังกล่าว การต่อสู้กับการแพร่ระบาด จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และความสามัคคีของประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันเนื่องจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายพันธุ์ ไม่เลือกประเทศที่ระบาด ดังนั้น จะไม่มีใครคนใดคนหนึ่งปลอดภัยจนกว่าทุกคนจะปลอดภัย!