(VOVWORLD) - เช้าวันที่ 16 พฤศจิกายนตามเวลาเวียดนาม ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน และประธานประเทศจีน สี จิ้น ผิง ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งแรกผ่านทางระบบไกล การประชุมเกิดขึ้นในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนกำลังเผชิญหน้ากันอย่างดุเดือดในหลายปัญหา จึงได้รับการประเมินว่ายากที่จะสร้างก้าวกระโดด แต่ก็เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการสร้างเสถียรภาพในแต่ละประเทศและบรรยากาศการพัฒนาในภาพรวม
ก่อนขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อเดือนมกราคมปี 2021 นาย โจ ไบเดน ก็ได้พบปะกับนาย สี จิ้น ผิง หลายครั้ง แต่ในฐานะผู้นำประเทศสหรัฐ นาย โจ ไบเดน ได้แต่พูดคุยทางโทรศัพท์เพียง 2 ครั้ง และยังไม่เคยมีการพบปะโดยตรงกับประธานประเทศจีน สี จิ้น ผิง ดังนั้น การเจรจาสุดยอดระหว่างสหรัฐกับจีนเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนจึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากทั้งสองประเทศและประชามติโลก
สภาวการณ์เต็มไปด้วยความท้าทาย
การประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน กับประธานประเทศจีน สี จิ้น ผิง ผ่านระบบทางไกลเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนกำลังได้รับการประเมินว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนที่แย่ลงเกิดขึ้นในช่วงที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ และเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อเดือนมกราคมปี 2021 นาย โจ ไบเดน ยังคงถือจีนเป็นภัยคุกคามอันดับต้นๆของสหรัฐ และพยายามรวมกลุ่มพันธมิตรเพื่อรับมือจีน ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดในการเยือนยุโรป เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ก่อนการประชุมสุดยอด เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แอนโทนี บลิงเคน และรัฐมนตรีต่างประเทศจีน หวัง อี้ ได้ออกคำเตือนแต่ละฝ่ายเกี่ยวกับหัวข้อที่มีการโต้เถียงกันมากที่สุดในปัจจุบันระหว่างสองประเทศคือปัญหาไทเปสังกัดจีนแผ่นดินใหญ่ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แอนโทนี บลิงเคน ได้แสดงความกังวลของสหรัฐเกี่ยวกับ "แรงกดดันทางการทหาร การทูตและเศรษฐกิจ" ของจีนที่มีต่อไทเป ส่วนนาย หวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีนได้ชี้แจงอย่างชัดเจนว่า การกระทำของสหรัฐถูกถือเป็นการสนับสนุน "เอกราชของไทเป-จีนแผ่นดินใหญ่" และ "อันตรายมาก"
ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งกันอย่างตึงเครียดในหลายปัญหา รวมถึงการที่จีนได้ตอบโต้อย่างรุนแรงต่อการจัดตั้งพันธมิตร AUKUS ที่เป็นการจับมือกันระหว่างสหรัฐกับอังกฤษและออสเตรเลียเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตลอดจนการที่วอชิงตันได้ผลักดันการติดต่อกับหุ้นส่วนที่สำคัญในยุทธศาสตร์ปรับแกนหมุนสู่เอเชีย ในขณะที่ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสองฝ่ายที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานหลายปียังไม่มีสัญญาณคลี่คลายลง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เสรีภาพในการเดินเรือในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก
อย่างไรก็ตาม ผู้นำทั้งสองประเทศยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากปัญหาภายในที่ประชาชนภายในประเทศให้ความสนใจ สำหรับผู้นำสหรัฐ ต้องดึงดูดการสนับสนุนจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีแนวทางแข็งกร้าวต่อจีนในการเลือกตั้งรัฐสภากึ่งวาระปี 2022 และการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายในปี 2024 ส่วนสำหรับผู้นำจีนคือต้องแสดงภาพลักษณ์ของผู้นำที่แข็งแกร่งและเด็ดขาดก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในปีหน้า
เป็นที่ชัดเจนว่า สภาวการณ์พิเศษนี้ได้สร้างความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ต่อโอกาสการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนในระยะสั้น
ก้าวเดินที่จำเป็น
แต่อย่างไรก็ตาม การประชุมสุดยอดสหรัฐ-จีนในวันที่ 16 พฤศจิกายนยังคงได้รับการประเมินว่ามีความหมายสำคัญและเป็นก้าวเดินที่จำเป็นสำหรับอนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยก่อนอื่นในสภาวการณ์ที่เผชิญหน้าอย่างรุนแรง การประชุมถูกจัดขึ้นผ่านในรูปแบบออนไลน์ได้แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองฝ่ายยังคงต้องการพูดคุยและสนทนากัน ประการที่ 2 คือ การสนทนาจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกันมากขึ้นเกี่ยวกับจุดยืนและทัศนะ ตลอดจนความต้องการและความจำเป็นของแต่ละฝ่ายเพื่อมีพื้นฐานปรับปรุงพฤติกรรม หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้สถานการณ์แย่ลง
และในทางเป็นจริง ถึงแม้จะมีแถลงการณ์ที่แข็งกร้าว แต่เจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศยังคงยืนยันถึงความปรารถนาในการเจรจาและความร่วมมือ ก่อนการประชุม โฆษกทำเนียบขาว Jen Psaki ได้เผยว่า ผู้นำทั้งสองประเทศ "ได้หารือถึงมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการแข่งขันระหว่างสองประเทศอย่างมีความรับผิดชอบ ตลอดจนมาตรการร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน" ส่วนสำหรับฝ่ายจีน ในข้อความที่ส่งถึงงานเลี้ยงประจำปีของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนหรือNCUSCR ณ นิวยอร์กเมื่อเร็วๆ นี้ ประธานประเทศจีน สีจิ้นผิง ยังคงยืนยันถึงความพร้อมที่จะกระชับความร่วมมือกับสหรัฐในทุกด้านเพื่อร่วมกันรับมือปัญหาที่สำคัญทั้งในระดับภูมิภาคและโลก ตลอดจนความท้าทายระดับโลก อีกทั้งควบคุมความขัดแย้งอย่างเหมาะสมและผลักดันความสัมพันธ์จีน-สหรัฐให้กลับคืนสู่สภาพเดิม นอกจากนั้น ในการประชุม COP26 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง ณ ประเทศอังกฤษ สหรัฐและจีนได้บรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เป็นที่ชัดเจนว่า ความต้องการและความเป็นไปได้ในการเจรจาและความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ปัญหาที่ประชามติให้ความสนใจในปัจจุบันคือทั้งสองฝ่ายมีความไว้วางใจมากพอที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเพื่อหันมาร่วมมือเพื่อประโยชน์ของแต่ละฝ่ายและเพื่อประชาคมระหว่างประเทศได้หรือไม่.