ฆ้องไผ่ เครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของชนเผ่าเอเด
H’Zawut-To Tuan/VOV -  
(VOVWORLD) -จิงกราม-ฆ้องไผ่ คือเครื่องดนตรีพื้นเมืองเฉพาะของชนเผ่าเอเดที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ จิงกรามหรือฆ้องไผ่นั้นให้โทนเสียงหนักแต่กังวาล เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่ทำง่ายเล่นง่าย จิงกรามจึงมีบทบาทสำคัญในวิถิชีวิตวัฒนธรรมของชาวเอเดมาแต่โบราณกาล
การปรับระดับเสียงของจิงกรามด้วยการตัดกระบอกไผ่(internet) |
ที่ท่านกำลังฟังอยู่นี้คือเสียงบรรเลงฆ้องไผ่ จิงกราม ในงานเทศกาลของชุมชนชาวเอเด ซึ่งเป็นเสียงดนตรีที่ครึกครื้นและมีความคุ้นเคยในวิถีชีวิต เสมือนเสียงแห่งหัวใจที่สะท้อนความปรารถนาและความใฝ่ฝันของชาวบ้านทุกคน ฆ้องไผ่จิงกรามมักจะทำเป็นชุดที่มีเลขคี่เช่น 5ใบ 7ใบ หรือ9ใบ บางชุมชนทำมากถึง19ใบ ฆ้องแต่ละใบมีระดับเสียงที่ไม่เหมือนกันซึ่งจะบรรเลงเหมือนลีลาของวงดนตรีที่มีความหลากหลายประเภท ชาวบ้านในต. เออาตูล อ.กือเมองาร์ จ.ดั๊กลักได้เผยว่า กระบวนการทำฆ้องไผ่จิงกรามนั้นมีความซับซ้อนและต้องการความพิถีพิถันมาก ต้องเข้าป่าลึกเพื่อหาไผ่แก่ที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับทำฆ้องเพื่อที่จะได้โทนเสียงที่แตกต่างกัน หลังจากสามารถหาต้นไผ่ที่เหมาะสมแล้วก็เอามาตัดเป็นกระบอกที่มีความยาวตั้งแต่29-45เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง7-9เซนติเมตร ประกอบกับแต่ละกระบอกไผ่นั้นจะมีแท่งไม้ไผ่หนึ่งอันเพื่อใช้เป็นเครื่องทำจังหวะเสียง “ต้องตัดไผ่เป็นกระบอกแล้วตากให้แห้งประมาณ2เดือนถึงจะได้เสียงที่เป็นมาตรฐาน ส่วนแท่งไม้ไผ่แต่ละอันต้องมีขนาดเท่ากันแต่ความยาวต่างกันขึ้นอยู่กับโทนเสียงที่เป็นตัวนำจังหวะ เมื่อทำเสร็จก็ให้สองคนลองเคาะดูว่าจะออกเสียงเหมือนกันหรือไม่”
ฆ้องไผ่จิงกรามแต่ละอันจะให้เสียงที่ไม่เหมือนกันดังนั้นช่างศิลป์ที่ทำจิงกรามต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านดนตรีและมีฝีมือเยี่ยมเพื่อสามารถทำจิงกรามได้สมบูรณ์ที่สุด หลังจากทำจิงกรามเสร็จเรียบร้อยทั้งชุดต้องทิ้งไว้ประมาณ5เดือนเพื่อลองทดสอบผ่านสภาพอากาศต่างๆและจะมีการปรับระดับเสียงด้วยการตัดกระบอกให้สั้นลง ช่างศิลป์ อามี เฮอเรย ชาวอ.กือเมองาร์ ได้กล่าวถึงเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าตนว่า“จิงกรามเป็นผลงานความคิดสร้างสรรค์ที่เราทำเอง เราชอบเสียงของจิงกรามและเป็นเครื่องดนตรีที่กระทัดรัดเรียบง่าย เสียงก็ดังก้องกังวาล ฆ้องที่ทำด้วยทองแดงนั้นมีราคาแพงแล้วการเล่นก็ต้องเรียนรู้เทคนิกที่ยากกว่าด้วย”
การสอนวิธีเล่นฆ้องจิงกรามให้แก่คนรุ่นใหม่(internet) |
ฆ้องไผ่จิงกรามมีระดับโทนเสียงที่สมบูรณ์เหมือนฆ้องทองแดงแต่มีความผูกพันใกล้ชิดกับชีวิตของชาวบ้านมากกว่าเพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เรียบง่ายทั้งในการผลิตและวิธีการเล่น นาย อาเอซิม จากต.อีเอ เกอตูร์ อ.กือกุน จ.ดั๊กลัก เผยว่า“สำหรับฆ้องทองแดงจะใช้ในพิธีเซ่นไหว้หรืองานศพเท่านั้น ส่วนฆ้องไผ่จิงกรามสามารถเล่นได้ทุกเวลาเพื่อความบันเทิง มันก็เล่นได้หลายจังหวะเหมือนฆ้องทั่วไปแล้วแต่ลีลาของเพลงความเข้าใจและวิธีการเล่นของผู้เล่น”
ด้วยคุณสมบัติและลักษณะที่เรียบง่ายสามารถทำเองเล่นเองได้ตามอัธยาศัยของผู้เล่นทำให้ฆ้องไผ่จิงกรามกของชาวเอเดกลายเป็นเครื่องดนตรีที่ช่วยสร้างบรรยากาศเพลิดเพลินหลังช่วงเวลาทำงานและช่วยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างจิตใจของมนุษย์และโลกแห่งเทพเจ้าเบื้องบน อันเป็นการเพิ่มความหลากหลายและสร้างเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของชาวเอเดที่ยังคงได้รับการรักษาและพัฒนาจนถึงทุกวันนี้.
H’Zawut-To Tuan/VOV