ชาวเผ่าไทในภาคตะวันตกเฉียงเหนือฝากความปรารถนาขอให้สุขภาพแข็งแรงและความสงบสุขผ่านการผูกข้อมือ
Tòng Anh; Thu Hằng -  
(VOVWORLD) -ชุมชนเผ่าไทในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนามมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์น่าสนใจมากมาย รวมถึงประเพณีการผูกข้อมือซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณที่ชาวบ้านได้สืบสานกันมาหลายชั่วคน
พ่อแม่มักผูกด้ายข้อมือให้ลูกเพื่อขอพรให้เด็กว่านอนสอนง่ายโตเร็วแข็งแรง
|
คนเผ่าไทเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนประกอบด้วยสองส่วนคือวิญญาณและร่างกาย ซึ่งดวงวิญญาณนั้นก่อตัวขึ้นบนสวรรค์โดยนางผดุงครรภ์คนแรกที่เรียกว่า me bau ได้เผาเป็นก๊าซ ส่วนร่างกายได้ก่อตัวขึ้นบนโลกและกระบวนการนี้เป็นหน้าที่ของนางผดุงครรภ์คนที่สอง เรียกว่า me nang เมื่อดวงวิญญาณและร่างกายรวมกันก็กลายเป็นมนุษย์และหากร่างกายสูญเสียวิญญาณ หรือวิญญาณสูญเสียร่างกาย ก็จะไม่มีชีวิต เมื่อจิตและกายจากกันทั้งสองส่วนก็กลับคืนสู่แหล่งที่ก่อเกิดขึ้น นั่นคือสวรรค์และดิน ด้วยความเลื่อมใสนี้ชาวบ้านจึงมีประเพณีผูกด้ายที่ข้อมือเพื่อเป็นการผูกมัดจิตวิญญาณไว้กับร่างกายเพื่อให้ชีวิตของมนุษย์สามารถคงอยู่ นาย ก่าวันจูง สมาชิกสมาคมศิลปะพื้นบ้านเวียดนามในหมู่บ้าน กอปุก ชุมชน เจียงเงิน จังหวัด เซินลา กล่าวว่า:“คนเผ่าไทเชื่อว่าแต่ละคนมีจิตวิญญาณถึง 80 ดวงโดยเป็น วิญญาณด้านหน้า 30 ดวงและด้านหลัง 50 ดวง เมื่อวิญญาณบางส่วนออกจากร่างกายคนจะป่วยหากออกไปทั้งหมดก็จะตายดังนั้นผู้คนจึงผูกข้อมือไว้ เพื่อเก็บและผูกมัดจิตวิญญาณอยู่กับร่างกายเพื่อให้มีชีวิตยืนยาว”
ในสมัยก่อน ตามหมู่บ้านของชนเผ่าไทมักจะมีการจัดพิธีผูกข้อมือที่เรียกว่า “Xú khuôn” ทุกปี ส่วนมาถึงทุกวันนี้แม้พิธีนี้ไม่ได้จัดขึ้นเป็นประจำเหมือนเดิมแต่ก็ยังคงเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติในวันงานสำคัญต่างๆ นายต่อง วัน เฮีย ผู้สูงอายุในหมู่บ้านหม่อง ชุมชนฮัวลา นครเซินลา จังหวัดเซินหล้าบอกว่า พิธีนี้มักจะมีขึ้นในงานเซ่นไหว้เรียกวิญญาณ พิธีบูชาไล่โรคสำหรับผู้ป่วย สวดมนต์ขอพรให้อายุยืน ผูกข้อมือให้แก่ทารกแรกเกิด หรือเมื่อในครอบครัวมีผู้เสียชีวิต:“ต้องมัดข้อมือผูกวิญญาณก็เพราะเวลาคนป่วย จิตวิญญาณมักอ่อนแอ จึงต้องมัดไว้ เพื่อไม่ให้ถูกวิญญาณร้ายมากวน หรือเมื่อมีคนในครอบครัวเสียชีวิตก็ต้องผูกไว้เพราะกลัวว่าวิญญาณของผู้มีชีวิตจะตามดวงวิญญาณของผู้ตายกลับคืนสู่สวรรค์ โดยเมื่อผูกด้ายไว้ที่มือก็ต้องท่องคำว่า " มัดให้แน่น เพื่ออยู่บ้านกินข้าวเฝ้าบ้านกินปลา”
พิธีการผูกข้อมือไม่ใช่เรื่องความเชื่องมงาย ไม่ใช่การทำนายดูดวง ไม่จำเป็นต้องจัดงานเซ่นไหว้ใหญ่ที่ต้องฟุ่มเฟือยเงินทองสิ่งของ หากไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถทำได้และทำในทุกขณะทุกเวลาที่ต้องการ โดยทั่วไปพ่อแม่มักผูกด้ายข้อมือให้ลูก หมอผีผูกข้อมือให้แก่ผู้ที่ทำพิธี หรือลูกหลานผูกข้อมือให้ปู่ย่าตายายและพ่อแม่ยามเจ็บป่วยอ่อนแอ เป็นต้นด้วยความปรารถนาให้คนที่เขารักและห่วงใยมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืน
อย่างไรก็ตาม การผูกข้อมือและคำอธิษฐานในแต่ละกรณีจะแตกต่างกันอย่างเช่น เมื่อทำพิธีเซ่นไหว้ขอพรให้ทารกครบเดือนหรือครบปีหมอผีจะใช้ด้ายสีแดงหรือสีดำหรือใช้ทั้งสองสีมัดเข้ากันเพื่อผูกไว้ที่ข้อมือหรือที่คอของทารกด้วยคำอธิษฐานว่า ขอให้ทารกมีสุขภาพแข็งโตเร็วว่านอนสอนง่าย สำหรับคนที่มักจะล้มป่วยหมอผีรวมทั้งญาติที่มาเยี่ยมจะผูกด้ายข้อมือของผู้ป่วยเพื่ออวยพรให้เขาหายเร็วและแข็งแรงวึ่งถือเป็นการให้กำลังใจสำหรับผู้ป่วย ส่วนในกรณีที่มีคนเสียชีวิต ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านที่มาไว้อาลัยแสดงความเสียใจจะเอาเส้นด้ายของผ้าขาวไว้ทุกข์ผูกไว้ที่มือของคนในครอบครัว พร้อมแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง คุณต่องถิบิ่งห์ หมอผีในหมู่บ้าน หม่อง ชุมชน ฮัวลา จังหวัดเซินลา เผยว่า “มัดมือซ้าย มัดมือขวาให้แน่น อธิษฐานขอให้สุขภาพแข็งแรง โตไว วิญญาณร้ายห้ามพาไป ผูกร่างมัดดวงวิญญาณ ให้อยู่บ้านกับลูกหลาน ดังนั้นเมื่อเจ็บป่วยยิ่งมีพี่น้องและญาติโยมที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจมากเท่าไร ผู้ป่วยคนนั้นก็จะยิ่งมีกำลังมากขึ้น เพื่อพยายามเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บ หรือฟันฝ่าช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้าเมื่อคนในครอบครัวเสียชีวิตไป”
ประเพณีการผูกข้อมือมีความหมายลึกซั้งในวิถีชีวิตของชุมชนคนผ่าไทในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนามดังนั้นตั้งแต่ผู้สูงอายุจนถึงคนหนุ่มสาวต่างก็นับถือและถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ขาดไม่ได้ในชีวิตจิตใจและได้พัฒนาสืบสานต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น./.
Tòng Anh; Thu Hằng