พิธีบวงสรวงขอฝนของชนเผ่าโลโล
Vinh Phong- VOV5 -  
(VOVWorld)-ชนเผ่าโลโลส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่จังหวัด ห่ายางทางตอนบนประเทศเวียดนาม แม้จะเป็นชนเผ่าที่มีประชากรน้อยและอาศัยอยู่ร่วมกับชนเผ่าอื่นๆมานานมากแต่จนถึงปัจจุบันก็ยังคงรักษาเทศกาลพื้นบ้านที่หลากหลายของตนไว้ได้เช่น เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลเก็บข้าวโพด เทศกาลขอฝนฯลฯ
(VOVWorld)-ชนเผ่าโลโลส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่จังหวัด ห่ายางทางตอนบนประเทศเวียดนาม แม้จะเป็นชนเผ่าที่มีประชากรน้อยและอาศัยอยู่ร่วมกับชนเผ่าอื่นๆมานานมากแต่จนถึงปัจจุบันก็ยังคงรักษาเทศกาลพื้นบ้านที่หลากหลายของตนไว้ได้เช่น เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลเก็บข้าวโพด เทศกาลขอฝนฯลฯ
พิธีบวงสรวงขอฝนของชนเผ่าโลโล
|
โดยความเชื่อที่มีมาแต่เดิมนาน เมื่อถึงเดือน 3 ตามจันทรคติ ชนเผ่าโลโลในอำเภอแหม่วหวากจะจัดพิธีบวงสรวงเทวดาขอให้ฝนมาตามฤดูกาล ช่วยให้พืชพันธ์เจริญงอกงาม การเก็บเกี่ยวได้ผลดี ชีวิตมีความสุขีปรีดา นายหล่อซี้ป้าวหัวหน้าหมู่บ้านสุ่งป๋าอา เขตเทศบาลอำเภอแหม่วหวาก กล่าวว่า“ปีไหนแห้งแล้งถ้าถึงเดือน 3 ตามจันทรคติฝนยังไม่ตกชาวบ้านก็จะจัดพิธีบวงสรวงเทวดาขึ้นในวันที่13เดือน3 ขอให้เบื้องบนบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเพื่อให้ชาวบ้านทำไร่ไถนาเลี้ยงสัตว์ปลูกพืชได้ดี พิธีบวงสรวงจะจัดขึ้นโดยมีการสมทบสิ่งของและเข้าร่วมจากชาวบ้านอย่างพร้อมหน้า”
เครื่องของที่ใช้เซ่นไหว้ในพิธีนั้นจะมี ไก่ผู้หนึ่งตัว สุนัขสองตัว ดาบทำด้วยเหล็กหรือไม้หนึ่งเล่ม น้ำดื่ม เหล้า ธูป กระดาษเงินกระดาษทองและกระบอกไม้ไผ่สี่อันสัญญลักษณ์ของสี่ทิศและที่ขาดไม่ได้คือกลองทองแดงและซอที่ใช้เล่นในการจัดพิธี ซึ่งชาวเผ่าโลโลมีความเชื่อว่า กลองทองแดงเป็นสัญญลักษณ์ของห้วงอวกาศและของมนุษย์เกิดมาพร้อมกับฟ้าคือพ่อและดินคือแม่และพระอาทิตย์คือศูนย์กลางห้วงอวกาศ ฉนั้นในเทศกาลพื้นบ้านต่างๆและเทศกาลบวงสรวงเทวดาฟ้าดินขอฝนชาวเผ่าโลโลจะใช้กลองตีในการจัดพิธี กลองชุดหนึ่งมีสองใบคือกลองใหญ่และกลองเล็ก ส่วนซอของชาวโลโลนั้นมีขนาดใหญ่กว่าซอของชนเผ่าอื่นๆ เครื่องดนตรีสองอย่างนี้จะใช้เล่นในพิธีบวงสรวงเทวดาขอฝนที่จัดขึ้นในเวลาสองชั่วโมง
เมื่อเริ่มพิธีผู้ช่วยงาน4 คนจะยกโต๊ะที่วางของเซ่นไหว้ต่างๆมาไว้ตรงหน้าหมอผีหลังจากนั้นหมอผีจะไหว้เทวดาและเทพเจ้าสี่ทิศขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลช่วยให้ชาวบ้านทำนาทำไร่ได้ผลดี นายหล่อซี้ป้าวเผยว่า “พิธีบวงสรวงขอฝนเทวดาจะจัดขึ้นที่ท้องทุ่งนา สมาชิกในทุกครอบครัวต้องเข้าร่วมและต้องใส่ชุดแต่งกายประจำชนเผ่าของตน ของเซ่นไหว้ก็มีเนื้อไก่ เนื้อสุนัข ข้าวเหนียว ธูปและกระดาษเงินกระดาษทอง ในคำอธิฐานต้องกล่าวขอพรจากเทวดา เทพเจ้าสี่ทิศและบรรพบุรุษที่ให้กำเนิดมนุษย์และชนเผ่าต่างๆ ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีฝนมา”
หมอผีจะไหว้เทวดาและเทพเจ้าสี่ทิศขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลช่วยให้ชาวบ้านทำนาทำไร่ได้ผลดี
|
พิธีบวงสรวงต้องทำสองครั้ง ในครั้งที่สองทั้งหมอผี ผู้ช่วยงาน4คนและพี่น้องชาวบ้านทั้งหมดจะยืนล้อมรอบโต๊ะวางของเซ่นไหว้ เสร็จแล้วหมอผีจะกล่าวเชิญเทวดาและเทพเจ้าสี่ทิศมาร่วมวงทานอาหารกับชาวบ้านเป็นการขอบคุณเทพเจ้าทั้งหลายที่บันดาลให้ฝนตกตามความต้องการของชาวบ้าน เช่นเดียวกับชนเผ่าอื่นๆชนเผ่าโลโลก็ถือเทศกาลบวงสรวงเทวดาขอฝน เป็นงานชุมนุมครอบครัวด้วยเพื่อญาติพี่น้องจะได้มีโอกาสปรึกษาหารือกันเรื่องการเล่าเรียน การแต่งงานของลูกหลานและการทำมาหากินนางสุ่ง ถิ กวี ชาวหมู่บ้านสุ่งป๋าอาในเขตเทศบาลอำเภอ แหม่วหวากเล่าว่า “ทุกครอบครัวในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าโลโลหรือชนเผ่าอื่นๆจะต้องบริจาคสิ่งของเซ่นไหว้เพื่อทำพิธีขอฝน เทศกาลพื้นบ้านได้รับการอนุรักษ์ไว้ตราบเท่าทุกวันนี้ก็เพื่อให้ชนรุ่นเยาว์รู้จักประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนเผ่าตน ก่อนที่จะมีงานชาวบ้านจะทำการฝึกซ้อมร้องเพลงและฟ้อนรำเพื่อแสดงในวันงาน”
เมื่อเสร็จพิธีขอฝนชาวบ้านจะร่วมกันดื่มเหล้า ทานอาหารและร้องรำทำเพลงแสดงถึงความสุขสันต์ ความสามัคคีของชนเผ่า ความรักบ้านเกิดเมืองนอน พิธีบวงสรวงเทวดาขอฝนของชนเผ่าโลโลเป็นกิจกรรมของความเชื่อทางจิตวิญญาณอย่างหนึ่งเหมือนกับ21ชนเผ่าอื่นๆที่อาศัยในจังหวัดห่ายางที่มีความปรารถนาให้ชีวิตได้มีความอยู่ดีกินดีมีความเจริญก้าวหน้าทางสังคมแต่ยังคงรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมของตนไว้ได้.
Vinh Phong- VOV5