บทเพลงเกี่ยวกับแม่น้ำของปิตุภูมิในช่วงสงคราม
(VOVWORLD) - แม่น้ำถือเป็นภาพที่น่าประทับใจที่สุดเมื่อนึกถึงบ้านเกิด ดังนั้น แม่น้ำจึงเป็นแรงบันดาลใจให้นักดนตรีถ่ายทอดความรู้สึกผ่านผลงานดนตรี แม่น้ำแห่งปิตุภูมิได้ทำให้ดนตรีการปฏิวัติเวียดนามมีเพลงเพราะๆหลายเพลงที่แฟนชื่นชอบ ตลอดจนให้กำลังใจในการต่อสู้ศัตรูและปกป้องประเทศ
ในช่วงสงครามต่อต้านนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศส มีแม่น้ำสองสาย ณ ฐานที่มั่นแห่งการปฏิวัติที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่การรังสรรค์บทเพลงของนักดนตรี วันกาว และนักดนตรี โด๋หญ่วน สำหรับนักดนตรี วันกาว เพลง “เจื่องกาซงโล” หรือ “บทเพลงแห่งแม้น้ำโล” ถือเป็นผลงานอมตะที่มีเนื้อร้องเกี่ยวกับแม่น้ำโล ซึ่งเป็นพยานเกี่ยวกับจิตใจแห่งการต่อสู้ที่กล้าหาญของประชาชนและทหารเวียดนาม
ชัยชนะแม่น้ำโลในยุทธนาการณ์เวียดบั๊กในฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาวปี 1947 ของกองทัพและประชาชนเวียดนามเป็นการยืนยันถึงแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการกลางพรรค รัฐบาลและประธานโฮจิมินห์ ตลอดจนพลังที่เข้มแข็งของกองทัพประชาชนเวียดนามในช่วงแรก ๆแห่งการก่อตั้ง ชัยชนะอันรุ่งโรจน์ที่แม่น้ำโลได้สร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้ศิลปินเวียดนามรุ่นแล้วรุ่นเล่าถ่ายทอดความรู้สึก สร้างผลงานที่เต็มไปด้วยมหากาพย์และลัทธิความรักชาติ
ในเวลาเดียวกัน เมื่อเดือนตุลาคมปี 1947 นักดนตรี วันกาว ถูกส่งไปยังฐานที่มั่นแห่งการปฏิวัติเวียดบั๊กเพื่อเข้าร่วมสงคราม โดยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมปี 1947 ทหารปืนใหญ่สามารถยิงทำลายเรือรบฝรั่งเศส 4 ลำ ทำให้ทหารฝรั่งเศสได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคน ตัดเส้นทางขนส่งผ่านแม่น้ำโลไปยังเวียดบั๊ก บังคับให้นักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสต้องขนส่งเสบียงทางอากาศให้แก่ทหารฝรั่งเศสในจังหวัดเตวียนกวาง แต่หลังจากนั้นก็ต้องถอนทหารออกจากเขตเวียดบั๊ก ตอนที่นักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสถอนตัวออกจากเตวียนกวางก็เป็นช่วงที่นักดนตรี วันกาว อยู่บนแม่น้ำโลจึงเห็นภาพหมู่บ้านที่ได้รับความเสียหายและถูกเผา ผสานกับความสุขแห่งชัยชนะของประชาชนในสองฝั่งแม่น้ำซึ่งกำลังเริ่มสร้างหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ ภาพของ "เหล่าทหารในสงคราม" ในการเดินทางกลับสู่ฐานที่มั่นแห่งการปฏิวัติและความงามแบบโรแมนติกและกล้าหาญของแม่น้ำโลได้กลายเป็นแรงบันดาลใจพื่อให้นักดนตรี วันกาว แต่งเพลง “บทเพลงแห่งแม่น้ำโล”
"Du kích sông Thao" หรือ "ทหารบ้านแม่น้ำทาว" ของนักดนตรี โด๋หญ่วน ก็เป็นหนึ่งในเพลงเพราะที่ถ่ายทอดชัยชนะของทหารบ้านในการต่อสู้ นักดนตรี โด๋หญ่วน เคยเขียนไว้ในสมุดบันทึกประจำวัน “เสียงของชีวิต” เกี่ยวกับความเป็นมาของเพลง “ทหารบ้านแม่น้ำทาว” ว่า เมื่อปี 1948 หลังจากถูกคุมขังที่เรือนจำ เซินลา นักดนตรี โด๋หญ่วนและเพื่อนที่ถูกคุมขังสามารถหลบหนีออกมาได้ บนเส้นทางไปยัง เอิ๊มเถื่อง จังหวัดฟู้เถาะ เขาคิดถึงเพื่อนเก่าและญาติ รวมถึงทหารสาวบ้านชื่อ ห่า ที่เคยให้การช่วยเหลือเขาและเพื่อนในขณะที่เคลื่อนไหวการปฏิวัติ และสาวคนนี้ได้รับหน้าที่เป็น "คนพายเรือ" นำนักปฏิวัติข้ามแม่น้ำ จากเรื่องราวและความรู้สึกเกี่ยวกับทหารบ้านได้สร้างแรงบันดาลใจให้นักดนตรี โด๋หญ่วน แต่งเพลง “ทหารบ้านแม่น้ำทาว”และเมื่อเคลื่อนทัพถึงสามแยกแม่น้ำของเมืองเวียดจี่และแม่น้ำห่ง เขาก็แต่งเพลงนี้ได้เสร็จสมบูรณ์
นักดนตรี ซวนยาว มีชื่อเสียงด้วยเพลง “Chào sông Mã anh hùng” หรือ “สวัสดีแม่น้ำ หมา ที่กล้าหาญ” โดยกล่าวถึงชัยชนะของทหารและประชาชนจังหวัดแทงฮว้าในการต่อสู้ศัตรูจักรวรรดินิยมอเมริกาที่โจมตีทำลายสะพาน ห่ามหร่ง เพลงนี้มีเอกลักษณ์ของดนตรี พื้นเมืองจังหวัดแทงฮว้า เพลง “สวัสดีแม่น้ำ หมา ที่กล้าหาญ” ขับร้องโดยนักร้อง จุงเกียน เป็นเพลงที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในภาคเหนือและภาคใต้ ทหารหลายนายได้ฟังเพลงนี้ในขณะที่เคลื่อนทัพ ต่อสู้เพื่อช่วงชิงเอกราชในสมรภูมิหลายแห่ง จากเพลงนี้ นักดนตรี ซวนยาว อยากยืนยันว่า แม่น้ำหมาที่สวยงามและเงียบสงบพร้อมทิวทัศน์ที่มีเสน่ห์ด้วยเรือที่ล่องไปในสายลม ริมฝั่งแม่น้ำมีต้นกล้วยและต้นหมากเขียวขจี ชาวท้องถิ่นในแม่น้ำหมา กล้าหาญในการต่อต้านศัตรูผู้รุกราน
เมื่อปี 1966 ในขณะที่จักรวรรดินิยมอเมริกาขยายการทำลายภาคเหนือ ในคืนวันหนึ่ง นักดนตรี เจืองกวางหลุก ในตอนนั้นเป็นวิศวกรเคมีของโรงงาน Superphosphate (ซุปเปอร์ฟอสเฟต) เลิมทาว ได้ยินบทกวี หว่ามก๋อดง ในรายการเสียงกวีของสถานีวิทยุเวียดนามจึงรู้สึกตื้นตันใจ ก่อนนอนหลับ เขาหาหนังสือพิมพ์ Van Nghe ที่เพิ่งได้รับในตอนบ่ายจึงนึกถึงบทกวี หว่าก๋อดง นักดนตรี เจืองกวางหลุก จึงนั่งอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าและซาบซึ้งใจกับบทกวี เพราะในภาคเหนือที่ห่างไกล มีคนกล่าวถึงแม่น้ำที่ใสเขียวตลอดทั้งปีในภาคใต้ด้วยความตั้งใจจริงและความภักดี ความมุ่งมั่นต่อสู้ศัตรู เพลง หว่ามก๋อดง ใช้เวลาในการแต่งแค่ชั่วโมงเดียว คนสองคนที่มีบ้านเกิดเดียวกันที่จังหวัดกว๋างหงายในภาคกลาง แต่ไม่เคยพบกัน คนหนึ่งเป็นนักดนตรีที่ได้เคลื่อนทัพไปภาคเหนือและอีกคนหนึ่งเป็นกวีที่กำลังต่อสู้ในภาคใต้ต่างก็มีความรู้สึกที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของแม่น้ำในภาคใต้ และบทกวี หว่าก๋อดงหลังจากได้รับการเรียบเรียงดนตรีด้วยทำนองที่เต็มไปน้ำใจที่ได้กระตุ้นให้คนหนุ่มสาวเข้าสู่สงคราม..