(VOVWORLD) - ปัจจุบัน อำเภอตูมาโรง จังหวัดกอนตูม มีประชากรร้อยละ 95 เป็นชนเผ่าเซอดัง โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา พวกเขากำลังผลักดันการผลิตเพื่อสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจากการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาพืชสมุนไพรในถิ่นเกิดของตนเอง
นาย อาลิง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านปูต๊า ตำบลมังรี อำเภอตูมาโรง มักจะเข้ามาทำงานที่สวนโสมหงอกลิงห์ของครอบครัว |
ในช่วงต้นปี 2024 นาย อาลิง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านปูต๊า ตำบลมังรี อำเภอตูมาโรง มักจะเข้ามาทำงานที่สวนโสมหงอกลิงห์ของครอบครัว โดยโสมหงอกลิงห์กำลังอยู่ในช่วงฤดู "จำศีล" ซึ่งผู้ปลูกต้องมาเฝ้าระวังกระรอก หนู และสัตว์ป่าอื่น ๆ ที่จะมากัดกินทำลายรากโสม โดยการที่มีต้นโสมประมาณ 5,000 ต้นในสวนของที่บ้าน ซึ่งมีอายุหลายปีแล้วนั้น ทำให้นาย อาลิง เป็นหนึ่งในเศรษฐีจากการปลูกโสมในอำเภอตูมาโรง นาย อาลิง ได้เล่าถึงเส้นทางการหลุดพ้นจากความยากจนด้วยการปลูกโสมหงอกลิงห์ ว่า
“ผมได้กู้เงินจำนวน 100 ล้านด่อง เพื่อเอาไปซื้อพันธุ์โสมหง็อกลิงห์ ซึ่งการลงทุนปลูกโสมมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ มีส่วนร่วมอย่างมากต่อการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น”
สำหรับชนเผ่าเซอดังในอำเภอตูมาโรง แม้จะมีความคุ้นเคยกับโสมหง็อกลิงห์ แต่การปลูกสมุนไพรที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงชนิดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งอุปสรรคที่ถือว่าท้าทายที่สุดคือราคาขายโสมหง็อกลิงห์อยู่ในระดับที่สูงมาก ประมาณ 1 แสนด่องต่อ 1 เมล็ดพันธ์ หรือ 3 แสนด่องต่อ 1 ต้นโสมอายุ 1 ปี ฉะนั้น ทางการปกครองส่วนท้องถิ่นของอำเภอตูมาโรงได้มีการสนับสนุนเงินทุนให้แก่ชาวบ้านชนเผ่าเซอดังในการปลูกโสมหงอกลิงห์ ครอบครัวนาย อาเซิน ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวที่มีฐานะยากจนในพื้นที่ ได้ตัดสินใจกู้เงินจำนวน 100 ล้านด่อง จากธนาคารนโยบายสังคมอำเภอตูมาโรง เพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์โสมหงอกลิงห์ จนถึงปัจจุบัน สวนโสมของเขามีทั้งหมด 3,000 ต้น นายเซิน เผยว่า
“ต้นทุนที่ใช้ในการซื้อเมล็ดพันธุ์โสมหงอกลิงห์ค่อนข้างสูง ซึ่งในช่วงแรกๆ ผมก็รู้สึกมีความลังเล แต่ในที่สุด ผมกับภรรยาก็ตัดสินใจกู้เงิน โดยต้นโสมจะงอกเฉลี่ย 20 ถึง 30 เมล็ดพันธ์ต่อต้น ตั้งแต่ปีเพาะปลูกที่ 4 หรือ 5 ซึ่งเราสามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์และมีต้นกล้าเป็นของตัวเอง”
สำหรับราคาขายโสมสดในตลาดอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านด่องต่อกิโลกรัม ปัจจุบัน มีหลายครอบครัวสามารถหลุดพ้นจากความยากจน นาย เจืองกวางจี ผู้อำนวยการธนาคารนโยบายสังคมสาขาอำเภอตูมาโรง จังหวัดกอนตูม ยืนยันว่า
“ณ ตอนนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร รวมถึงต้นโสมหงอกลิงห์ อยู่ที่ประมาณ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากจำนวนลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลกว่า 1,000 ราย โดยผ่านการตรวจสอบและติดตามแหล่งเงินกู้อย่างใกล้ชิด ก็สามารถมองเห็นถึงการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้นโสมหงอกลิงห์ได้สร้างผลประโยชน์และเงื่อนไขต่างๆ ที่เอื้อให้ชาวบ้านในการพัฒนาฐานะความเป็นอยู่และหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน”
มีครอบครัวชาวเซอดังหลายครัวเรือนในอำเภอตูเมอโรงกำลังปลูกพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น โสมเลย ชานจา และสมุนไพรอื่นๆ |
นอกจากนี้ มีครอบครัวชาวเซอดังหลายครัวเรือนในอำเภอตูเมอโรงกำลังปลูกพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น โสมเลย ชานจา และสมุนไพรอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้เสริมนำไปลงทุนต่อในการปลูกโสมหงอกลิงห์ จนถึงปัจจุบัน มีครัวเรือนเพิ่มขึ้นกว่า 562 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าเซอดังในอำเภอตูมาโรง หลุดพ้นจากความยากจน นาย หวอจุงแหม่ง ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอตูมาโรง เผยว่า
“ชาวบ้านไม่ได้รอและพึ่งพาแต่การช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ชาวบ้านได้กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ รวมถึงใช้เงินรายได้ของครอบครัว เพื่อลงทุนในการปลูกโสมหงอกลิงห์ ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำการผลิตของชนกลุ่มน้อย”
ทั้งนี้ อำเภอตูมาโรง มีพื้นที่ปลูกโสมหงอกลิงห์กว่า 2,300 เฮกตาร์ รวมถึงพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ กว่า 1,300 เฮกตาร์ ด้วยรูปแบบในการลงทุนต่าง ๆ เช่น การกู้ยืมเงินทุนด้วยตนเองเพื่อลงทุนในการปลูกโสมหงอกลิงห์ การเข้าร่วมกลุ่มสหกรณ์ การเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ประกอบการ เป็นต้น ทำให้นับวันมีชาวชนเผ่าเซอดังปลูกโสมหงอกลิงห์มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมของทางการจังหวัดและชาวบ้านในอำเภอตูมาโรงเพื่อบรรลุเป้าหมายให้จังหวัดกอนตูมกลายเป็นแหล่งปลูกยาสมุนไพรสำคัญและเป็นศูนย์กลางการผลิตยาสมุนไพรขนาดใหญ่ของเวียดนามภายในปี 2030.