เกษตรกรจังหวัดหลางเซินปลูกต้นเกาลัดเพื่อสร้างฐานะที่มั่นคง
(VOVWORLD) - ที่เวียดนาม นอกจากอำเภอจุ่งแค้ง จังหวัดกาวบั่ง ก็มีการปลูกเกาลัดที่อำเภอบางแห่งในจังหวัดหลากเซินอีกด้วย ซึ่งผลเกาลัดที่ได้ก็มีรสชาติที่อร่อยเหมือนเกาลัดที่ปลูกที่อำเภอจุ่งแค้ง แถมยังให้ผลผลิตที่มากกว่าและสามารถเก็บผลผลิตนอกฤดูกาลด้วย ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ช่วยให้เกษตรกรหลางเซินแก้ปัญหาความยากจนและสร้างฐานะที่มั่นคง
เกาลัดขายได้ในราคาตั้งแต่ 8 หมื่น – 1 แสนด่งหรือ 4.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม
|
เมื่อปี 2006 นาย เหงียนจุงเฮี๊ยว ในตำบลกว๋างหลก นครหลงเซิน เริ่มปลูกต้นเกาลัดในแปลง 2 เฮกตาร์ โดยต้นเกาลัดโตเร็ว แข็งแรง ไม่ติดโรคและสามารถเก็บผลผลิตได้หลังใช้เวลาปลูก 4 ปี “เกาลัดปลูกง่ายมาก การดูแลก็ง่าย แค่ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ในปีนี้ เราเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4-5 ตัน แล้วก็ซื้อเกาลัดเพิ่มเติมจากเพื่อนบ้าน เกาลัดหลางเซินได้รับการจำหน่ายในนครต่างๆ เช่น กรุงฮานอย เมืองท่าไฮฟอง นครโฮจิมินห์และเมืองหวุงเต่า”
ปัจจุบัน ครอบครัวนายเฮี้ยวมีแปลงปลูกเกาลัดกว่า 8 เฮกตาร์ โดยกว่า 4 เฮกตาร์กำลังเข้าสู่ฤดูเก็บผลผลิต ซึ่งขายได้ในราคาตั้งแต่ 8 หมื่น – 1 แสนด่งหรือ 4.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ได้กำไรราว 300 ล้านด่งหรือ 13,000 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้น นายเฮี้ยวยังจัดสรรค์ต้นพันธุ์เกาลัดให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นด้วยราคาต่ำกว่าตลาด ช่วยแนะนำวิธีการปลูก ดูแลและรับจำหน่ายผลผลิต ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้าน
นาย หว่างวันหอก ในหมู่บ้านกว๋างห่ง ตำบลกว๋างหลาก ให้ข้อสังเกตว่า “ เกษตรกรในตำบลปลูกต้นเกาลัดมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการจำหน่ายในตลาด แม่ค้าพ่อค้ามาซื้อถึงที่ แม้กระทั่งลูกค้าจากกรุงฮานอยก็สั่งซื้อผ่านทางออนไลน์ด้วย ก่อนหน้านี้ ครอบครัวผมปลูกดอกท้อ แต่ 3 ปีมานี้ เมื่อเห็นศักยภาพจากการปลูกต้นเกาลัด ผมและชาวบ้านหลายคนก็เริ่มปลูกตาม”
ที่ตำบลกว๋างหลากมีพื้นที่ปลูกต้นเกาลัดประมาณ 60 เฮกตาร์ โดยมีกว่า 100 ครอบครัวที่ปลูก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้านกว๋างจุงและกว๋างห่ง ได้ผลผลิตประมาณ 1 ตันต่อเฮกตาร์ ได้กำไร 100 ล้านด่งหรือ 4,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่เพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นเกาลัด ทางการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปลูกและดูแลต้นเกาลัด 1- 2 ครั้งต่อปี สนับสนุนด้านพันธุ์และปุ๋ย นาง นงถิถวี่เฮือง รองประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลกว๋างหลาก นครหลางเซิน เผยว่า “รูปแบบการปลูกต้นเกาลัดได้นำมาทดลองในตำบลฯ ตั้งแต่ปี 2002 ซึ่งหลังจากที่เก็บผลผลิต เราก็เห็นว่า ให้ผลผลิตสูงและมีประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น เราได้ขยายผลรูปแบบนี้ ปัจจุบันนี้ เมล็ดเกาลัดกว๋างหลากได้รับการรับรองเป็น “เครื่องหมายการค้าทองของการเกษตรเวียดนาม” ปี 2022 และบรรลุมาตรฐาน OCOP ในระดับ 3 ดาวของจังหวัดหลางเซินเมื่อปี 2021”
ในเวลาที่จะถึง ควบคู่กับการขยายพื้นที่ปลูกดอกท้อและต้นเกาลัด ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ตำบลกว๋างหลาก กำลังมุ่งสู่รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชน โดยไฮไลท์คือการสาธิตการเก็บเกาลัด และมีเมนูอาหารที่ปรุงจากเกาลัด ซึ่งถ้าหากรูปแบบนี้ประสบความสำเร็จก็จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น.