การปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรเพื่อเน้นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์

(VOVworld) - ในหลายปีมานี้ หน่วยงานการเกษตรได้ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรักษาอัตราการขยายตัว ซึ่งควบคู่กับการแก้ไขปัญหาต่างๆจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการแข่งขันในการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกอย่างกว้างลึก การสร้างห่วงโซ่เชื่อมโยงเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

(VOVworld) - ในหลายปีมานี้ หน่วยงานการเกษตรได้ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรักษาอัตราการขยายตัว ซึ่งควบคู่กับการแก้ไขปัญหาต่างๆจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการแข่งขันในการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกอย่างกว้างลึก การสร้างห่วงโซ่เชื่อมโยงเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

การปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรเพื่อเน้นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ - ảnh 1
การปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรเพื่อเน้นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์

ความผันผวนของตลาดโลกบวกกับอุปสรรค์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้อัตราการขยายตัวของภาคการเกษตร ป่าไม้และสัตว์นํ้าในหลายปีมานี้มีแนวโน้มลดลง โดยอัตราการขยายตัวเมื่อปี 2014 อยู่ที่ร้อยละ 4 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.62 ในปี 2015 และ ร้อยละ1.36 ในปี 2016 ซึ่งเพื่อลดผลกระทบและรักษาอัตราการขยายตัวอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางเพิ่มมูลค่าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เน้นสร้างห่วงโซ่เชื่อมโยงเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ ผลักดันการส่งออกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก นาย เลวันบิ่ง รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจสังกัดสำนักรัฐสภาได้เผยว่า โครงการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรในปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
“การบรรลุอัตราการขยายตัวด้านการเกษตรเหมือนในหลายปีมานี้เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนักเนื่องจากปัญหาที่ดินเพื่อการผลิตที่จำกัด แต่อย่างไรก็ดี ถ้าหากลงทุนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างเข้มแข็งและเปลี่ยนแปลงใหม่วิธีการผลิตเพื่อสร้างห่วงโซ่เชื่อมโยงและมุ่งสู่การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์การเกษตร ก็จะทำให้มีการขยายตัวด้านการเกษตร”
นอกเหนือจากการแก้ไขอุปสรรคเกี่ยวกับนโยบายที่ดินและการให้สิทธิพิเศษด้านสินเชื่อเพื่อดึงดูดการลงทุน สิ่งที่สำคัญที่สุดที่หน่วยงานการเกษตรต้องปฏิบัติในเวลาข้างหน้าคือ ต้องกำหนดตลาดและพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์การเกษตร  นาย เหงวียนซวนเยือง รองอธิบดีกรมปศุสัตว์สังกัดกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า การที่ข้อตกลงการค้าทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการได้ทำให้เกษตรกรประสบอุปสรรคจากการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์และการขยายตัวด้านการเกษตร
ส่วนนาย เหงวียนโด๊ะแองต๊วน หัวหน้าสถาบันนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและชนบทได้เผยว่า เพื่อพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ในเวลาข้างหน้า หน่วยงานการเกษตรต้องเปลี่ยนแปลงใหม่แนวความคิดในการผลิตและมีการปฏิรูปในด้านต่างๆเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยเฉพาะต้องยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติโครงการต่างๆ เช่น 1 หมู่บ้านมี 1 ผลิตภัณฑ์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รูปแบบการเชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบการกับเกษตรกรในการฝึกสอนอาชีพและเสนอว่า“ต้องทำการตรวจสอบกลไกและนโยบายด้านการเกษตร เช่น การเปลี่ยนจากการปลูกข้าวมาปลูกพืชชนิดอื่น มติเกี่ยวกับการดึงดูดการลงทุนด้านการเกษตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงของท้องถิ่น พร้อมทั้งต้องเพิ่มการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ผลักดันรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพ”
ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า โครงการปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางเพิ่มมูลค่าและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐบาลคือแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์และการพัฒนาการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มมูลค่านั้นไม่เพียงแต่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านสวัสดิการสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนเท่านั้น หากยังมีส่วนช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  การปฏิบัติโครงการดังกล่าวในเชิงลึกและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงจะมีส่วนร่วมพัฒนาการเกษตรเพื่อการส่งออกและผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกอย่างกว้างลึกมากขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด