ชาท้ายเงวียนมุ่งมั่นบรรลุรายได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Manh Phuong- Thu Hoa -  
(VOVWORLD) - ในปี 2022 รายได้จากผลิตภัณฑ์ชาในจังหวัดท้ายเงียนบรรลุกว่า 10 ล้านล้านด่ง หรือคิดเป็นเกือบ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้ำประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ชาตามมาตรฐาน OCOP และการส่งเสริมการค้า โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซเป็นแนวทางเพื่อให้หน่วยงานผลิตชาท้ายเงวียนมุ่งสู่เป้าหมายบรรลุรายได้หนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ชาท้ายเงวียนมุ่งมั่นบรรลุรายได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
จุดแข็งของชาท้ายเงวียนคือการได้รับใบรับรอง 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์หรือ OCOP และมีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในขั้นตอนการปลูกที่มีการใช้สารชีวภาพสำหรับการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกรวมทั้งการแปรรูปใบชาจากพันธุ์ชาที่ให้ผลผลิตสูง ซึ่งทุกขั้นตอนปฏิบัติตามมาตรฐาน VietGAP ทำให้ราคาขายเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ครอบครัวเกษตรกรและผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับชา
ชาที่ได้มาตรฐาน OCOP ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ปลอดภัยและมีคุณภาพ ดังนั้น จังหวัดท้ายเงวียนจึงผลักดันมาตรการที่เข้มงวดในการตรวจสอบเพื่อให้จำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น นาย หวูวันฟ้าน อธิบดีกรมคุณภาพด้านการเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำจังหวัดท้ายเงวียนเผยว่า การรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ OCOP เป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับงานด้านการบริหาร การที่สหกรณ์และสถานประกอบการยกระดับการเป็นฝ่ายรุก ความรับผิดชอบและการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการค้ำประกันคุณภาพจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ OCOP มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและครองส่วนแบ่งตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้มากขึ้น
“สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองแล้ว เราเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมดูแลเพื่อค้ำประกันคุณภาพ ปัจจุบัน เกษตรกรเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองต้องได้รับการปกป้องและผลิตตามข้อกำหนด ดังนั้นพวกเขาจึงมีความประสงค์ว่า ผลิตภัณฑ์ของตนจะได้รับการปกป้องจากการถูกเอาเปรียบ”
ท้ายเหงียนเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกชาที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามรวมพื้นที่เกือบ 23,000 เฮกตาร์ ผลผลิตบรรลุกว่า 244,000 ตัน ผลิตภัณฑ์ชาท้ายเงวียนได้รับการจำหน่ายใน 63 จังหวัด นครและในหลายประเทศ ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ชาที่ได้มาตรฐาน OCOP จะมีราคาสูงกว่าชาทั่วไป คือประมาณ 12,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกตาร์ แต่พื้นที่ปลูกชาที่ได้มาตรฐาน OCOP ยังมีไม่ถึงร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกชาทั้งหมดในจังหวัด ซึ่งทำให้ยอดมูลค่าของอุตสาหกรรมชาท้ายเงวียนยังอยู่ในระดับต่ำมาก นอกจากนั้น ความเชื่อมโยงระหว่างห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมชายังไม่แน่นแฟ้น ผู้ปลูกชาส่วนใหญ่ทำการแปรรูปและบริโภคเอง จำนวนสถานประกอบการที่เชื่อมโยงกับผู้ปลูกชามีไม่มากนัก ทำให้ปริมาณผลผลิตและการแปรรูปที่มีคุณภาพสูงมีไม่มาก ถึงแม้จะส่งออกไปยังหลายประเทศ แต่ชาท้ายเงวียนก็ยังจำหน่ายในรูปแบบของวัตถุดิบเป็นหลัก โดยมีราคาเฉลี่ยเพียงร้อยละ 60 ของราคาขายในตลาดโลก นาง เหงียนถิหง่า นายกสมาคมชาท้ายเงวียน กล่าวว่า เพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์ชาไปยังตลาดต่างประเทศ จำเป็นต้องควบคุมพื้นที่ปลูกชา การเพาะปลูกและกระบวนการเก็บใบชา
“ผู้ปลูกชาและสถานประกอบการที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับชาที่ได้มาตรฐาน OCOP มีความประสงค์ว่า ผลิตภัณฑ์ชาที่ได้มาตรฐาน OCOP จะได้รับการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ในตลาดที่ใหญ่ขึ้น และขยายพื้นที่ปลูกชาเพื่อรักษาและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น”
เพื่อให้อุตสาหกรรมชาบรรลุเป้าหมายรายได้ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเวลาที่จะถึง จังหวัดท้ายเงวียนจะผลักดันการช่วยเหลือสหกรณ์และสถานประกอบการในการดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการค้าและสนับสนุนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จนขณะนี้ ผลิตภัณฑ์ได้รับการยกระดับและมีบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมการบริโภคในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ จังหวัดท้ายเงวียนได้จัดโครงการฝึกอบรมต่าง ๆเพื่อแนะนำให้ผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐาน OCOP ใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและการ Livestream เพื่อแนะนำและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ นาย เหงียน มิงห์ เตี๊ยน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมสินค้าเกษตรของกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท เผยว่า
“เรากำลังส่งเสริมการใช้อีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เราจะลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ Tik tok Viettel post และโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการใช้อีคอมเมิร์ซสำหรับผลิตภัณฑ์ OCOP”
การสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่มีความผูกพันกับการบริโภคที่ปฏิบัติแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูก การดูแล การเก็บใบชา การเก็บรักษา การแปรรูป บรรจุภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการค้า อีกทั้งขยายพื้นที่ปลูกชา ยกระดับกระบวนการดูแลและการบรรลุมาตรฐานระดับชาติเพื่อมุ่งสู่การส่งออกกำลังเป็นแนวทางของอุตสาหกรรมชาท้ายเงวียนด้วยความมุ่งมั่นที่จะบรรลุรายได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้เร็วที่สุด.
Manh Phuong- Thu Hoa