ต้องการพลังขับเคลื่อนมากขึ้นเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2023
Thu Trang- Thu Hoa -  
(VOVWORLD) - “คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ก็ยังเป็นการเพิ่มขึ้นที่ต่ำที่สุดในช่วงปี 2011-2023” นี่คือข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ในรายงานสถิติเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของทบวงสถิติสังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ที่น่าสนใจคือ ดัชนีหลายตัวที่เป็นพลังขับเคลื่อนของเศรษฐกิจซึ่งมีอัตราการเติบโตที่น่าประทับใจมาเป็นเวลานาน เช่น เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การนำเข้าและส่งออกสินค้าต่างลดลง ดังนั้น เป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ที่ร้อยละ 6.5 ถือเป็นความท้าทาย และเวียดนามต้องมีพลังขับเคลื่อนมากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ในปี 2023
เป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2023 ที่ร้อยละ 6.5 ถือเป็นความท้าทาย |
การขยายตัวจีดีพีของเวียดนามในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ 2 ประเด็นคือ เศรษฐกิจเวียดนามได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากมูลค่าการส่งออกในไตรมาสแรกที่บรรลุประมาณ 7 หมื่น 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเกือบร้อยละ 12 มูลค่าการนำเข้าบรรลุประมาณกว่า 7 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.7 อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประเด็นที่ 2 คือ อัตราการเติบโตของจีดีพีสะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนของเศรษฐกิจในการบริหารกระแสเงินสด ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อตลาดตราสารหนี้ อุตสาหกรรมการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนั้น ยอดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่จดทะเบียนในเวียดนามจนถึงวันที่ 20 มีนาคมบรรลุ 5.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 38.8 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศบรรลุประมาณ 4.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วยังแสดงให้เห็นถึงความท้าทายต่อเศรษฐกิจในเวลาข้างหน้า เนื่องจากทุกภาคส่วนเหล่านี้ได้รับการถือว่า เป็นพลังเคลื่อนสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้น การบรรลุเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจที่ร้อยละ 6.5 ในปี 2023 จึงไม่ใช่เรื่องง่าย นาง เหงียนถิเฮือง อธิบดีทบวงสถิติของกระทรวงวางแผนและการลงทุน ได้แสดงความเห็นว่า
“การบรรลุเป้าหมายการเติบโตในปีนี้ที่ร้อยละ 6.5 นั้นเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งหมายความว่า การเติบโตในไตรมาสที่เหลือของปีนี้ต้องบรรลุกว่าร้อยละ 7-7.5 ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน ความต้องการจากหุ้นส่วนภายนอกลดลง อากาศแปรปรวน ภัยธรรมชาติและการปะทะทางทหารที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในโลก”
ถึงแม้จะประสบความยากลำบากและความท้าทายมากมาย แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจยังวิเคราะห์จุดเด่นเพื่อให้ชุมชนสถานประกอบการมีพลังขับเคลื่อนเพื่อมีส่วนร่วมต่อการขยายตัวด้านเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยถึงแม้เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลง แต่เวียดนามยังคงได้รับคำมั่นลงทุนจากสถานประกอบการขนาดใหญ่ระดับโลกและกลุ่มสถานประกอบการจากตลาดที่มีคุณภาพในยุโรปที่มีความประสงค์ย้ายฐานการลงทุนมายังเวียดนาม ข้าวเวียดนามกำลังมีชื่อเสียงในระดับโลก ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยรักษาความมั่นคงของอาหารภายในประเทศและมีส่วนร่วมต่อการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคเท่านั้น หากยังสร้างโอกาสเพื่อให้การส่งออกของเวียดนามเติบโตอีกด้วย ดร. เลยวีบิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจประเมินว่า
“ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกประสบอุปสรรค เรายังคงมีจุดเด่น เช่น ภาคการเกษตร ป่าไม้และการประมงที่ยังคงเติบโต อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการฟื้นฟูเป็นอย่างดี เงินลงทุนจากสังคมและภาครัฐยังคงเพิ่มขึ้นในระดับสูงเนื่องจากความพยายามเป็นอย่างมากของรัฐบาล นักลงทุนและผู้รับเหมา นอกจากนั้น ยอดค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภคและรายได้จากบริการยังคงเพิ่มขึ้นและเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจ ในสภาวการณ์ที่ภาคการผลิตและการแปรรูปลดลง แต่อัตราแรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีงานทำได้เพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานที่ลดลงนั้นได้แสดงให้เห็นว่า ภาคเศรษฐกิจที่ไม่ใช่เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจสามารถเป็นที่พึ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมหลักได้ เช่นการแปรรูป การผลิตและอุตสาหกรรมอื่นๆ”
นาง เหงียนถิเฮือง อธิบดีทบวงสถิติของกระทรวงวางแผนและการลงทุน (VGP) |
เพื่อให้เวียดนามค้ำประกันความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจและมีโอกาสเติบโตที่ดีในไตรมาสต่อๆ ไป นักเศรษฐศาสตร์ เจิ่นกวี๊ หัวหน้าสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามเสนอว่า
“รัฐบาลควรส่งเสริมการบริหารราคาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ เพื่อลดแรงกดดันต่อผู้บริโภคและสถานประกอบการ ส่วนสถานประกอบการต้องส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ปรับกระบวนการผลิตให้เหมาะสมและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเพื่อปฏิบัติเรื่องนี้ ต้องส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลเพื่อลดต้นทุน ภาครัฐยังต้องลงทุนในกิจกรรมที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี โลจิสติกส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นมาตรการในระยะยาวเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ”
จากมุมมองของนักธุรกิจและสถานประกอบการ นาย เหงียนวันเทิน ประธานสมาพันธ์สถานประกอบการขนาดกลางและขยาดย่อมเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า
“นโยบายหลังวิกฤตโควิด-19 เช่น นโยบายการคลังและธนาคารควรดำเนินต่อไปเพื่อเพิ่มพลังที่เข้มแข็งให้แก่สถานประกอบการ โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านการท่องเที่ยวควรขยายนโยบายยกเว้นวีซ่าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธนาคารต่างๆ กำลังเดินถูกทางแล้วคือลดอัตราดอกเบี้ยและควรขยายระยะเวลาการชำระหนี้และลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับอุตสาหกรรมที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ สามารถสรุปได้ว่า นโยบายเมื่อปลายปีที่แล้วและนโยบายในไตรมาสแรกปีนี้ต้องเหมือนกับนโยบายในไตรมาสหน้า”
องค์กรระหว่างประเทศกำลังมีการคาดการณ์ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2023 โดยคาดการณ์ว่า สภาวการณ์นี้จะยังคงส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะและความเชื่อมั่นจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจได้แสดงให้เห็นว่า ถ้าหากเศรษฐกิจสามารถส่งเสริมพลังที่เข้มแข็งที่มีอยู่ได้ การบริหารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและรัฐบาลมีความคล่องตัวมากขึ้นในการบริหารราคา ผลการผลิตและการประกอบธุรกิจในไตรมาสแรกยังคงเป็นพื้นฐานที่ดีเพื่อให้เวียดนามบรรลุเป้าหมายการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ในปีนี้.
Thu Trang- Thu Hoa