เน้นดึงดูดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมความได้เปรียบของ “ภูมิภาค” อย่างเต็มที่

(VOVWORLD) - การพัฒนาความเชื่อมโยง “ภูมิภาค” เป็นนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของพรรคและรัฐเพื่อใช้ประโยชน์และส่งเสริมศักยภาพและความได้เปรียบของ “ภูมิภาค” และท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ความมั่นคงและยกระดับชีวิตทั้งด้านวัตถุและจิตใจของประชาชน สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตและ “ภูมิภาค” ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่ สร้างห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกและสร้างพื้นที่การพัฒนาใหม่ให้แก่ประเทศ
เน้นดึงดูดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมความได้เปรียบของ “ภูมิภาค” อย่างเต็มที่ - ảnh 1ให้ความสนใจลงทุน ก่อสร้างใหม่หรือขยายศูนย์โลจิสติกส์ขนาดใหญ่ในไฮฟอง กว๋างนิงห์ ฮานอย หายเยืองและจังหวัดต่างๆที่มีศักยภาพ

 

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมและการต่างประเทศของเวียดนามโดยมีศูนย์กลางคือเมืองหลวงฮานอย ซึ่งเป็น 1 ใน 2 “หัวเรือ” ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่สำคัญของประเทศ ในเวลาที่ผ่านมา จากความเชื่อมโยง ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจ ท้องถิ่นบางแห่งในภูมิภาคได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ แต่ตามความเห็นของนาง เลเวียดงา รองอธิบดีกรมตลาดภายในประเทศของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งมากขึ้น ทางการปกครองท้องถิ่นในภูมิภาคต้องส่งเสริมความเชื่อมโยง

“เราเห็นว่า มีหลายด้านที่มีความเชื่อมโยงระดับภูมิภาคแต่ยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเต็มที่ เช่น เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงได้รับความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ โดยนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติมติที่ 1012 เมื่อปี 2015 เพื่อให้เขตนี้มีศูนย์โลจิสติกส์ระดับ 1 ซึ่งตั้งอยู่ในภาคเหนือของฮานอย ศูนย์โลจิสติกส์ระดับ 2 ตั้งอยู่ในภาคใต้ของฮานอย และจนถึงปี 2030 มีศูนย์โลจิสติกส์ที่มีพื้นที่ถึง 50 เฮกตาร์ที่เชื่อมโยงกับท่าเรือ และจากสนามบินไปยังท่าเรือในภูมิภาค แต่จนถึงขณะนี้ เรายังไม่มี ดังนั้น การดึงดูดการลงทุนในด้านนี้ต้องอาศัยความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นต่างๆ”

ปัจจุบัน เวียดนามได้แบ่งเขตเศรษฐกิจและสังคมตามลักษณะทางภูมิศาสตร์รวม 6 ภูมิภาค ได้แก่ เขตภูดอยและเขตเขาภาคเหนือ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ภาคกลางตอนบน ชายฝั่งภาคกลาง เขตเตยเงวียน เขตตะวันออกภาคใต้และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ในเวลาที่ผ่านมา ความเชื่อมโยงระดับภูมิภาคมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การประสานงานเพื่อจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ฟอรั่มระหว่างจังหวัดต่างๆในภาคกลาง การสร้างเว็ปไซต์ระดับภูมิภาคและการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระดับภูมิภาคและทวิภาคี นาย เจิ่นวันหาว ผู้อำนวยการสำนักงานพาณิชย์และอุตสาหกรรมจังหวัดหายเยืองได้แสดงความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีสาเหตุหลักจากความพยายามในการปรับปรุงกลไกการเชื่อมโยงระดับภูมิภาคของรัฐและรัฐบาลเวียดนาม แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเชื่อมโยงระดับภูมิภาคประสบผลสำเร็จ ท้องถิ่นและภูมิภาคต่างๆต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

ผมขอเสนอให้กระทรวง หน่วยงานส่วนกลาง จังหวัดและนครต่างๆ เน้นผลักดันการก่อสร้างโครงการด้านคมนาคมที่เชื่อมจังหวัดและนครต่างๆในภูมิภาคอย่างพร้อมเพรียงเพื่อผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค พัฒนาระเบียงอุตสาหกรรม เขตเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการ ให้ความสนใจลงทุนก่อสร้างหรือขยายศูนย์โลจิสติกส์ขนาดใหญ่ในนครไฮฟอง จังหวัดกว๋างนิงห์ หายเยือง และจังหวัดที่มีศักยภาพอื่น ๆ เพื่อก่อสร้างศูนย์โลจิสติกส์ พัฒนาและส่งเสริมความสามารถในการสนับสนุนกันและลดค่าใช้จ่ายให้แก่สถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาในภูมิภาค”

เน้นดึงดูดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมความได้เปรียบของ “ภูมิภาค” อย่างเต็มที่ - ảnh 2นครโฮจิมินห์และจังหวัด 6 แห่งในชายฝั่งทะเลในภาคกลางตอนใต้จะจัดตั้งสภาประสานงานความเชื่อมโยงภูมิภาค

รองศาสตราจารย์ ดร. เจิ่นดิ่งเทียน อดีตหัวหน้าสถาบันเศรษฐศาสตร์เวียดนามเผยว่า หลังจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อกันแล้ว เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างจริงจัง ต้องมีความร่วมมือของสถานประกอบการในท้องถิ่นต่างๆในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะ ต้องสร้างสภาที่ปรึกษาระดับภูมิภาคที่มีอำนาจและความเข้มแข็ง บวกกับกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อจัดกิจกรรมระหว่างท้องถิ่นต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม

นาง เหงียนถิบิ๊กหงอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้แสดงความเห็นว่า เพื่อให้การเชื่อมโยงระดับภูมิภาคประสบความสำเร็จและยั่งยืน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการจัดทำ ปรับปรุงกลไกและบรรยากาศการลงทุนในแต่ละท้องถิ่นและระหว่างภูมิภาคให้มีความสมบูรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการดึงดูดการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคให้มีความทันสมัย

“ทุกปี รัฐบาลออกมติเกี่ยวกับการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและประกอบธุรกิจ ดังนั้น เราจึงเสนอว่า ท้องถิ่นในภูมิภาคต้องเน้นปฏิบัติมติฉบับนี้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อปฏิรูประเบียบราชการ อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นฝ่ายรุกในการเชื่อมโยงและจัดการประชุมส่งเสริมการลงทุนระดับภูมิภาคเป็นประจำ จัดทำโครงการดึงดูดการลงทุนในรูปแบบความสัมพันธ์หุ้นส่วนภาครัฐและภาคเอกชนหรือ PPP ช่วงปี 2021-2030 บวกกับกลไกและนโยบายให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนเพื่อช่วยให้สถานประกอบการมีความเข้าใจและสร้างความมั่นใจในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน”

ปัจจุบัน เวียดนามกำลังเปลี่ยนแปลงใหม่รูปแบบการเติบโต ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การแสวงหาพื้นที่การพัฒนาระดับเขตและภูมิภาคจะช่วยสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่นมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด