เมืองท่าไฮฟองพยายามรักษาสถานะการเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ดึงดูดเงินเอฟดีไอมากที่สุดของเวียดนาม
Thu Hoa -  
(VOVWORLD) - ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างท้องถิ่นต่างๆในเขตสามเหลี่ยมฮานอย -ไฮฟอง -กว๋างนิง เมืองท่าไฮฟองกำลังปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่อรักษาสถานะการเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ เอฟดีไอมากที่สุดของเวียดนามในปี 2016
ท่าเรือขนถ่ายสินค้าเตินก๊างในท่าเรือไฮฟอง (Photo: baodautu.vn) |
รายงานของสำนักงานวางแผนและการลงทุนเมืองท่าไฮฟองระบุว่า ตั้งแต่ต้นปีมานี้ เมืองท่าไฮฟองสามารถดึงดูดเงินเอฟดีไอกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีโครงการใหม่ที่ได้รับใบรับรองการลงทุนรวม 47โครงการและมีโครงการที่เพิ่มเงินลงทุน35โครงการ โดยมีโครงการต่างๆของนักลงทุนจากประเทศและเศรษฐกิจใหญ่ๆที่มีการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างเข้มแข็ง
ก่อนหน้านั้น เมื่อปี 2016 เมืองท่าไฮฟองสามารถดึงดูดเงินเอฟดีไอได้เกือบ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดหนึ่งในท้องถิ่นที่อยู่แถวหน้าในการดึงดูดการลงทุน โดยมีโครงการที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น โครงการลงทุนของบริษัท LG Display มูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการลงทุนของบริษัท LG Innotek มูลค่า 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นาง เจิ่นถวี่จาง รองผู้อำนวยการใหญ่บริษัท Jasan เวียดนามจำกัดที่มีโรงงานผลิตถุงเท้าในเขตนิคมอุตสหกรรม Vsip ไฮฟองได้เผยว่า “จากการเริ่มต้นในช่วงแรกๆมาจนถึงปัจจุบัน ทางบริษัทฯไม่ได้ประสบอุปสรรคใดๆ ปัจจุบัน เรามีแรงงาน 1500 คนและกำลังวางแผนเพิ่มขึ้นเป็น 3000 คนในช่วงปลายปี 2018 ก่อนหน้านั้น โรงงานของบริษัท Jasan 1 ได้เริ่มการผลิตเมื่อปี 2015 โรงงานของบริษัท Jasan 2 เริ่มเปิดใช้งานเมื่อปี 2017 ส่วนโรงงานบริษัท Jasan 3 จะเริ่มดำเนินการในปี 2018 เรากำลังวางแผนขยายการลงทุนจาก 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบันขึ้นเป็น 120 ดอลลาร์สหรัฐในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งการเลือกเข้ามาลงทุนในเมืองท่าไฮฟองคือทางเลือกที่ถูกต้อง”
ปัจจุบัน มี 36 ประเทศและดินแดนที่มีโครงการลงทุนในเมืองท่าไฮฟอง โดยสาธารณรัฐเกาหลีคือนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด โดยมีโครงการลงทุน 100 โครงการ รวมยอดเงินทุนจดทะเบียน 5.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือญี่ปุ่นมีโครงการลงทุน 132 โครงการ รวมยอดเงินทุนจดทะเบียน 3.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจน เมืองท่าไฮฟองกำลังปฏิบัติมาตรการต่างๆอย่างสมบูรณ์และรอบด้านเพื่อดึงดูดการลงทุน เช่น ยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับการขยายตัวที่เป็นมิตรกับวิ่งแวดล้อมระยะปี 2014-2020 จัดสรรค์งบประมาณแผ่นดินให้แก่โครงการสำคัญๆ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ขยายเครือข่ายคมนาคมทั้งทางบก ทางนํ้า ทางรถไฟและทางอากาศที่เชื่อมระหว่างจังหวัดริมฝั่งทะเลทางภาคเหนือ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แก่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจดิ่งหวู – ก๊าดหายเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การดึงดูดการลงทุนในเวลาข้างหน้า
นอกจากนี้ เมืองท่าไฮฟองยังได้มีกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ เช่น กำหนดหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ด้านการลงทุนที่ประกอบด้วยนักลงทุนจากญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและสหรัฐ วางแนวทางการดึงดูดการลงทุนในด้านที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางเศรฐกิจสูงและเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก ซึ่งถือเป็นมาตรการที่ดีเพื่อช่วยให้เมืองท่าไฮฟองกลายเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตระดับโลก อีกทั้งสร้างเสถียรภาพให้แก่ตลาดรองรับสินค้าและดึงดูดเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นาย เลจุงเกียน ผู้อำนวยการสำนักงานวางแผนและการลงทุนเมืองท่าไฮฟองได้กล่าวถึงมาตรการปรับปรุงระเบียบการต่างๆว่า “เมืองท่าไฮฟองได้เลือกหัวข้อของปี 2017 คือ “ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจ” ดังนั้นจึงได้ผลักดันการปฏิรูประเบียบราชการและระเบียบการต่างๆเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตลงทุน การเวนคืนที่ดินและการเข้าถึงการเช่าที่ดินเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งมีนโยบายต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุน เช่น ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจ ยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากร ชี้นำให้หน่วยงานทุกระดับลดเวลาทำระเบียบราชการและยกเลิกข้อกำหนดที่ไม่เหมาะสม”
ทั้งนี้และทั้งนั้น จากการเปลี่ยนแปลงใหม่ระเบียบการต่างๆที่เอื้อให้แก่การส่งเสริมการลงทุนปรับปรุงบรรยากาศการประกอบธุรกิจและการยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากรของเมืองท่าไฮฟองได้แสดงให้เห็นว่า เมืองท่าไฮฟองกำลังพัฒนาอย่างเข้มแข็ง โดยไม่เพียงแต่เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายรักษาสถานะการเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ดึงดูดเงินเอฟดีไอมากที่สุดของเวียดนามเท่านั้น หากยังเพื่อการผสมผสานเข้ากับภูมิภาคและโลกตามความปรารถนาและความมุ่งมั่นทางการเมืองของทางการปกครองและประชาชนเมืองท่าไฮฟอง.
Thu Hoa