(VOVWORLD) - ในวันที่ 20 มกราคม นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐจะออกจากทำเนียบขาวอย่างเป็นทางการ โดยจะส่งมอบตำแหน่งผู้นำของสหรัฐให้แก่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ตามการประเมินของผู้เชี่ยวชาญหลายคน ภายหลัง 4 ปี นาย โจ ไบเดน ได้ช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐพัฒนา แต่ความสำเร็จด้านการต่างประเทศยังคงเป็นเรื่องที่สร้างความถกเถียงกัน
นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ (VOV/The White House) |
นาย โจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มกราคมปี 2021 และกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐ
ภาพรวมเศรษฐกิจที่สดใส
ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 10 มกราคม ณ ทำเนียบขาว ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้อ้างรายงานสถิติฉบับต่างๆโดยยืนยันว่า เขาได้ทำผลงานด้านเศรษฐกิจที่สดใสกว่าเมื่อ 4 ปีก่อน โดยในช่วง 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของนาย โจ ไบเดน สหรัฐได้สร้างงานทำเพิ่มอีก 16.6 ล้านตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้อัตราคนว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 4.1 นอกจากนี้ ทางการของนาย โจ ไบเดน ยังได้อนุมัติกฎหมายสำคัญหลายฉบับ ซึ่งได้รับการประเมินว่า เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจสหรัฐ เช่น กฎหมายมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐหรือ ARP กฎหมายลดอัตราเงินเฟ้อหรือ IRA และกฎหมาย Chip and Science Act หรือ CSA เป็นต้น ด้วยคำมั่นที่จะจัดงบสูงถึงนับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐได้ช่วยให้สหรัฐผลักดันการผลิตภายในประเทศ ดึงดูดเครือบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่และลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งปกป้องอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีหลักที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์
สถาบันการเงินและเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่สำคัญส่วนใหญ่มีการประเมินในเชิงบวกเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเมื่อวันที่ 10 มกราคม นาง คริสตาลินา จอร์จีวา ผู้อำนวยการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้ประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังขยายตัว “ดีกว่าที่คาดไว้” โดยมีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ในปีที่แล้ว และอาจอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ในโลก ส่วนตามรายงานที่เผยแพร่โดย Goldman Sachs Research เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วคาดว่า เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะมีการเติบโตเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นของนาย เจเรมี ซูริ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และการบริหารรัฐกิจจาก Lyndon B. Johnson School of Public Affairs หรือ LBJ สังกัดมหาวิทยาลัยเท็กซัส ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อแปรความสำเร็จทางเศรษฐกิจให้เป็นความได้เปรียบในการยกระดับสถานะทางการเมืองและชื่อเสียงให้แก่ตนเองและพรรคเดโมแครตในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเวลาที่ผ่านมา
เช่นเดียวกับความเห็นนี้ ศาสตราจารย์ นาเดีย บราวน์ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐ ได้แสดงความเห็นว่า ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของนาย ไบเดน ไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์ให้เป็นผลงานที่โดดเด่นและได้รับความสนใจจากชาวอเมริกันน้อยกว่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
“ดิฉันคิดว่า ยากที่จะยกย่องการปฏิรูปบางอย่างที่เขาผลักดัน เช่น กฎหมายมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และกฎหมายลดอัตราเงินเฟ้อ ดิฉันคิดว่า เขาจะถูกจดจำด้วยภาพการถอนตัวจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2024 กลางคัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่หลายคนเชื่อว่าทำให้ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐแทนเขาไม่ได้รับชัยชนะ”
ความสำเร็จด้านการต่างประเทศที่สร้างความถกเถียง
นอกจากเศรษฐกิจแล้ว การต่างประเทศยังเป็นอีกหนึ่งด้านที่สร้างนิมิตหมายของทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดน ซึ่งต่างจากวิธีการเข้าถึงแบบถอนตัวออกจากพันธกรณีระหว่างประเทศในช่วงดำรงตำแหน่งครั้งแรกของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ (2016-2020) ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสหรัฐต่อปัญหาระดับโลก ตั้งแต่การปะทะทางภูมิรัฐศาสตร์ไปจนถึงการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งถือการสร้างสรรค์และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรเป็นเสาหลักที่สำคัญในนโยบายการต่างประเทศ ในการกล่าวปราศรัยที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเมื่อวันที่ 13 มกราคม ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ยืนยันว่า แนวทางนี้ได้ช่วยให้สหรัฐกลับมามีบทบาทเป็นผู้นำในปัญหาระดับโลกหลายเรื่อง อีกทั้งสร้างความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนที่สำคัญๆ
“ก่อนที่ผมเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ มีประเทศพันธมิตร NATO เพียง 9 ประเทศเท่านั้นที่จ่ายเงินร้อยละ 2 ของ GDP ให้แก่งานด้านกลาโหม แต่ปัจจุบัน มีสูงถึง 23 ประเทศ ส่วนที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เราส่งเสริมความสัมพันธ์หุ้นส่วนที่แข็งแกร่งมากขึ้นและสร้างความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนใหม่ๆ เราได้ทำสิ่งที่มีไม่กี่คนคิดว่าสามารถทำได้ นั่นคือการสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนไตรภาคีระหว่างสหรัฐ ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี”
แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินความสำเร็จด้านการต่างประเทศของทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดน นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ตามความเห็นของศาสตราจารย์ นาเดีย บราวน์ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ถึงแม้จะมีก้าวเดินที่น่าจับตามองในการเสริมสร้างบทบาทของสหรัฐในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก แต่การเกิดการปะทะที่ใหญ่ที่สุดใน 2 สมรภูมิในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาในยูเครนและฉนวนกาซายังคงส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการประเมินสหรัฐในสมัยของนาย โจ ไบเดน โดยความพยายามในการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในฉนวนกาซาในช่วงวันสุดท้ายในสมัยของนาย โจ ไบเดน ได้แสดงให้เห็นว่า ทางการของนาย โจ ไบเดน ได้ประสบความล้มเหลวในปัญหานี้ ในขณะที่การปะทะในฉนวนกาซาได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อชาวปาเลสไตน์ ในขณะเดียวกัน สำหรับการปะทะในยูเครน การยึดมั่นสนับสนุนยูเครนและไม่ส่งเสริมความพยายามในการเจรจากับรัสเซียก็จะทำให้ ทางการชุดใหม่ประสบอุปสรรคในการแก้ปัญหานี้
สำหรับสถานะของสหรัฐในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลก ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยังยืนยันว่า เขาได้ส่งต่อประเทศสหรัฐที่แข็งแกร่งมากขึ้นให้แก่ทางการชุดใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อมั่นว่า “จุดแข็ง” เหล่านี้ อาจถูกลืมอย่างรวดเร็วเนื่องจากทางการชุดใหม่ของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้แสดงวิธีการเข้าถึงที่แตกต่างกันเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศสหรัฐ.