(VOVWORLD) -การประชุมครั้งที่ 68 สมัชชาใหญ่สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือ IAEAที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 16 -20 กันยายน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เน้นหารือถึงการผลักดันการประยุกต์ใช้นิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายสันติภาพและการพัฒนาแม้ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์และความเสี่ยงเกี่ยวกับการเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ในโลก
ภาพของการประชุม (Photo: IAEA) |
สมัชชาใหญ่ IAEA เป็นการประชุมประจำปีที่สำคัญที่สุดของ IAEA โดยใน ปีนี้มีการเข้าร่วมของเจ้าหน้าที่อาวุโสที่เป็นตัวแทนของ 178 ประเทศสมาชิก IAEA เพื่อหารือเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้องถึงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และภัยคุกคามต่อความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ในโลก
การใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านอาหาร สาธารณสุขและพลังงาน
ประเด็นเกี่ยวกับการผลักดันการประยุกต์ใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายสันติภาพถูกหยิบยกขึ้นมาหารือในวันแรกของการประชุมเมื่อวันที่ 16 กันยายน ในบทปราศรัยเปิดการประชุม นาย ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA ได้ประกาศแผนการปฏิบัติงานใหม่ให้แก่ความคิดริเริ่ม Atoms4Food (เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านอาหาร) ที่ IAEA ประสานงานกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ปฏิบัติตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว ตามความคิดริเริ่มดังกล่าว IAEA จะให้ความช่วยเหลือ FAO และหุ้นส่วนต่างๆในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการฉายรังสีอาหาร การกำจัดศัตรูพืช การเก็บรักษาอาหาร การวิจัยเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงที่ดิน เป็นต้น ซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตธัญญาหารในโลก รับมือกับความท้าทายต่างๆจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อด้านการเกษตร
อีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจของ IAEA คือการเพิ่มการใช้ประโยชน์ของพลังงานนิวเคลียร์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็ง โดยนอกรอบการประชุมสุดยอดสหภาพแอฟริกาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 IAEA พร้อมองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ประกาศความคิดริเริ่มที่มีชื่อว่า “ความหวัง” ที่เน้นช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาก่อสร้างศูนย์รังสีรักษา นับตั้งแต่ที่ปฏิบัติความคิดริเริ่มนี้ มี86 ประเทศได้ขอความช่วยเหลือจาก IAEA และมีการปฏิบัติโครงการต่างๆใน 30 ประเทศ จากความพยายามนี้ ประชาชนนับล้านคนในโลกได้รับการตรวจและรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และภาย ใน 5 วันของการประชุมสมัชชาใหญ่ IAEA คาดว่า มีประมาณ 2 แสนคนจะได้รับการตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรก นาย ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA ได้เผยว่า
“ความคิดริเริ่มนี้กำลังช่วยเหลือประเทศต่างๆในโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ ความช่วยเหลือของ IAEA ได้รับการปฏิบัติผ่านการจัดสรรอุปกรณ์ การฝึกอบรมและการก่อสร้างศูนย์รังสีรักษา ”
นอกจากธัญญาหารและสาธารณสุขแล้ว พลังงานก็เป็นอีกประเด็นที่ได้รับความสนใจของIAEA ในรายงาน “การพยากรณ์การผลิตพลังงาน ไฟฟ้าและพลังงานนิวเคลียร์จนถึงปี 2050” ที่ประกาศในวันแรกของการประชุม IAEA ได้พยากรณ์ว่า จนถึงปี 2050 พลังงานนิวเคลียร์จะพัฒนาในทั่วโลกและการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในโลกอาจบรรลุ 950 กิกะวัตต์ในปี 2050 เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งการขยายตัวนี้มาจากความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็กหรือSMRs ที่ใช้เวลาก่อสร้างไม่นานและใช้งานง่าย ตามผู้อำนวยการใหญ่ IAEA พลังงานนิวเคลียร์ได้รับการรับรองเป็นพลังงานสะอาด ปลอดภัยและนับวันมีหลายประเทศมีแผนการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ SMRs เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ดังนั้น IAEA จะจัดการประชุมนานาชาติครั้งแรกเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็ก SMRs และการประยุกต์ใช้ในระหว่างวันที่ 21 -25 ตุลาคมนี้ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยให้ความสนใจต่อการช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีนี้ให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา
นาย ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA (Photo:D. Calma/IAEA) |
ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์
นอกจากการหารือเกี่ยวกับการผลักดันการประยุกต์ใช้นิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายสันติภาพและการพัฒนา อีกหนึ่งประเด็นที่ดึงดูดความสนใจของบรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมคือความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ในโลกในสภาวการณ์ที่เกิดการปะทะและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค สำหรับจุดร้อนเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาคือ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งในยูเครน นาย ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA เผยว่า IAEA ได้ทำการตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ต่างๆในยูเครนกว่า 140 ครั้ง เมื่อเร็วๆนี้ นาย ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในจังหวัดเคิร์สต์ของรัสเซีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่เกิดการปะทะระหว่างกองกำลังรัสเซียกับยูเครน โดยยืนยันว่า ต้องปกป้องโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จากการโจมตีต่างๆ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ความช่วยเหลือ IAEA ในการค้ำประกันความปลอดภัยให้แก่โรงงานแห่งนี้
สำหรับโครงการด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน นาย ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA ได้แสดงความประสงค์ที่จะฟื้นฟูการหารือกับนาย มาซูด เปเซชเคียน ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านก่อนเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยตั้งความหวังว่า จะฟื้นฟูการหารือเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่ม P5+1 ก่อนที่มีการเปลี่ยนแปลงบนเวทีการเมืองสหรัฐ
“ผมมีความประสงค์ที่จะหารือกับประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านและรัฐบาลอิหร่านและธำรงความพยายามเพื่อค้ำประกันว่า โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านมีเป้าหมายเพื่อสันติภาพ เรายังคงต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆแต่ก็สามารถฟันฝ่าไปได้”
สำหรับปัญหาการไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์และลดความความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง IAEA ใกล้จะบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับซาอุดิอาระเบียเกี่ยวกับการปฏิบัติกลไกการตรวจสอบเป็นประจำและรอบด้านโรงงานนิวเคลียร์ในประเทศนี้นับตั้งแต่ปลายปีนี้ ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าเชิงบวกในสภาวการณ์ที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการที่ประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางกำลังยืนหยัดดำเนินโครงการนิวเคลียร์โดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสันติภาพ.