ขลุ่ยสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งจากมุมมองของนักวิชาการ

(VOVWORLD) - ในตลอด 37ปีที่ผ่านมา ดร.เจิ่นฮิวเซิน ได้จัดทำโครงการวิจัยชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในเขตเขาภาคเหนือเวียดาม รวมถึงชนเผ่าม้ง เช่น "การศึกษาเกี่ยวกับศาสนาและความเลื่อมใสของชนเผ่าม้ง" "วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งในจังหวัดลาวกาย - เอกลักษณ์ที่โดดเด่นและการเปลี่ยนแปลง" และ "วัฒนธรรมชนเผ่าม้ง" เป็นต้น ซึ่งเป็นเอกสารทางวิชาการที่มีคุณค่า ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามมีโอกาสพูดคุยกับดร.เจิ่นฮิวเซินเกี่ยวกับขลุ่ยที่สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งในชุมชนในปัจจุบัน
ขลุ่ยสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งจากมุมมองของนักวิชาการ - ảnh 1  ดร.เจิ่นฮิวเซิน

นักข่าว: ขอให้ดร.ช่วยแนะนำเกี่ยวกับบทบาทของขลุ่ยในชีวิตทางจิตใจของชนเผ่าม้งให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ

ดร.เจิ่นฮิวเซิน: ขลุ่ยคือเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง โดยชายหนุ่มชาวม้งมักจะเป่าขลุ่ยที่ให้เสียงก้องกังวาลและไพเราะเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกกับสาวที่ตนชอบ ซึ่งขลุ่ยสามารถเล่นเพลงพื้นเมืองของชาวม้งที่สื่อถึงบรรยากาศแห่งความลึกลับและแสนโรแมนติกของเขตเขา สำหรับประวัติความเป็นมาของขลุ่ยนั้น ก็มีเรื่องเล่าต่างๆ อย่างเช่น มีนกบินมายังเขตชุนชนชาวม้ง ทำให้ชาวบ้านสามารถปลูกต้นไม้ 3 ต้น รวมถึงต้นไผ่ป่องจึงนำต้นไผ่ป่องไปทำขลุ่ย ส่วนเรื่องเล่าอื่นๆก็มีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของขลุ่ย ความรักของคู่หนุ่มสาวและเชิดชูเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งเช่นกัน

นักข่าว: การทำและเป่าขลุ่ยของชนเผ่าม้งในสมัยก่อนกับปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างไร

ดร.เจิ่นฮิวเซิน: จำนวนผู้ที่สามารถทำและเป่าขลุ่ยกำลังลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนศตวรรษที่20 โดยขั้นตอนที่ยากที่สุดในการทำขลุ่ยคือการตัดลิ้นขลุ่ย ซึ่งตอนนี้เหลือช่างศิลป์อาวุโส 1-2 คนเท่านั้นที่สามารถทำได้ ขลุ่ยมีขายในตลาดนัดเขตเขาอำเภอบั๊กห่า ซีมากายและหว่างซูฝี่ จังหวัดลาวกายและอำเภอด่งวัน แหม่วหวากในจังหวัดห่ายาง นอกจากนี้ ชาวม้งยังเป่าขลุ่ยเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำนาทำไร่ ฉลองการเก็บเกี่ยวและในงานเทศกาลต่างๆ ส่วนในช่วงตรุษเต๊ต หนุ่มสาวจะนัดกันและเป่าขลุ่ย ปัจจุบัน ชาวม้งมักจะเป่าขลุ่ยในเทศกาลตรุษเต๊ตเพื่อแนะนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตนและรำลึกถึงรากเหง้า

ขลุ่ยสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งจากมุมมองของนักวิชาการ - ảnh 2ดร.เจิ่นฮิวเซินลงพื้นที่เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อย

นักข่าว: เหตุผลอะไรที่ทำให้ขลุ่ยไม่ได้รับความนิยมเหมือนในอดีตคะ

ดร.เจิ่นฮิวเซิน: ก่อนหน้านี้ ชายหนุ่มชาวม้งจะเป่าขลุ่ย ด่านโมย หรือ  จิ๊งหน่อง เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกกับสาวที่ตนชอบ แต่ตอนนี้ หนุ่มสาวสามารถทำความรู้จักและคุยกันผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์และสมาร์ทโฟน ซึ่งก็เหมือนหนุ่มชนเผ่ากิงห์ที่เมื่อก่อนเขียนจดหมายเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกกับสาวที่ตนชอบ แต่ตอนนี้ ไม่มีใครเขียนจดหมายแล้ว

ขลุ่ยสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งจากมุมมองของนักวิชาการ - ảnh 3กิจกรรมฉลองเทศกาลตรุษเต๊ตสำหรับนักศึกษาและเยาวชนชาวม้ง ณ มหาวิทยาลัยวันฮว้า โดยมีการออกบูธเพื่อขายชุดแต่งกายและเครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น ขลุ่ย

นักข่าว: ถ้าอย่างนั้น ก็หมายความว่า ขลุ่ยของชนเผ่าม้งกำลังเสี่ยงที่จะสูญหายไป ดร.มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้คะ

ดร.เจิ่นฮิวเซิน: ตอนนี้ มีแต่ช่างศิลป์อาวุโสที่อายุมากแล้วที่สามารถทำขลุ่ยได้ แต่ก็มีสัญญาณที่น่ายินดีว่า เยาวชนชาวม้งหลายคนที่กำลังศึกษาและทำงานในกรุงฮานอยชื่นชอบการเป่าขลุ่ย ส่วนในหมู่บ้านต่างๆ มีเยาวชนบางคนที่หลงใหลและทุ่มเทให้แก่การทำขลุ่ย จังหวัดหลายแห่ง มีกิจกรรมแนะนำและส่งเสริมให้โรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อยจัดตั้งสโมสรแสดงศิลปะ ส่วนที่หมู่บ้านต่างๆ ก็มีการจัดตั้งสโมสรดนตรีชนเผ่าม้ง ผมยังจำได้ว่า เมื่อ 5-7 ปีก่อน นักศึกษาชนเผ่าม้งในกรุงฮานอยได้จัดกิจกรรมฉลองเทศกาลตรุษเต๊ต ที่ มหาวิทยาลัยวันฮว้า เช่น กิจกรรมต่างๆในเทศกาลเก่าต่าว การฟ้อนรำและการเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมือง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เยาวชนชาวม้งชื่นชอบและมีความประสงค์ที่จะอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตน.

นักข่าว: ขอบคุณดร.เจิ่นฮิวเซินที่ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามนะคะ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด