บทเรียนเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือเขตแดนจากการสอนประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษ

(VOVworld) – ชาวเวียดนามในสมัยยุคศักดินา ต่างให้ความสนใจให้การศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ลูกหลานตระหนักได้ดีถึงอธิปไตยเหนือเขตแดนของประเทศ โดยในหนังสือสอนประวัติศาสตร์ต่างๆที่เป็นภาษาฮั่น-นมล้วนให้ความสนใจเป็นอับดับต้นๆต่อบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้

(VOVworld) – ชาวเวียดนามในสมัยยุคศักดินา ต่างให้ความสนใจให้การศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ลูกหลานตระหนักได้ดีถึงอธิปไตยเหนือเขตแดนของประเทศ โดยในหนังสือสอนประวัติศาสตร์ต่างๆที่เป็นภาษาฮั่น-นมล้วนให้ความสนใจเป็นอับดับต้นๆต่อบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้

บทเรียนเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือเขตแดนจากการสอนประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษ - ảnh 1
“เซอหอกเวิ้นเติน” (Photo ห้องสมุดแห่งชาติเวียดนาม)

ในหนังสือสอนประวัติศาสตร์เล่มต่างๆ เช่น บุ่ยยาฮ้วนห่ายหรือหนังสือสอนลูกหลานของตระกูลบุ่ยที่พิมพ์จำหน่ายเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 หนังสือ“เซอหอกเวิ้นเติน”หรือหนังสือสอนเรื่องที่เป็นพื้นฐานผ่านคำถามและคำตอบต่างๆและในหนังสือ เตี๋ยวหอกก๊วกสื่อเหลือกเบียนหรือหนังสือสอนประวัติศาสตร์ประเทศฉบับย่อที่พิมพ์จำหน่ายเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ต่างมีเนื้อหาเกี่ยวกับพรมแดนและดินแดนของเวียดนาม โดยเฉพาะในหนังสือ เตี๋ยวห่อกก๊วกสือเหลือกเบียนมีคำนิยามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ตราแผ่นดิน ประชากรและดินแดนของประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในแนวชายแดนและสถานปกครองตั้งแต่ยุคของบรรพกษัตริย์หุ่งจนถึงราชวงค์เหงวียน ส่วนในหนังสือ ก๋ายเลืองมงหอกก๊วกสือย้าวควาทือหรือหนังสือสอนประวัติศาสตร์ระดับประถมปีที่ 1 ของโรงเรียนดงกิงเหงียถุกก็ระบุถึงปัญหาชายแดนในยุคโบราณและประเทศเวียดนาม รวมทั้งหนังสือ 15 ชุดในสมัยบรรพกษัตริย์หุ่งและความคิดเห็นเกี่ยวกับการทวงคืนดินแดนในเขตชายแดนของบรรดากษัตริย์ที่ถูกราชวงศ์ชิงยึดครอง นายเฉิ่นกวางดึ๊กนักวิจัยภาษาฮั่น-นมเผยว่า “ไม่เพียงแต่ในตำราเรียนประวัติศาสตร์ของเด็กเท่านั้น หากหนังสือเล่มอื่นๆ เช่น บางยาวชี้ของฟานฮุยจู๊หรือแนวความคิดของกษัตริย์และขุนนางเวียดนามในสมัยราชวงศ์ลี๊ เฉิ่น เล เหงวียนต่างก็ให้ความสำคัญถึงปัญหาชายแดนและอาณาเขต โดยเฉพาะกษัตริย์เลแท้งตงห์เคยตรัสว่า ต้องรักษาดินแดนทุกตารางนิ้วไว้ให้ได้ ส่วนในสมัยราชวงค์หลีก็ได้ทำสงครามปราบปรามศัตรซุงของจีนเพื่อทวงคืนดินแดนหลังจากการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทูตประสบความล้มเหลว ซึ่งนี่คือแนวความคิดที่เสมอต้นเสมอปลายของบรรพกษัตริย์เวียดนาม
สำหรับในสมัยราชวงศ์เหงวียนนอกจากให้ความสำคัญถึงปัญหาชายแดนแล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับทะเลและเกาะแก่งก็ได้รับการระบุอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยในหนังสือสอนประวัติศาสตร์ที่เป็นภาษาฮั่น-นมได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือน่านน้ำของเวียดนาม โดยเฉพาะหมู่เกาะสองแห่งคือเจื่องซาหรือเสปรตลี่และหว่างซาหรือพาราเซล ตัวอย่างเช่น หนังสือขายด่งทวี๊ยดเอื๊อก ซึ่งเป็นหนังสือที่สรุปเนื้อหาสำหรับเด็กที่พิมพ์จำหน่ายเมื่อปี 1881เกี่ยวกับความรู้ด้านสังคม ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ เช่น บุคคลสำคัญและรัชศกของประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะในเล่มแรกของหนังสือนี้ได้แนบแผนที่เกี่ยวกับเขตแดนทางบกและทางทะเล เช่น เขตแดนห่งด่าม ซึ่งคือเกาะจำนวนหนึ่งในอ่าวทะเลตะวันออกและหว่างซาฉือคือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซล  รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์เหงวียนต๊าญี้ สถาบันวิจัยภาษาฮั่น –นมอธิบายเพิ่มเติมว่า “ขายด่งเทวียดเอื๊อกมีข้อมูลย่อเพื่อปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กๆ เพราะไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้น หากเด็กๆก็ต้องให้ความสนใจถึงเรื่องอธิปไตยเหนือเขตแดน หนังสือเล่มนี้โดยวิทยากรชาวฮานอยเรียบเรียงตั้งแต่ปี 1881 และในเวลาเดียวกัน ประเทศจีนก็มีหนังสือตำราเรียนสำหรับเด็ก ซึ่งก็มีแผนที่ประกอบโดยระบุว่าเขตดินแดนของจีนถึงเกาะไหหลำเท่านั้น
บทเรียนเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือเขตแดนจากการสอนประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษ - ảnh 2
ขายด่งทวี๊ยดเอื๊อก (Photo ห้องสมุดแห่งชาติเวียดนาม)

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและการพัฒนาของหนังสือสอนประวัติศาสตร์ของเวียดนามที่เป็นภาษาฮั่น – นมสันนิษฐานว่าเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 โดยกลุ่มแรกที่มีการพิมพ์คือหนังสือบุ่ยยาฮ้วนห่ายจนถึงช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ก็มีการพิมพ์หนังสือคว้าญีเตี๋ยวหยานตื๊อตื๋อก๊วกเอิมเท้หรือหนังสือสอนภาษาเวียดนามสำหรับเด็ ส่วนการเรียนจะแบ่งเป็นสามระดับ คือ อนุบาล ประถมและมัธยม หนังสือประวัติศาสตร์เขียนเป็นบทร้อยแก้วและร้อยกรองจำง่ายเพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนของเวียดนามอย่างสมบูณร์
ไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมเพิ่มความรู้ด้านประวัติศาสตร์ให้นักเรียนเท่านั้น แต่หนังสือสอนประวัติศาสตร์ต่างๆที่เขียนเป็นภาษาฮั่น – นมยังเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าอีกด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันอธิปไตยเหนือดินแดนในยุคต่างๆของเวียดนาม ทั้งนี้เป็นหลักฐานปฏิเสธทัศนะของจีนว่า จีนมีหลักฐานยืนยันอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งเป็นเวลากว่า 2000 ปีและเป็นข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกับหนังสือสอนประวัติศาสตร์ของจีนในยุคเดียวกัน รองศาสตรจารย์ ดอกเตอร์เฉิ่งคักแหมง อดีตหัวหน้าสถาบับวิจัยภาษาฮั่น – นมยืนยันว่า “แผนที่ของจีนที่ตีพิมพ์ต้นศตวรรษที่ 20 ต่างระบุว่า ขอบเขตชายแดนของจีนถึงเกาะไหหลำเท่านั้น ผมมีหนังสือตำราเรียนของจีนระดับประถมที่พิมพ์จำหน่ายเมื่อปี 1912 และในภาคส่วนเกี่ยวกับแผนที่ที่สอนให้เด็กๆของหนังสือเล่มนี้เขียนว่า ชายแดนของจีนถึงเกาะไหหลำเท่านั้น
จนถึงขณะนี้ พร้อมกับแผนที่ หนังสือราชการ รวมทั้งหนังสือ Chau ban trieu Nguyen หรือหนังสือราชการของราชวงศ์เหงวียน  หนังสือเอกสารโบราณ วรรณกรรมและบทกวีและหนังสือข้อมูลภาษาฮั่น - นมยังคงยืนยันเกี่ยวกับอธิปไตยของเวียดนาม หนังสือสอนประวัติศาสตร์ที่เขียนด้วยภาษาฮั่น - นมได้สะท้อนแนวความคิดของบรรพบุรุษเวียดนามเกี่ยวกับอธิปไตยของประเทศชาติอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด