บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕ – การมองแห่งมนุษยศาสตร์จากฝ่ายชนะ

( VOVworld )-บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕ คือชื่อของนวนิยายประวัติศาสตร์ของนักข่าวเจิ่นมายแห่งที่ได้ออกสู่สายตาผู้อ่านเมื่อไม่นานมานี้ เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในนวนิยายเล่มนี้ทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงสถานการณ์ที่ร้อนแรงในช่วงวันสุดท้ายของสงครามกอบกู้เอกราชมาให้แก่ประเทศของคนเวียดนาม  นวนิยายเรื่องนี้สะท้อนมุมมองของนักข่าวและผู้อยู่ในเหตุการณ์ในระยะหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ปวดร้าวแต่หาญกล้าของประชาชนเวียดนามอย่างมีความยุติธรรม


( VOVworld )-บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕ คือชื่อของนวนิยายประวัติศาสตร์ของนักข่าวเจิ่นมายแห่งที่ได้ออกสู่สายตาผู้อ่านเมื่อไม่นานมานี้ เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในนวนิยายเล่มนี้ทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงสถานการณ์ที่ร้อนแรงในช่วงวันสุดท้ายของสงครามกอบกู้เอกราชมาให้แก่ประเทศของคนเวียดนาม  นวนิยายเรื่องนี้สะท้อนมุมมองของนักข่าวและผู้อยู่ในเหตุการณ์ในระยะหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ปวดร้าวแต่หาญกล้าของประชาชนเวียดนามอย่างมีความยุติธรรม

บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕   – การมองแห่งมนุษยศาสตร์จากฝ่ายชนะ - ảnh 1
หน้าปกนวนิยายบันทึก๑-๒-๓-๔.๗๕

นวนิยาย บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕ เล่าเรื่องเกี่ยวกับช่วงเวลา ๔ เดือนสุดท้ายของทางการเหงวียนวันเถี่ยวคือ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน  กวีหิวถิ่ง นายกสมาคมนักเขียนเวียดนามให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับนวนิยายเล่มประวัติศาสตร์นี้ว่า นักข่าวเจิ่นมายแห่งสามารถวาดภาพความล่มสลายและรูปภาพของนายพลได้เกือบทุกนายและชะตากรรมของผู้นำรัฐบาลไซ่ง่อนในสมัยนั้นในช่วงเวลา ๔ เดือนสุดท้ายของสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาเพื่อกอบกู้เอกราชมาให้แก่ประเทศของกองทัพและประชาชนเวียดนามภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ผู้เขียนเจิ่นมายแห่งเคยเป็นผู้สื่อข่าวภาคสนามในสมรภูมิภาคใต้เวียดนามของสำนักข่าวเวียดนาม  ตั้งแต่ต้นปีค.ศ.๑๙๗๕ ท่านได้ติดตามเหล่าทหารสายหลักเดินทัพไปปลดปล่อยนครและตัวเมืองหลายแห่งจากกรุงเก่าเว้ถึงนครไซ่ง่อนและได้อยู่ในเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์เมื่อเที่ยงวันที่ ๓๐ เมษายนค.ศ.๑๙๗๕ ณ ทำเนียบเอกราช  ซึ่งถือเป็นความโชคดีที่ทำให้ท่านสามารถเขียนนวนิยาย บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕ แห่งประวัติศาสตร์นี้  ท่านเจิ่นมายแห่งเล่าว่า  “ ไอเดียที่จะเขียนนวนิยายนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่นาทีแรกที่ไซง่อนได้รับการปลดปล่อยเพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น ผมจึงจดทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเห็น เมื่อขึ้นชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า บันทึกก็หมายความว่าต้องเขียนด้วยความซื่อสัตย์  เป็นเหตุการณ์ที่ได้ผ่านพ้นไปแล้วแต่ก็ยังเป็นของทุกวันนี้

นักข่าวเจิ่นมายแห่งได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสแห่งประวัติศาสตร์นี้เพื่อจดทุกอย่างที่พบเห็นและหาข้อมูลกับเอกสารลับต้นฉบับเกี่ยวกับสงครามจากฝ่ายตรงข้าม  แม้จะตั้งใจเขียนนวนิยายแห่งประวัติศาสตร์นี้มานานแต่ต้องใช้เวลานานเกือบ ๔๐ ปี ผลงานหนา ๕๐๐ หน้ากระดาษประกอบด้วย ๑๙ ภาคที่มีหัวเรื่องว่า บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕ จึงได้มีโอกาสออกสู่สายตาผู้อ่านเพราะผู้เขียนต้องครุ่นคิด เลือกข้อมูลและมีการมองที่สุขุมเยือกเย็นและมีความเป็นกลางของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แห่งประวัติศาสตร์ ผู้เขียนเจิ่นมาแห่งกล่าวว่า “ ปี ๒๐๑๒ ผมนำผลงานมาเขียนใหม่  ผมโชคดีมากที่ไม่ให้ตีพิมพ์ผลงานนี้เมื่อปี ๒๐๐๒ เพราะขณะนั้นผมเขียนผลงานในฐานะฝ่ายชนะมองฝ่ายแพ้ หลังจากนั้น ๑๐ปี ที่ทำการเขียนใหม่ผมมีการมองที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง  เพราะเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาได้ปรับความสัมพันธ์เป็นปรกติและเป็นหุ้นส่วนในทุกด้าน  ผมผ่านสงครามมาอย่างโชกโชนและรู้สึกปวดร้าวจึงเห็นใจต่อคนและสถานการณ์ดังนั้นจึงมีการมองสถานการณ์แห่งมนุษยศาสตร์มากขึ้น  ทั้งนี้ทำให้ผมสามารถเขียนเหตุการณ์แห่งประวัติศาสตร์นี้ด้วยภาษาวรรณกรรมที่สุขุมรอบคอบ ให้ความเคารพต่อสภาพชีวิตของนายพลฝ่ายตรงข้าม ข้อมูลเป็นข้อมูลเก่า และผลงานยังเขียนไม่จบผมจึงรื้อออกทั้งหมดและเขียนใหม่ด้วยการมองใหม่

บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕   – การมองแห่งมนุษยศาสตร์จากฝ่ายชนะ - ảnh 2
นักข่าวTran Mai Hanh ณ ทำเนียบเอกราชเช้าวันที๗พฤษภาคม๑๙๗๕

นวนิยายบันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕ ตีพิมพ์อีกครั้งในปี ๒๐๑๕โดยสำนักพิมพ์การเมืองแห่งชาติและความจริงซึ่งได้มีข้อมูลเพิ่มเติม ๒๑ ข้อมูลจากจำนวนเอกสารข้อมูลที่ผู้เขียนได้เก็บรักษาไว้หลังวันที่ ๓๐ เมษายนค.ศ.๑๙๗๕ แต่การจัดทำ ตัวอักษรย่อและคำศัพท์ภาษาอังกฤษยังคงไว้เหมือนต้นฉบับ  นับเป็นเอกสารข้อมูลต้นฉบับที่ทรงคุณค่าจากจำนวนข้อมูลต้นฉบับลับเกี่ยวกับสงครามจากฝ่ายตรงข้ามที่ผู้เขียนค้นพบและเก็บรักษาอย่างดี  นักข่าวเจิ่นมายแห่งคุยว่า  “ ผมเลือกข้อมูลเอกสาร ๒๑ ฉบับเพราะเป็นข้อมูลภาพรวม โดยมีโทรเลข ๔ ข้อความที่ประธานาธิบดีนิกสันส่งให้ประธานาธิบดีเหงวียนวันเถี่ยวของทางการไซ่ง่อนเมื่อเดือนมกราคมค.ศ.๑๙๗๓ที่กล่าวถึงการลงนามข้อตกลงปารีสที่เขาต้องทำ อันเป็นการยืนยันว่า ชัยชนะของเวียดนามเป็นสิ่งที่ไม่อาจพลิกกลับได้ แม้ทางการไซ่ง่อนจะเรียกร้องความช่วยเหลือแต่สหรัฐไม่อาจส่งทหารมาได้อีก  ต้องถอนทหารออกจากภาคใต้เวียดนามและยอมรับกองทัพภาคเหนือ และโทรเลข ๔ ครั้งของประธานาธิบดีเจรน ฟอร์ที่ส่งให้นายเหงวียนวันเถี่ยว อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายสหรัฐอเมริกาไม่สามารถแทรกแทรงภาคใต้เวียดนามได้อีกแล้ว เอกสารฉบับที่ ๓ คือ การตัดสินใจและแนวทางของฝ่ายสาธารณรัฐเวียดนามที่ระบุถึงความพ่ายแพ้

หนังสือของนักข่าวเจิ่นมายแห่งได้รับการชื่นชมจากผู้อ่านว่า ประสบความสำเร็จในการใช้ข้อมูลที่มีมหาศาล  ส่วนในด้านวิจิตศิลป์นั้น นักเขียนบุ่ยเหวียดทั้งเห็นว่า บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕  เป็นผลงานที่มีความเป็นวรรณกรรมโดยสร้างตัวละครด้วยวิธีการบรรยายตัวละครอย่างใกล้ชิด  นักเขียนบุ่ยเหวียดทั้งกล่าวว่า  “ วิธีการเขียนนวนิยายนั้นต้องมีความเร้าใจผู้อ่านเพราะการอ่านนวนิยายเหมือนการวิ่งมาราธอนระยะทาง ๔ กิโลเมตร  ดังนั้นต้องหาจุดเริ่มต้น  นักเขียนเจิ่นมายแห่งสามารถเลือกจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมคือ หลังจากชัยชนะที่เฟือกลองและเทศกาลคริสต์มาสครั้งสุดท้ายของทางการสาธารณรัฐเวียดนามเดือนธันวาคมค.ศ.๑๙๗๔ที่เป็นภาพที่เศร้าโศก อันเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการล่มสลายของระบอบสาธารณรัฐเวียดนามอย่างแน่นอนในเดือนต่อๆไป

นวนิยาย บันทึกสงคราม๑-๒-๓-๔.๗๕ ได้รับรางวัลวรรณกรรมปี ๒๐๑๔ ของสมาคมนักเขียนเวียดนาม นับเป็นของขวัญที่นำความสุขมาสู่ผู้เขียนเจิ่นมายแห่ง ท่านจะมีความมั่นใจในด้านวรรณกรรมต่อไป เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของพลเมืองและนักเขียนที่มีความรับผิดชอบคนหนึ่งของประเทศ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด