สถานประกอบการด้านจักรกลเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อการพัฒนา

(VOVWORLD) - รัฐบาลเวียดนามถือการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเป็นเป้าหมายสำคัญในภารกิจการพัฒนาประเทศ ซึ่งเพื่อปฏิบัติเป้าหมายดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือต้องพัฒนาอุตสาหกรรมจักรกลในการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์พัฒนาอุตสาหกรรมจักรกลในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า แม้ภาคอุตสาหกรรมจักรกลได้ประสบความคืบหน้าในบางส่วนในเวลาที่ผ่านมา  แต่ยังคงมีปัญหาต่างๆที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น ขอบเขตของสถานประกอบการและทักษะด้านเทคนิคของผู้ใช้แรงงาน ส่วนสถานประกอบการด้านจักรกลได้มีมาตรการอะไรเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คุณผู้ฟังสามารถหาคำตอบได้ผ่านบทความเรื่อง สถานประกอบการด้านจักรกลเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อการพัฒนา

 สถานประกอบการด้านจักรกลเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อการพัฒนา - ảnh 1บูธของบริษัท Vinalift ในงานนิทรรการ ณ กรุงฮานอย

บริษัทอุปกรณ์อุตสาหกรรมและการศึกษาเตินเตี๊ยนจำกัด หรือ AIE คือสถานประกอบการขนาดย่อมที่มีแรงงานตํ่ากว่า 50 คนและมีเงินลงทุนจดทะเบียน 5 พันล้านด่ง หรือประมาณ 7 ล้านบาท เป็นตัวแทนจำหน่าย ทำการวิจัยและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยของเวียดนามเพื่อถ่ายทอดให้แก่บริษัทต่างชาติและบริษัทต่างๆในเวียดนาม โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติ นาย หว่างดึ๊กบั่ง ผู้อำนวยการบริษัท AIE ได้เผยว่า ในอีก 2 – 5 ปีข้างหน้า แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติ ในการผลิตอุตสาหกรรมในเวียดนามจะเพิ่มมากขึ้น

“ในอนาคต การใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติ แทนวิธีการผลิตแบบเก่าจะนับวันเพิ่มมากขึ้นเพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย และสามารถผลิตสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ก่อนหน้านั้น เทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติ ถูกนำมาใช้ผลิตสิ่งของเท่านั้น แต่ปัจจุบัน สามารถใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติ ด้วยวัสดุโลหะและจะมีการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติในการผลิตอุตสาหกรรมจักรกลในเวลาข้างหน้า”

ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บริษัท AIE มีรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ตามทันแนวโน้มการพัฒนาของเทคโนโลยีโลก แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่บริษัท AIE และสถานประกอบการด้านจักรกลส่วนใหญ่ของเวียดนามกำลังต้องเผชิญคือขนาดของสถานประอบการ โดยมีสถานประกอบการร้อยละ 99.3คือสถานประกอบการขนาดย่อมที่มีเงินลงทุนจดทะเบียน ตํ่ากว่า 2 หมื่นล้านด่ง หรือ ประมาณ 29 ล้านบาท มีแรงงาน 1-200 คน และสถานประกอบการขนาดกลางที่มีเงินลงทุนจดทะเบียน ตํ่ากว่า 1แสนล้านด่ง หรือ ประมาณ 146 ล้านบาท มีแรงงาน 51- 300 คน ส่วนสถานประกอบการที่เหลือที่มีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 จากจำนวนสถานประกอบการทั้งหมดเกือบ 1 หมื่น 5 พันแห่งนั้น มีสถานประกอบการ 12 แห่งที่มีแรงงานมากกว่า 5 พันคนและสถานประกอบการ 116 แห่งที่มีแรงงานมากกว่า 1 พันคน สำหรับสถานประกอบการที่มีเงินลงทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 หมื่นล้านด่ง มีเกือบ 100 แห่ง ซึ่งการเป็นสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมได้สร้างอุปสรรคในการพัฒนาเทคโนโลยีตามแนวโน้มการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 และการเข้าร่วมการประมูลโครงการที่สำคัญๆในขณะที่ประเทศต่างๆได้พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตอุตสาหกรรมมาแล้วหลายสิบปี นาย ฝ่ามหุ่ง รองประธานสมาคมสถานประกอบการด้านจักลรกลเวียดนามได้เผยว่า“ในทางเป็นจริง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือการต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีในหลายด้านที่ได้เกิดขึ้นในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก ที่มีการให้กำเนิดเครื่องจักรไอน้ำ  การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 มีการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า  และ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น เวียดนามต้องสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมก่อนการพัฒนาตามแนวโน้มการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  พร้อมทั้งต้องร่วมมือกับสถานประกอบการต่างชาติเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี”

จากการเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว สถานประกอบการบางแห่งของเวียดนามได้ร่วมมือกับสถานประกอบการต่างชาติเพื่อใช้ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ บริษัทหุ้นส่วนโครงเหล็กและเครื่องยกของเวียดนาม หรือ Vinalift คือหนึ่งในบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงกับบริษัทต่างชาติ แม้จะมีแรงงาน 180 คนและมีเงินทุนจดทะเบียนแค่ 2 หมื่นล้านด่ง หรือ ประมาณ 29 ล้านบาท แต่ Vinalift  ไม่เพียงแต่สามารถลงนามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ให้แก่บริษัทใหญ่ๆ เช่น ฮุนได แดวูและซีเมนส์เท่านั้น หากยังสามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเข้มแข็ง เช่น เม็กซิโกและดูไบ นาย เจิ่มวันต๊วน ผู้อำนวยการบริษัท Vinalift ได้เผยว่า“เมื่อสถานประกอบการญี่ปุ่นสั่งซื้ออุปกรณ์จาก Vinalift  พวกเขาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบคุณภาพในการผลิตอุปกรณ์ ซึ่งทางบริษัทเห็นว่า ต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการบริหาร โดยได้จ้างผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นมาช่วยบริหารโรงงาน พร้อมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์ในการผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้าระหว่างประเทศ”

บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมจักรกลได้ประเมินว่า มาตรการดังกล่าวของบริษัท Vinalift คือมาตรการที่ถูกต้องและเป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อให้สถานประกอบการอื่นๆปฏิบัติตาม นาย เหงวียนวันถุ ประธานสมาคมสถานประกอบการด้านจักรกลเวียดนามได้เผยว่า“เมื่อ 3 ปีก่อน บริษัท Vinalift มีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย แต่คณะผู้บริหารบริษัทได้มีแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้อง โดยเน้นลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากร แม้จะเป็นสถานประกอบการขนาดย่อม แต่ก็ได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นมาช่วยบริหารจัดการการผลิตและแนะนำหุ้นส่วนต่างๆให้แก่สถานประกอบการ ซึ่งช่วยสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่การพัฒนาสถานประกอบการ”

จากการมีแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้องและความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งของสถานประกอบการด้านจักรกล อย่าง Vinalift และ AIE  ได้ช่วยให้สถานประกอบการเหล่านี้ประสบความสำเร็จในบางส่วนและมีส่วนร่วมปฏิบัติเป้าหมายของอุตสาหกรรมจักรกลคือ จนถึงปี 2025 อุตสาหกรรมจักรกลเวียดนามจะพยายามยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาในการผสมผสาน มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้าร่วมห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกในบางส่วน ตอบสนองความต้องการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยและการส่งออก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด