สถานีวิทยุเวียดนามฝ่าห่ากระสุนระเบิด ส่งเสียงพูดแห่งความเที่ยงธรรมเข้าถึงประชาชนในทั่วโลก

(VOVWORLD) - เมื่อเดือนธันวาคมปี 1972 พร้อมกับกองทัพและประชาชนทั่วประเทศที่มุ่งมั่นตั้งใจทำลายการโจมตีทางอากาศเชิงยุทธศาสตร์ของฝูงบิน B52 ของสหรัฐในกรุงฮานอยและจังหวัดและนครต่างๆในภาคเหนือ สถานีวิทยุเวียดนามได้พยายามนำเสียงพูดแห่งความยุติธรรมและความคาดหวังเกี่ยวกับสันติภาพของเวียดนามมาสู่ประชาชนประเทศต่างๆในทั่วโลกท่ามกลางห่ากระสุนและระเบิด 
สถานีวิทยุเวียดนามฝ่าห่ากระสุนระเบิด  ส่งเสียงพูดแห่งความเที่ยงธรรมเข้าถึงประชาชนในทั่วโลก - ảnh 1สถานีรับส่งสัญญาณ เหมจี่ ในสังกัดสถานีวิทยุเวียดนามตกเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการโจมตีอย่างดุเดือดของสหรัฐอเมริกา

ในโอกาสรำลึกครบรอบ 50 ปีชัยชนะฮานอย-เดียนเบียนฟูกลางเวหา ของเชิญท่านฟังบทความเกี่ยวกับความมุ่งมั่นตั้งใจและความกล้าหาญของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักข่าว บรรณาธิการ ช่างเทคนิคและศิลปินของสถานีวิทยุเวียดนามที่ตั้งหลักที่กรุงฮานอยเพื่อปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ทุกรายการกระจายเสียงได้รับการออกอากาศอย่างต่อเนื่องไม่ติดขัดในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของประชาชาติเมื่อ 50ปีก่อน

เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเจรจา ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปี 1972 สหรัฐได้เปิดการโจมตีทางอากาศยุทธศาสตร์ใส่กรุงฮานอย เมืองท่าไฮฟองและท้องถิ่นต่างๆในภาคเหนือ โดยในระหว่างวันที่ 18 – 29 ธันวาคมปี 1972 สหรัฐได้เปิดยุทธนาการ “ Linebacker II” ที่ใช้ฝูงบิน B52  ทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายและสถานที่ที่สำคัญในกรุงฮานอย  รวมถึงสถานีรับส่งสัญญาณ เหมจี่ในสังกัดสถานีวิทยุเวียดนามเพื่อมุ่งทำลายโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของกรุงฮานอยและท้องถิ่นต่างๆในภาคเหนือ อีกทั้งทำลายสัญญาณคลื่นวิทยุของเวียดนาม แต่แผนการดังกล่าวได้ประสบความล้มเหลวเพราะด้วยจิตใจแห่งการต่อสู้ ปักใจรบปักใจชนะของกองทัพและประชาชนทั่วประเทศ สถานีวิทยุเวียดนามได้ฝ่าฟันอุปสรรคทั้งปวงเพื่อให้ทุกรายการกระจายเสียงได้รับการออกอากาศอย่างสม่ำเสมอไม่ติดขัดเพื่อนำเสียงพูดแห่งความเที่ยงธรรมและความคาดหวังเกี่ยวกับสันติภาพของเวียดนามมาถึงประชาชนประเทศต่างๆในทั่วโลก นาย Susanto ซึ่งชื่อเวียดนามคือเลวันเถาะ เป็นผู้เชี่ยวชาญของรายการภาคภาษาอินโดนีเซียของส่วนกระจายเสียงต่างประเทศของสถานีวิทยุเวียดนามมาตั้งแต่ปี 1971 ได้เผยว่า

“เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี 1972 ทางสถานีวิทยุเวียดนามได้ช่วยเหลืออพยพเจ้าหน้าที่พนักงานไปที่อำเภอก๊วกวาย รวมถึงครอบครัวผมเพราะสหรัฐได้เริ่มการโจมตีทางอากาศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ซึ่งในตอนนั้น เจ้าหน้าที่ภาคภาษาอินโดนีเซียได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยเจ้าหน้าที่ 2 คนรับหน้าที่อยู่ปักหลักอยู่ที่กรุงฮานอยเพื่อรอรับข่าวและอ่านข่าวจากห้องส่ง ส่วนเจ้าหน้าที่ที่เหลือต้องแปลข่าว บทวิเคราะห์และบทความต่างๆที่อำเภอก๊วกวาย ผมยังจำได้ว่า สหรัฐได้ส่งฝูงบิน B-52 มาทิ้งระเบิดถล่มกรุงฮานอยอย่างหนักทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่การโจมตีจากระเบิดทำให้ท้องฟ้าสว่างไม่ต่างจากช่วงกลางวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่และพนักงานของสถานีวิทยุเวียดนามทุกคนต่างพยายามฟันฝ่าความยากลำบาก ซึ่งถึงแม้มีข่าวสถานีรับส่งสัญญาณเหมจี่ถูกทิ้งระเบิดใส่ แต่ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศก็ยังคงดำเนินการตามปกติ”

 การที่ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักข่าว บรรณาธิการ ช่างเทคนิคและศิลปินของสถานีวิทยุเวียดนามไม่หวาดกลัว ไม่ย่อท้อและตั้งหลักที่กรุงฮานอยเพื่อให้ทุกรายการกระจายเสียงได้รับการออกอากาศอย่างสม่ำเสมอไม่ติดขัดภายใต้ห่ากระสุนระเบิดของศัตรูแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ในการปฏิบัติหน้าที่อันสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ของสถานีวิทยุเวียดนาม นาง เกี่ยวแวง ผู้ประกาศข่าวและนักข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามได้กล่าวถึงความทรงจำในตอนนั้นว่า“ดิฉันได้เข้ามาทำงานที่สถานีวิทยุเวียดนามตั้งแต่ปี 1964 ซึ่งในช่วงที่สหรัฐไส่งฝูงบิน B-52 มาทิ้งระเบิดถล่มกรุงฮานอย เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนเครื่องบินที่ดังขึ้นในทุกตรอกซอกซอย   ดิฉันและผู้ประกาศข่าวเตวี๊ยดมายไม่ได้ไปหลบที่หลุมหลบภัย หากรีบปั่นจักรยานไปที่สถานีวิทยุเพื่อให้ทันอ่านข่าวจากห้องส่ง”

ส่วนนาย ดั่งจุงเฮี้ยว อดีตช่างเทคนิกของสถานีวิทยุเวียดนามได้เผยว่า“พวกเราต้องตั้งอยู่ในความพร้อมเพื่อรักษาความปลอดภัยทั้งด้านชีวิตและอุปกรณ์กระจายเสียง ซึ่งถึงแม้สถานที่ต่างๆของกรุงฮานอยและสถานีรับส่งสัญญาณเหมจี่ถูกทิ้งระเบิดใส่ แต่ประชาชนกรุงฮานอยก็ยังคงฟังรายการต่างๆได้ที่คลื่นความถี่ 1010 Khz  ขนาดคลื่น 297เมตรเหมือนปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดีของทางสถานีวิทยุเวียดนามเพื่อค้ำประกันให้ทุกรายการกระจายเสียงได้รับการออกอากาศอย่างสม่ำเสมอไม่ติดขัด”

 คลื่นความถี่ 1010 Khz  ขนาดคลื่น 297 เมตร คือหนึ่งใน  5 ขนาดคลื่นที่สถานีวิทยุเวียดนามใช้ส่งออกอากาศเมื่อเช้าวันที่ 19 ธันวาคม ปี 1972 ก่อนที่สถานีรับส่งสัญญาณเหมจี่ถูกทิ้งระเบิดจนทำให้สัญญาณขาดหายไป ซึ่งต้องรอ 9 นาทีถึงจะมีสัญญาณกลับมาเป็นปกติเพื่อนำเสียงพูดเวียดนามไปถึงกองทัพ ประชาชนทั่วประเทศและเพื่อนมิตรชาวต่างชาติ

ในบทวิเคราะห์ของนักข่าวหวิงจ่า ซึ่งชื่อจริงคือ เจิ่นดึ๊กนวย อดีตหัวหน้าฝ่ายเลขานุการ-บรรณาธิการของสถานีวิทยุเวียดนามและเป็นหนึ่งในพยานแห่งประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ที่สำคัญๆของประเทศและสถานีวิทยุเวียดนามในโอกาสรำลึกครบรอบ 40 ปี ชัยชนะฮานอย-เดียนเบียนฟูกลางเวหาและครอบรอบ 40 ปี ที่สัญญาณวิทยุขาดหายไป 9 นาทีในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของประชาชาติระบุว่า “ฝ่ายเลขานุการ-บรรณาธิการของสถานีวิทยุเวียดนามได้รับจดหมายและโทรศัพท์จากสมรภูมิภาคใต้ ชาวเวียดนามโพ้นทะเลและเพื่อนมิตรชาวต่างชาติที่ชื่นชมการแก้ไขปัญหาสัญญาณวิทยุขาดหายไป 9 นาที โดยผู้ฟังของสถานีวิทยุเวียดนามในประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคเงิน 5 ล้านเยนเพื่อช่วยเหลือสถานีวิทยุเวียดนามในการก่อสร้างสถานีรับส่งสัญญาณใหม่ ส่วนตาคำบอกเล่าของนาง เหงวียนถิดิ่ง รองผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อยภาคใต้เวียดนามระบุว่า “เช้าวันที่ 19 ธันวาคม ดิฉันกำลังฟังรายการของสถานีวิทยุเวียดนามและพบว่า สัญญาณวิทยุขาดหายไป ซึ่งทำให้ดิฉันตกใจและมุ่งใจสู่กรุงฮานอย ไม่ทราบว่า กรุงฮานอยเป็นยังไงบ้างหลังจากที่ศัตรูได้ทิ้งระเบิดใส่สถานีวิทยุ แต่อีก 9 นาทีต่อมาหลักจากที่สัญญาณวิทยุหายไป เสียงพูดของเวียดนามได้ดังขึ้นอย่างน่าภาคภูมิใจอีกครั้ง ซึ่งดิฉันรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง”” นักข่าวหวิงจ่าได้ยืนยันว่า

“เมื่อหวนมอง 50ปีก่อน ก็พบว่า วิสัยทัศน์ของรัฐบาล กระทรวงกลาโหมและบรรดาผู้นำสถานีวิทยุเวียดนามในการเตรียมพร้อมรับมือสภาวการณ์ต่างๆในสงคราม ซึ่งนักข่าวเจิ่นเลิม ประธานสถานีวิทยุเวียดนามได้วางแผนการดำเนินงานของสถานีวิทยุเวียดนามในช่วงสงคราม ได้แก่การเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างสถานีรับส่งสัญญาณเพื่อให้ทุกรายการกระจายเสียงได้รับการออกอากาศอย่างสม่ำเสมอไม่ติดขัด การเตรียมพร้อมด้านบุคลากร การผลิตรายการเกี่ยวกับวิถีชีวิตและการต่อสู้ของกองทัพและประชาชนเวียดนามอย่างทันการเพื่อรายงานให้แก่ประชาชนทั่วประเทศและประชาชนประเทศต่างๆทั่วโลกทราบอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง”

การทำให้ทุกรายการกระจายเสียงได้รับการออกอากาศอย่างสม่ำเสมอไม่ติดขัดเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของประธานโฮจิมินห์ตั้งแต่สงครามต่อต้านนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสว่า “สถานีวิทยุเวียดนามต้องธำรงเสียงพูดของพรรคฯ รัฐและประชาชนให้ดังขึ้นผ่านทางสถานีวิทยุในทุกสภาวการณ์” ซึ่งความพยายามและความกล้าหาญของสถานีวิทยุเวียดนามในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์เมื่อเดือนธันวาคมปี 1972 ได้ร่วมกับกองทัพและประชาชนทั่วประเทศในการทำลายการโจมตีทางอากาศเชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพสหรัฐเมื่อปี 1972 ทำให้สหรัฐต้องลงนามในข้อตกลงปารีสเมื่อวันที่ 2 7มกราคมปี 1973 เกี่ยวกับการยุติสงครามและนำสันติภาพมาสู่ประเทศเวียดนามอีกครั้ง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด