สร้างบ้านต้านลมพายุให้แก่ชาวบ้านในภาคกลางเวียดนาม

(VOVworld) – การมีบ้านที่แข็งแรงและสามารถทนแรงพายุได้คือความฝันของชาวประมงยากจนทุกคนในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลาง เวียดนาม และความฝันนั้นได้กลายเป็นความจริงหลังจากที่ได้มีการปฏิบัติโครงการ “บ้านต้านลมพายุในนครดานัง – เพื่อสร้างนครที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” 
(VOVworld) – การมีบ้านที่แข็งแรงและสามารถทนแรงพายุได้คือความฝันของชาวประมงยากจนทุกคนในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลาง เวียดนาม และความฝันนั้นได้กลายเป็นความจริงหลังจากที่ได้มีการปฏิบัติโครงการ “บ้านต้านลมพายุในนครดานัง – เพื่อสร้างนครที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” ซึ่งได้รับเงินอุปถัมภ์จากกองทุน Rockerfeller ของสหรัฐและเป็นหนึ่งใน 12 โครงการที่ได้รับรางวัล “ความคิดริเริ่มปี 2014” ของคณะเลขาธิการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
สร้างบ้านต้านลมพายุให้แก่ชาวบ้านในภาคกลางเวียดนาม - ảnh 1
บ้านต้านลมพายุที่ดานัง

แม้จะผ่านมาแล้ว 8 ปีแต่ทุกคนในเขตริมฝั่งทะเลดานังยังคงไม่ลืมความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่จากพายุช้างสารเมื่อปี 2006 ซึ่งทำลายหมู่บ้านชาวประมงหลายแห่งรอบภูเขาเซินจ่า บ้านเรือนนับพันหลังพังทลาย หลายพันครอบครัวไร้ที่อยู่อาศัย นายฝามวันเติม ชาวบ้านแขวนเถอะกวาง นครดานังเล่าว่า ในเวลานั้น ครอบครัวของเขาเพิ่งใช้เงินออมทั้งหมดรวมหลายสิบล้านด่งเพื่อก่อสร้างบ้านใหม่แต่พายุก็ได้พัดทำลายบ้านจนพังหมด ในช่วงที่ยากลำบากนั้น ครอบครัวของเขาได้รับเงินกู้ 20 ล้านด่งจากโครงการ “บ้านต้านลมพายุในนครดานัง – เพื่อสร้างนครที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” และยืมเงินจากเพื่อนๆและญาติพี่น้องเพื่อก่อสร้างบ้านหลังใหม่ตามรูปแบบบ้านทนพายุ ซึ่งแม้จะไม่ใหญ่แต่บ้านหลังใหม่นี้ก็สามารถต้านแรงลมพายุระดับ 11 หรือ 12 ได้ “แม้บ้านของผมจะเล็กแต่ก็แข็งแรง ก่อนหน้านั้นมีพายุ 3 ลูกพัดกระหน่ำ บ้านหลายหลังในหมู่บ้านพังทลายแต่บ้านของผมยังคงแข็งแรงดี
รูปแบบบ้านต้านลมพายุในนครดานังนั้นจะมีการออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะของที่ดินและฐานะของเจ้าของที่ดิน นายเหงียนแทงบิ่ง รองผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบภาคกลางเวียดนาม ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนการออกแบบของโครงการฯเผยว่า เมื่อปี 2006 ในฐานะเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยดานัง เขาและนักศึกษาได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและวิจัยผลเสียหายของพายุช้างสาร ซึ่งประสบการณ์นี้ได้ช่วยเขามากในการออกแบบบ้านสามารถทนพายุได้ “เมื่อลงพื้นที่วิจัยผลเสียหายจากพายุช้างสาร ผมเห็นว่า บ้านเรือนต่างๆที่ออกแบบมาอย่างดีก็พังเสียหายเช่นกัน ดังนั้นพวกเราจึงได้ออกแบบใหม่ให้สามารถต้านทานกับพายุที่มีความรุนแรงระดับ 11-12ได้

สร้างบ้านต้านลมพายุให้แก่ชาวบ้านในภาคกลางเวียดนาม - ảnh 2
รับรางวัล “ความคิดริเริ่มปี 2014” ของคณะเลขาธิการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

นับตั้งแต่ปี 2011 มาจนถึงปัจจุบัน จากโครงการ “บ้านต้านลมพายุในนครดานัง – เพื่อสร้างนครที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” ครอบครัวสตรียากจนริมฝั่งทะเลนครดานังเกือบ 330 ครอบครัวได้รับเงินกู้เพื่อก่อสร้างบ้านทนกับพายุโดยได้รับเงินกู้ครอบครัวละ 25-30 ล้านด่ง คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.6 และชำระคืนเงินกู้ภายใน 3 ปี นางโด๋ถิกิมหลิง ประธานสหพันธ์สตรีนครดานังเผยว่า การก่อสร้างบ้านทนพายุไม่ต้องใช้เงินทุนมากนักแต่ต้องปฏิบัติตามการออกแบบอย่างเข้มงวด โดยแต่ละหลังไม่เพียงแต่ต้องมีการก่อสร้างอย่างมั่นคงในทุกจุดเท่านั้นหากยังต้องมีห้องใต้หลังคาที่มั่นคง กว้างประมาณ 10 ตารางเมตรเพื่อเก็บสิ่งของที่จำเป็นและใช้หลบพายุ ซึ่งผ่านเหตุพายุหลายครั้งในนครดานัง โดยเฉพาะพายุนารีเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2013 ที่มีแรงลมอยู่ในระดับ 11-12 บ้านทนพายุทุกหลังต่างปลอดภัยดี นางโด๋ถิกิมหลิงเผยว่า “คณะเลขาธิการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ชื่นชมความคิดริเริ่มดังกล่าวเพราะมีส่วนร่วมเพิ่มการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในปี 2015 นี้ พวกเรามีแผนการก่อสร้างบ้านแบบนี้อีกกว่า 100 หลังจากแหล่งเงินทุนดังกล่าว พร้อมทั้งจะเรียกร้องให้องค์กร บุคคลและสถานประกอบการที่มีใจกุศลให้เงินบริจาคเพื่อการก่อสร้างต่อไป
จากผลสำเร็จที่ได้รับ โครงการ “บ้านต้านลมพายุในนครดานัง – เพื่อสร้างนครที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”ของสหพันธ์สตรีนครดานังได้เป็นตัวแทนเดียวของเวียดนามเข้าร่วมโครงการ “ 100 นครที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่จัดโดยกองทุน Rokerfeller ของสหรัฐ นอกจากนี้ โครงการฯยังได้รับรางวัลความคิดริเริ่มปี 2014 ของคณะเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการประชุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือคอป 20 ที่กรุงลิมา ประเทศเปรูเมื่อปลายปี 2014 ซึ่งถือเป็นพลังขับเคลื่อนให้นครดานังขยายผลและปฏิบัติความฝันเกี่ยวกับการก่อสร้างบ้านทนพายุให้แก่ผู้ยากจนในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนาม./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด