เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านริมฝั่งทะเล ห่าติ๋ง
Tô Tuấn-VOV5 -  
(VOVworld)- ในจังหวัดห่าติ๋งทางภาคกลางของประเทศ มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ชาวบ้านได้ยึดมั่นผูกพันกับทะเลมารุ่นแล้วรุ่นเล่าและสามารถสร้างฐานะที่มั่งคั่งได้จากอาชีพที่แปลกๆอย่างหนึ่งคือ ดำน้ำเก็บหินกรวดทะเล ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่มีเฉพาะในช่วงที่ทะเลมีคลื่นลมแรงจนไม่สามารถออกเรือได้
(VOVworld)- ในจังหวัดห่าติ๋งทางภาคกลางของประเทศ มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ชาวบ้านได้ยึดมั่นผูกพันกับทะเลมารุ่นแล้วรุ่นเล่าและสามารถสร้างฐานะที่มั่งคั่งได้จากอาชีพที่แปลกๆอย่างหนึ่งคือ ดำน้ำเก็บหินกรวดทะเล ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่มีเฉพาะในช่วงที่ทะเลมีคลื่นลมแรงจนไม่สามารถออกเรือได้
|
กรวดเป็นวัสดุก่อสร้างบ้าน(internet) |
ก็เหมือนกับหมู่บ้านประมงต่างๆที่อยู่ริมฝั่งทะเล ชาวบ้าน ด่งเอียน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือทะเล หวุงอ๊าง ในต. กี่เหลย อ.กี่แอง จ.ห่าติ๋ง ได้มีความผูกพันกับอาชีพการประมงมารุ่นต่อรุ่นรวมทั้งอาชีพเสริมคือ ดำน้ำเก็บหินกรวดทะเลที่ไม่ทราบว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ สิ่งที่ถือว่าเป็นความแปลกของอาชีพนี้คือจะทำเฉพาะในช่วงที่ทะเลมีคลื่นลมแรง ซึ่งในเวลาดังกล่าวที่ชายหาดด่งเอียนจะมีชาวบ้านหลายร้อยคนกำลังรอเตรียมลงทะเลเก็บหินกรวดหลากสีที่ถูกเกลียวคลื่นพัดเข้าใกล้ฝั่ง ซึ่งเสมือนเป็นของขวัญจากธรรมชาติที่บันดาลให้ชาวบ้านที่นี่ โดยผู้ชายจะยืนเรียงแถวในทะเลที่ความลึกประมาณเอว มือถือกระชอนเหล็กเพื่อรอจังหวะที่คลื่นซัดมาก็จะดำลงไปในน้ำเพื่อตักหินกรวด โดยคลื่นยิ่งแรงก็ยิ่งมีกรวดที่ถูกพัดเข้าฝั่งมากขึ้น บางทีเพื่อหากรวดให้ได้มากๆจะต้องดำลึกลงไปถึง2-3เมตร ส่วนตามประสบการณ์ของชาวบ้าน ช่วงที่น้ำลึกตั้งแต่5-7เมตรห่างจากฝั่ง15-30เมตรมักจะมีกรวดที่สวยงามมากที่สุดแต่ก็ถือว่ามีความอันตรายมากเช่นกัน นาย เหงวียนซวนเกอ ชาวบ้านด่งเอียน เผยว่า แม้จะต้องเสี่ยงกับคลื่นลมแรงแต่ชาวบ้านก็ต้องพยายามเพื่อหาเลี้ยงชีพ เพราะเมื่อมีคลื่นลมแรงเราก็ไม่สามารถออกเรือจับปลาได้ ดังนั้นอาชีพนี้ถือเป็นรายได้หลัก ในช่วงที่ไปเก็บกรวดนั้น ทุกคนในครอบครัวต่างก็มาช่วยกันคนละไม้ละมือ โดยผู้ชายจะเป็นผู้ดำน้ำหากรวด ส่วนผู้หญิงกับเด็กอยู่บนฝั่งแยกกรวดตามขนาดและความสวยงามแล้วขนกลับบ้าน ซึ่งเมื่อก่อนนี้มีแต่ผู้ชายรับหน้าที่หนักที่สุดคือดำน้ำหากรวดแต่เดี๋ยวนี้ก็มีผู้หญิงที่แข็งแรงหลายคนได้มาช่วยสามีอีกแรง ปัจจุบัน ที่หมู่บ้าน ด่งเอียน มีกว่า100ครอบครัวประกอบอาชีพนี้เป็นหลัก หากครอบครัวไหนมีแรงงานจำนวนมากก็สามารถเก็บหินกรวดได้มาก โดยคิดเฉลี่ย2-4ตันต่อเดือน ขายได้ในราคาประมาณ1-2แสนด่งต่อกิโลกรัม สร้างรายได้เฉลี่ยประมาณ10-20ล้านด่งต่อเดือน ซึ่งก็เป็นอีกแนวทางที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านดีขึ้น นาง มายทิฮวา ชาวด่งเอียน เผยว่าดิฉันทำอาชีพนี้คนเดียวก็สามารถสร้างรายได้ประมาณ3แสนด่งต่อวัน ซึ่งก็พอสำหรับค่าใช้จ่ายและส่งลูกๆไปเรียนหนังสือ อาชีพนี้มีมากว่า10ปีแล้ว
|
มีลูกค้าจากทั้ง ลิเบีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
มาสั่งซื้อไปเป็นวัสดุเพื่อการตกแต่งบ้าน (internet) |
ตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน เมื่อกว่า10ปีก่อน สภาพชีวิตที่หมู่บ้านแห่งนี้ยากจนมาก ซึ่งตอนนั้นเด็กไม่มีอะไรทำก็ไปหากรวดที่ชายหาดมาเล่นกัน ต่อมาชาวบ้านก็เก็บกรวดไว้เพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างบ้านแล้วพบว่า หินกรวดที่นี่ไม่เหมือนกรวดธรรมดาทั่วไป เพราะกรวดทะเลที่นี่มีหลากสีสันดูสวยงามยิ่งจึงนำไปประดับบนซุ้มประตูทางเข้าบ้าน แล้วมีพ่อค้าจากเหนือและใต้ที่ผ่านมาเห็นคุณค่าของหินเหล่านี้จึงมาเหมาซื้อจนทำให้ชื่อของหินกรวดด่งเอียนได้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ นาย มายซวนเงวียน หนึ่งในผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ตั้งแต่เริ่มแรกเผยว่า
ตอนแรกหินกรวดด่งเอียนของเราส่งออกไปยังจีนเท่านั้นแต่เดี๋ยวนี้ก็มีลูกค้าจากทั้ง ลิเบีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มาสั่งซื้อไปเป็นวัสดุเพื่อการตกแต่งบ้าน
แต่ละเดือน นอกจากได้ส่งออกกรวดสีประมาณ1500ตันแล้ว หินกรวดด่งเอียนยังถูกนำไปจำหน่ายทั่วทุกท้องถิ่นของประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการตกแต่งบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเคยคิดว่า หินกรวดธรรมดาเหล่านี้ถือเป็นเหมืองเงินเหมืองทองสำหรับชาวประมงด่งเอียน โดยรายได้จากการขายกรวดสีได้ช่วยให้ชีวิตของชาวด่งเอียนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีบ้านเรือนที่โอ่โถง มีเครื่องใช้ในครัวเรือนครบทุกอย่างส่วนลูกหลานก็ได้มีโอกาศศึกษาเล่าเรียนในระดับสูง ด่งเอียนทุกวันนี้ได้เปลี่ยนโฉมใหม่และอาชีพการเก็บหินกรวดก็ได้กลายเป็นอาชีพหลักพร้อมกับอาชีพการประมง โดยช่วงที่ทะเลมีคลื่นลมแรงไม่ใช่ช่วงที่ต้องกังวลหนักใจเหมือนในอดีตอีกแล้วหากเป็นช่วงที่ธรรมชาติได้เปิดโอกาสใหม่ให้ชาวบ้านด่งเอียนสร้างฐานะที่มั่งคั่งจากกรวดทะเล./.
Tô Tuấn-VOV5