ประเพณีในการจัดงานแต่งงานของชนเผ่าหนุ่ง ในจังหวัดลาวกาย
(VOVWORLD) - เมื่อถึงวัยแต่งงาน หนุ่มสาวเผ่านุ่งจะสามารถหาคู่รักกันอย่างอิสระ โดยมักจะมีการพบปะสังสรรค์เพื่อศึกษาใจคอกันในช่วงไปทำไร่ทำนา ไปตลาด หรือในงานวัฒนธรรมต่างๆของชุมชน ถ้าคู่ไหนมีใจต่อกันฝ่ายชายก็จะกลับไปบอกพ่อแม่ให้ส่งพ่อสื่อแม่สื่อไปสู่ขอ นายเจิ่นชี้เญิน รองหัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรมการสื่อสารของอำเภอหว่างซูฝี่จังหวัดลาวกายเผยว่า ตามประเพณีของชนเผ่านุ่งนั้นการแต่งงานจะเริ่มด้วยพิธีสู่ขอ
ขบวนส่งเจ้าสาวในประเพณีการแต่างงานของเผ่าหนุ่ง baotuyenquang.com.vn |
“ในพิธีสู่ขอนั้นพวกเขาจะพูดเรื่องการขออนุญาตพ่อแม่ของฝ่ายหญิงเพื่อให้ทั้งสองแต่งงานกัน ถ้าหากตกลงกันก็จะนัดหมายกันในอีกประมาณ 10 วัน แม่สื่อและฝ่ายชายจะมาที่บ้านฝ่ายหญิงคุยเรื่องสินสอดทองหมั้น ซึ่งตามประเพณีจะต้องมีไก่ตอนใส่ในกรงไก่คลุมด้วยกระดาษสีแดง เหล้า 1 ขวดและขนมลูกอม หลังจากนั้นจะร่วมกันทานอาหารทำจากไก่ที่ฝ่ายชายเอามานั้น พวกเขาก็จัดพิธีดูดวงเนื้อคู่ซึ่งจะเอากระดูกขาไก่ไปให้หมอดูว่าหนุ่มสาวคู่นี้เหมาะสมหรือไม่ หากเหมาะสมกันพวกเขาจะเลือกวันฤกษ์ดีเพื่อจัดงานแต่งงาน”
ในงานหมั้น ครอบครัวทั้งสองฝ่ายจะหารือเกี่ยวกับสิ่งของเซ่นไหว้ที่จำเป็นที่ต้องการให้ครอบครัวของเจ้าบ่าวนำไปบ้านเจ้าสาวในวันแต่งงาน ได้แก่ไก่หนึ่งคู่ หมูหนึ่งตัวน้ำหนัก 40 กก. เหล้า 15-20 ขวดเท่ากับจำนวนกระบอกข้าวสารเหนียวและแบ๊งไหญ่หรือขนมข้าวเหนียวขนาดข้าวโป่ง 12 อัน นอกจากนี้ยังต้องมีเครื่องประดับสำหรับเจ้าสาวเพื่อทำชุดแต่งงานประกอบด้วยสร้อยคอ กำไล เม็ดลูกปัดเงิน 1 ขีดและกระดุมเงิน 14 เม็ด นอกจากนั้นในงานหมั้นฝ่ายชายยังต้องนำเหรียญเงินเก่าจำนวน 4 เหรียญไปให้พ่อแม่ของภรรยา ครอบครัวของเจ้าบ่าวมักจะต้องจ่ายเหรียญเงิน 4 เหรียญให้พ่อแม่เจ้าสาว ถ้าไม่มีเหรียญเงินก็แปลงเป็นธนบัตร เงินนี้พวกเขาเรียกว่าเงินตอบแทนที่แม่เจ้าสาวให้กำเนิดว่าที่เจ้าสาวผู้นี้ เมื่อถึงวันเวลาที่ได้ฤกษ์ดีตามกำหนดฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดขบวนรับเจ้าสาว “ในพิธีขอรับเจ้าสาวนั้น เจ้าบ่าวจะนำสิ่งของที่เป็นขนมมาเพื่อเซ่นไหว้บรรพบุรุษของฝ่ายหญิงจากนั้นถึงจะรับเจ้าสาวกลับบ้านได้ โดยขนมก็เหมือนขนมข้าวเหนียวบดที่เอามาในงานหมั้น สิ่งแรกเมื่อคณะของฝ่ายชายมาถึงบ้านเจ้าสาวคือด้านข้างบันไดจะมีกระถางน้ำ ตัวแทนของครอบครัวเจ้าสาวจะสาดน้ำใส่เจ้าบ่าวและสมาชิกบางคนในคณะของเข้าบ่าว โดยความหมายคือปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่ไม่ดีออกไปให้หมดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าบ่าวก่อนเข้าบ้าน”
คู่บ่าวสาวกราบไหว้บรรพชนในพิธีแต่งงาน |
ในขบวนส่งเจ้าสาวไปบ้านสามีนั้นพ่อแม่ของเจ้าสาวจะไม่มาด้วย ส่วนเจ้าสาวสวมผ้าคลุมสีแดงและเจ้าบ่าวจะกางร่มสีดำพากลับบ้าน ระหว่างเดินทางเมื่อผ่านร่องน้ำเล็กๆหรือลำธาร เจ้าสาวห้ามข้ามเองแต่ต้องขี่หลังแม่สื่อข้ามไปเพราะยังไม่เดินทางถึงบ้านสามียังไม่มีการกราบไหว้บรรบุรุษของฝ่ายชายจึงยังถือเป็นหน้าที่ของแม่สื่อ เมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าว สิ่งแรกที่เจ้าสาวต้องทำคือเข้าครัวเทน้ำในกระบอกน้ำที่นำมาใส่ในกระทะตั้งบนเตาไฟและแขวนมัดข้าวในผนังด้วยความหมายคือตนจะเป็นลูกสะไภ้ที่ดีรู้งานบ้านงานเรือนเพื่อสร้างครอบครัวอบอุ่นและนำสิ่งที่ดีมาให้แก่ครอบครัวของสามี หลังจากนั้นแม่สื่อจะจุดธูปบนหิ้งบูชาและเจ้าบ่าวเจ้าสาวมากราบไหว้ ถึงตอนนั้นเจ้าสาวจะถอดผ้าคลุมหัวได้เพื่อเป็นการแสดงว่าตนได้เป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวสามีอย่างเป็นทางการ เมื่อพิธีกรรมต่างๆเสร็จเรียบร้อย ทั้งคู่จะนำเหล้ามาเชิญแขกของทั้งสองฝ่ายเพื่อร่วมแสดงความยินดีและรับพรดีๆจากทุกคน./.