(VOVWORLD) - ในการประชุม สส.รุ่นใหม่โลกครั้งที่ 9 ณ กรุงฮานอย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บรรดา สส.รุ่นใหม่ไทยได้นำเสนอเกี่ยวกับแอปพลิเคชั่นเป๋าตังและความพยายามของ สส.ในการผลักดันการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อของการประชุมคือ “บทบาทของคนรุ่นใหม่ในการส่งเสริมการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลและนวัตกรรม”
คณะ สส.รุ่นใหม่ไทย (ภาพจากแฟนเพจเฟสบุ๊ค พนิดา มงคลสวัสดิ์ - Phanida Mongkolsawat) |
นาย วรภพ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลได้ให้ข้อสังเกตว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลและนวัตกรรมคือเป้าหมายร่วมของทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นเป๋าตังเพื่อเป็นช่องทางสำคัญในการรองรับการจัดมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาประชาชน และเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
“นี่เป็นโครงการที่รัฐบาลสร้าง e-money ขึ้นมา แล้วก็มีการให้สวัสดิการเข้ามาในแอปพลิเคชันนั้น ซึ่งอันนี้ มันก็มีผลลัพธ์และพิสูจน์ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 50 ล้านคนจาก66 ล้านคนหันมาใช้ e-money ใช้ดิจิทัล money มากขึ้น ทำให้เป็นนโยบายภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นให้คนมาใช้ e-money มากขึ้น”
แอปพลิเคชันเป๋าตัง เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เมื่อปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศผ่านโครงการที่มีชื่อว่า “ชิม ช้อป ใช้” โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การใช้งานแอปพลิเคชันนี้ได้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจัง
จากมุมมองด้านนิติบัญญัติ บรรดา สส.ไทยมีความประสงค์ว่า จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายและร่างพระราชบัญญัติต่างๆอย่างสะดวก นาย วรภพ วิริยะโรจน์ เผยว่า
“เราก็ผลักดันจนเกิดว่า เราออกกฎหมายที่รับรองให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายผ่านระบบออนไลน์ได้ จากเดิมที่กฎหมายเดิมจะต้องเซ็นเป็นกระดาษก็คือสำเนาบัตรประชาชนเป็นกระดาษ แต่ว่า พอกฎหมายใหม่ออกมาก็ทำให้สามารถเข้าชื่อทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ถือเป็นการเข้าชื่อเสนอเสนอกฎหมายได้ อันเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้”
คณะ สส.ไทยเข้าร่วมกิจกรรมในกรอบการประชุม (ภาพจากแฟนเพจเฟสบุ๊ค พนิดา มงคลสวัสดิ์ - Phanida Mongkolsawat) |
ในการอภิปรายเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล บรรดาผู้แทนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกลไก นโยบายในการส่งเสริมกระบวนการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนาที่ยั่งยืน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของรัฐสภาของประเทศต่างๆ ในด้านนิติบัญญัติ การตรวจสอบและบทบาทของ สส.รุ่นใหม่ เพื่อส่งเสริมกระบวนการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 การแลกเปลี่ยนความคืบหน้าที่ได้บรรลุในการปฏิบัติกิจกรรมของรัฐสภาผ่านรูปแบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับปัญหานี้ นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร เเบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้ให้ข้อสังเกตว่า ต้องมีปฏิบัติการเพื่อมีนโยบายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล
“ในประเทศไทย เราส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบทใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ดิฉันคิดว่า ก่อนอื่น เราต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ประชาชน แล้วจะให้ข้อมูลและความรู้แก่พวกเขาเพื่อให้รู้วิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานและการศึกษา”
ส่วนนางสาว พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต สมุทรปราการ เขต1 พรรคก้าวไกลได้เผยว่า รัฐบาลต้องเดินหน้าปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล
“ต้องเอาดิจิทัลมาใช้กับ government ด้วย เพื่อเปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใสมากขึ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ คลิกเดียวทำทุกอย่างได้เลย รวมแอปพลิเคชันทุกอย่างไว้ในมือถือ ไม่ต้องไปที่officeของรัฐบาล”
นางสาว พนิดา มงคลสวัสดิ์ ยังเผยว่า ในฐานะนักนิติบัญญัติก็ต้องผลักดันการออกกฎหมายและจัดทำร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้เพื่อยื่นรัฐสภาแล้วก็ขอความร่วมมือจาก สส.พรรคอื่นๆให้ช่วยกันโหวตให้ผ่าน.