การละเล่นชักเย่อ “แก๊วหมอ” ของชาวบ้านซวนลาย
Minh Ngoc - VOV5 -  
(VOVworld) – ทุกๆปี เมื่อถึงวันที่ 4 เดือนอ้ายจันทรคติ แม้ว่าจะอยู่ที่ไหน ชาวบ้านซวนลายในอำเภอซอกเซิน กรุงฮานอยก็จะพากันกลับมาเข้าร่วมเทศกาลของหมู่บ้าน ซึ่งมีพิธีที่ขาดไม่ได้คือการเล่นชักเย่อ “แก๊วหมอ” ซึ่งคล้ายๆกับการเล่นชักเย่อธรรมดาแต่ผู้เล่นต้องนั่งเล่น เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 พิธี “แก๊วหมอ” ได้รับการรับรองให้เป็น 1 ใน 26 มรดกแห่งชาติ ต่อไปนี้ ขอเชิญท่านสัมผัสบรรยากาศของการละเล่นพื้นบ้านดังกล่าว ซึ่งได้รับการสาธิตวิธีการเล่นที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาเวียดนามเมื่อ ต้นเดือนนี้
(VOVworld) – ทุกๆปี เมื่อถึงวันที่ 4 เดือนอ้ายจันทรคติ แม้ว่าจะอยู่ที่ไหน ชาวบ้านซวนลายในอำเภอซอกเซิน กรุงฮานอยก็จะพากันกลับมาเข้าร่วมเทศกาลของหมู่บ้าน ซึ่งมีพิธีที่ขาดไม่ได้คือการเล่นชักเย่อ “แก๊วหมอ” ซึ่งคล้ายๆกับการเล่นชักเย่อธรรมดาแต่ผู้เล่นต้องนั่งเล่น เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 พิธี “แก๊วหมอ” ได้รับการรับรองให้เป็น 1 ใน 26 มรดกแห่งชาติ ต่อไปนี้ ขอเชิญท่านสัมผัสบรรยากาศของการละเล่นพื้นบ้านดังกล่าว ซึ่งได้รับการสาธิตวิธีการเล่นที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาเวียดนามเมื่อต้นเดือนนี้
การละเล่นชักเย่อ “แก๊วหมอ”
|
เวลา 9.30 น. ที่ลานสนามหญ้าของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาเวียดนาม ได้มีผู้ชมมาชมเทศกาลจำนวนมาก ซึ่งทุกคนต่างมองไปที่ลานสนามที่มีชายหนุ่ม 6-7 คนกำลังผูกไม้ไผ่สองต้นเข้าด้วยกัน โดยแต่ละต้นยาวประมาณ 7-8 เมตรเพื่อใช้แทนเชือกในการเล่นชักเย่อ เพื่อเตรียมให้แก่พิธี “แก๊วหมอ” อันดับแรกคือต้องเลือกอุปกรณ์โดยผู้ที่รับผิดชอบตัดต้นไม้ไผ่สองต้นนี้ก็ต้องเป็นผู้ที่มีครอบครัวที่สมบูรณ์และมีความสุขตามคติของคนเวียดนามคือมีทั้งลูกชายและลูกสาว ไม้ไผ่หลังจากที่ตัดแล้วจะถูกแห่ขบวนไปยังวิหารศาลเจ้าของหมู่บ้านเพื่อทำพิธีรายงานต่อสิ่งสักดิ์ศิกดิ์ก่อนจะใช้เป็นอุปกรณ์ในการเล่นชักเย่อ ส่วนผู้สูงอายุจะรับหน้าที่นับบ้องไม้ไผ่ตามลำดับของอักษรมงคลโดยให้เลือกจำนวนบ้องไผ่ตรงกับคำที่มีความหมายแห่งความเจริญรุ่งเรืองหรือสันติสุขเท่านั้น คุณโงวันยอง ผู้สูงอายุในหมู่บ้านเผยว่า “ในชักเย่อใช้เชือก เราจะต้องมัดปมเป็นสัญลักษณ์บนเชือกแต่ในการใช้ไม้ไผ่ ผู้เล่นจะต้องพยายามดึงให้ไม้ไผ่ถูกพื้นของฝั่งเรา โดย “แก๊วหมอ” หมายความว่า เกี่ยวไม้ไผ่สองต้นเข้าด้วยกันด้วยสลักและผู้เล่นต้องนั่งดึงไม้ไผ่ ดังนั้นมักจะจัดขึ้นตามทุ่งนาหรือสนามหญ้าโดยผู้เล่นต้องใช้เท้าดันพื้นให้เป็นหลุมเพื่อเป็นที่ยึดเท้า”
ห่างจากจุดที่หนุ่มๆกำลังผูกไม้ไผ่ประมาณ 5-6 เมตร ก็มีโต๊ะที่คลุมด้วยผ้าสีแดงเพื่อใช้แทนหิ้งบูชาในวิหารศาลเจ้าของหมู่บ้านเพื่อทำพิธีก่อนการเล่น นายเหงียนวันยอง อายุ 80 ปี ในชุดทำพิธีสีม่วงเผยว่า ในตลอด 3 – 4 ปีมานี้ เขามักจะถูกรับเลือกเป็นผู้ทำพิธี หลังจากที่เตรียมพร้อมทุกอย่าง คุญยองจะจุดธูป 3 ดอกเพื่อทำพิธี ส่วนด้านหลังก็มีชายหนุ่ม 12 คนที่มีอายุตั้งแต่ 16-20 ปี ใส่กางเกงขาสั้นสีแดงและสีเขียวยืนเข้าแถวและพนมมือไหว้อย่างเคารพ
นายเหงียนวันยอง อายุ 80 ปี ในชุดทำพิธีสีม่วง
|
คุณยองบอกว่า ตามธรรมเนียบปฏิบัติ ที่หมู่บ้านซวนลาย ก่อนการเล่นชักเย่อ “แก๊วหมอ” จะต้องเตรียมถาดอาหารถวายเทพเจ้าประจำถิ่นก่อน “ก่อนการเล่นชักเย่อ “แก๊วหมอ” พวกเราต้องทำพิธีไหว้เทพเจ้าก่อน ซึ่งมีตะเกียบ 1 คู่ ปลาตะเพียน 3 ตัว ถือเป็นสัญลักษณ์ของปลาทองและปลาเงิน หรือหมายถึงปลาที่สามารถกลายร่างเป็นมังกร ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับการฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อประสบความสำเร็จ ข้าวเหนียว 5 จาน รวมทั้งผลไม้และขนม พิธีนี้ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยก่อน ปัจจุบันพวกเราต้องปฏิบัติตาม”
เวลา 10.15 น. หลังพิธีไหว้เทพเจ้า การละเล่นพื้นบ้าน “แก๊วหมอ” เริ่มขึ้นอย่างคึกคัก แต่ละทีมมีสมาชิก 6 คนเพราะปีนี้เป็นปีคู่แต่ถ้าหากเป็นปีคี่ 1 ทีมจะมีสมาชิก 5 หรือ 7 คน
หลังจากตีกลอง 3 ครั้ง สองทีมต่างนั่งลงกับพื้นเหยียดขาสลับกัน มือจับไม้ไผ่เตรียมพร้อมดึง หัวหน้าของแต่ละทีมเป็นชายวัยกลางคน ใส่เสื้อสีดำและยืนข้างๆเพื่อควบคุมการดึงของทีมด้วยการตะโกนว่า “อี๊อา ดึง” สมาชิกทุกคนต่างพยายามดึงอย่างสุดกำลังเพื่อจะได้เป็นผู้ชนะ หัวหน้าวิ่งรอบๆแล้วใช้ธงเล็กๆแตะที่ศีรษะและใบหน้าของสมาชิกแต่ละคนเพื่อสั่งการและให้กำลังใจ ในการเล่นชักเย่อ “แก๊วหมอ” การชนะหรือพ่ายแพ้ไม่สำคัญแต่ที่สำคัญคือนี่คือการละเล่นเพื่อพยากรณ์การเก็บเกี่ยวในปีนั้นๆ “ในการดึงระหว่างทีมทิศเหนือกับทีมทิศใต้ ถ้าหากทีมทิศใต้ชนะ ก็หมายความว่า ชาวบ้านในท้องถิ่นทางทิศใต้จะมีการเก็บเกี่ยวได้ผลดีในปีนั้น ส่วนถ้าหากทีมทิศเหนือชนะ ชาวบ้านทางทิศใต้จะประสบความลำบากมากกว่าปีก่อน”
การชนะหรือพ่ายแพ้ไม่สำคัญแต่ที่สำคัญคือ
การละเล่นเพื่อพยากรณ์การเก็บเกี่ยวในปีนั้นๆ
|
ในขณะชมการละเล่นพื้นเมือง “แก๊วหมอ” คุณเลวันจุง ผู้ชมคนหนึ่งเผยว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ชมการละเล่น “แก๊วหมอ” ผมเคยชมการละเล่นชักเย่อธรรมดาแล้ว ถ้าหากเป็นการเล่นชักเย่อธรรมดาที่ใช้เชือก ซึ่งการดึงจะง่ายกว่าการใช้ไม้ไผ่แบบนี้ เพราะถ้าหากจับไม่แน่นก็จะลื่น ฝ่ายตรงข้ามจะชนะทันที”
หลังการแข่งขัน 3 รอบ การละเล่นพื้นเมือง “แก๊วหมอ”ได้เสร็จสิ้นลงท่ามกลางเสียงปรบมือของผู้ชม วันนี้ สมาชิกทุกคนต่างพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้การสาธิตในวันนี้สร้างความประทับใจ ปีนี้ ทีมทิศใต้ชนะ ซึ่งสมาชิกทุกคนต่างมีความปลึ้มปิติยินดีมากเพราะปีนี้การเก็บเกี่ยวจะได้ผลดี.
Minh Ngoc - VOV5