คนรุ่นใหม่กับการอ่านหนังสือ
Kim Ngan/VOV5 -  
(VOVworld) - ตามข้อมูลสถิติเมื่อเร็วๆนี้ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย เวียดนามเป็นหนึ่งในจำนวนประเทศที่มีอัตราผู้อ่านหนังสือน้อยมาก คือเฉลี่ยต่ำกว่า 0.8 เล่มต่อคนต่อปี แต่ในงานแสดงหนังสือวสันต์ฤดูปี 2014 ภายใต้หัวข้อ “ เชิดชูวัฒนธรรมการอ่าน– ยกระดับความรู้” ที่แนะนำหนังสือประเภทต่างๆกว่า 2000 เรื่องได้รับความสนใจของคนรุ่นใหม่มาชมงานเป็นจำนวนมาก
(VOVworld) - ตามข้อมูลสถิติเมื่อเร็วๆนี้ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย เวียดนามเป็นหนึ่งในจำนวนประเทศที่มีอัตราผู้อ่านหนังสือน้อยมาก คือเฉลี่ยต่ำกว่า 0.8 เล่มต่อคนต่อปี แต่ในงานแสดงหนังสือวสันต์ฤดูปี 2014 ภายใต้หัวข้อ “ เชิดชูวัฒนธรรมการอ่าน– ยกระดับความรู้” ที่แนะนำหนังสือประเภทต่างๆกว่า 2000 เรื่องได้รับความสนใจของคนรุ่นใหม่มาชมงานเป็นจำนวนมาก
|
เลือกซื้อหนังสือ ณ งานแสดง |
“ผมมาที่นี่เพื่อหาหนังสือเล่มที่ชอบ โดยจะเลือกหนังสือของนักเขียนที่ผมชอบก่อนแล้วค่อยเลือกหนังสือของนักเขียนหน้าใหม่เพื่อเรียนรู้สไตล์การเขียนของพวกเขา”
“ผมอยากศึกษาการพัฒนาของวรรณกรรมเวียดนามผ่านหนังสือของนักเขียนรุ่นใหม่ ว่าจะมีเนื้อหาอย่างไรและมีอะไรแตกต่างกับวรรณกรรมต่างชาติ ผมคิดว่า นักเขียนเวียดนามสามารถเขียนหนังสือที่มีคุณภาพได้”
นี่คือความคิดเห็นของเจืองลิงห์และยาฮิว ผู้อ่านรุ่นใหม่ในงานแสดงหนังสือวสันต์ฤดูปี 2014 ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ ในความเป็นจริง อินเตอร์เนตกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในเวียดนาม ซึ่งส่งผลให้จำนวนผู้อ่านหนังสือลดลง ถ้าหากคลิ๊กเข้าไปเว็ปไซต์ ผู้อ่านจะสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้ทันที โดยเฉพาะสามารถอ่านหนังสือ นิตยาสารและหนังสือพิมพ์นับร้อยเล่มในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ebook ผ่านอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เนตโดยไม่ต้องซื้อหนังสือ แม้การอ่าน ebook กำลังได้รับความนิยมจากผู้อ่านคนรุ่นใหม่ แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ดั่งเช่นคุณเจืองลิงห์ เหงียนหั่งและยาฮิว การอ่านหนังสือยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่สุด
“การอ่านหนังสือช่วยให้ผมมีความรู้สึกแตกต่างกับการอ่านบนอินเตอร์เนต ซึ่งช่วยผมเข้าใจมากขึ้น เพราะเมื่อใช้มือถือเพื่ออ่านอินเตอร์เนตถ้าหากมี Message เข้ามาก็จะทำให้ผมเสียสมาธิ”
“ดิฉันชอบอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านบนอินเตอร์เนตเพราะปวดตามาก”
“ถ้าหากเราซื้อหนังสือเล่มหนึ่ง นอกจากเป็นการแสดงความเคารพต่อนักเขียนแล้วก็ยังเป็นการให้กำลังนักเขียนเพื่อให้พวกเขาสามารถเขียนหนังสือเล่มต่อไปได้”
|
นังรอคุยกับนักเขียน |
ในการอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความรู้นั้น ผู้อ่านไม่เพียงแต่ต้องมีองค์ความรู้ในขั้นพื้นฐานเท่านั้น หากยังต้องมีความอดทนและความหลงไหลอีกด้วย ดังนั้นเพื่อดึงดูดใจผู้อ่าน สำนักพิมพ์และนักเขียนได้ลงทุนมากขึ้นต่อนักอ่านวัยเยาว์ นางกวิ่งที ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารบริษัท Azbook เผยว่า “เดี๋ยวนี้สำนักพิมพ์ลงทุนมากขึ้นสำหรับหนังสือที่เน้นทำตลาดในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งการออกแบบปกหนังสือ ดีไซน์และการมอบของขวัญพิเศษ ซึ่งคนรุ่นใหม่ชอบมาก เนื้อหาก็มีความหลากหลายมากขึ้น มีทั้งเรื่องโรแมนติก เรื่องสยองขวัญและเรื่องคลาสสิก”
ส่วนนางมิงเหมิน นักเขียนเรื่อง “ โลกกลมกับหัวใจคนที่ยากแท้หยั่งถึง” หนังสือ best seller ของคนรุ่นใหม่ฮานอยในช่วงปลายปีที่ผ่านมาเผยว่า “ ดิฉันคิดว่า คนรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้มักจะอ่านหนังสือที่อ่านง่าย เข้าใจง่ายและอยู่ใกล้กับวัยเยาว์ หรือหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับความรักและอารมณ์ของนักเรียน ถ้าหากโตกว่านี้ก็มักจะหาซื้อหนังสือของนักเขียนที่มีประสบการณ์หรือมีปรัชญาอันลึกซึ้งเกี่ยวกับการใช้ชีวิต เป็นต้น”
นิสัยการอ่านหนังสือได้ช่วยให้คนรุ่นใหม่เพิ่มองค์ความรู้และคุณธรรม พร้อมทั้งช่วยลดความเครียดในชีวิตประจำวันทำให้พวกเขาสนุกสนานและรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายมากขึ้น “มีบางสิ่งที่เราไม่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตจริง ความสุขบางอย่างก็หาได้เฉพาะจากในหนังสือเท่านั้น เพราะชีวิตในแต่ละวันมีเรื่องราวมากมายที่เราต้องให้ความสนใจ ดังนั้นแม้ความสุขในหนังสือจะเป็นความสุขในระยะสั้น ๆ แต่ก็ทำให้เราสบายใจได้”./.
Kim Ngan/VOV5