ชาวเออดูที่จังหวัดเหงะอานพยายามรักษาภาษาพูดเออดู

(VOVworld) – ชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูเป็นหนึ่งใน 5 ชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดของเวียดนาม โดยมีแค่ประมาณ 400 คนเท่านั้นและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านวังมน ตำบลงามี อำเภอเตืองเยือง จังหวัดเหงะอาน ในอดีต ชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะในด้านภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ปัจจุบันนี้เอกลักษณ์วัฒนธรรม เหล่านี้กำลังจะสูญหายไปหมดแล้ว

(VOVworld) – ชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูเป็นหนึ่งใน 5 ชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดของเวียดนาม โดยมีแค่ประมาณ 400 คนเท่านั้นและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านวังมน ตำบลงามี อำเภอเตืองเยือง จังหวัดเหงะอาน ในอดีต ชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะในด้านภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ปัจจุบันนี้เอกลักษณ์วัฒนธรรมเหล่านี้กำลังจะสูญหายไปหมดแล้ว

ชาวเออดูที่จังหวัดเหงะอานพยายามรักษาภาษาพูดเออดู - ảnh 1
ภาษาเออดูสูญหายเกือบหมด (Photo baomoi.com)

ในอดีต ชาวเออดูอยู่อาศัยตามหมู่บ้านต่างๆของตำบลกิมดาและกิมเตี๊ยนแต่ถึงปี 2006 ได้อพยพไปยังหมู่บ้านวังมน ตำบลงามี อำเภอเตืองเยือง จังหวัดเหงะอาน แม้มีภาษาของตนเอง ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมรแต่การที่ชาวเออดูอาศัยอยู่ร่วมกับชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นๆ เช่น ไท เคอมู้และชาวกิง ได้ทำให้ภาษาเออดูสูญหายเกือบหมด โดยในการสื่อสารในชีวิตประจำวันขณะนี้ ชาวเออดูส่วนใหญ่ใช้ภาษากลาง ภาษาไทและภาษาเคอมู้แทน นายลอวันเกื่อง ชาวบ้านวังมน ตำบลงามี อำเภอเตืองเยืองเผยว่า “ปัจจุบันนี้ ลูกหลานของชาวเออดูไม่รู้ภาษาเออดูแล้ว มีผู้สูงอายุบางคนรู้เท่านั้น เพราะเมื่อยังเป็นเด็ก พ่อแม่ไม่พูดภาษาเออดู ทำให้ลูกหลานพูดไม่เป็น ถ้าหากพ่อเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูแต่งงานกับแม่ที่เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าไท ลูกๆก็ใช้ภาษาไททั้งหมด ดังนั้นพวกเราเห็นว่า แม้ลำบากมากแต่ชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูก็พยายามฟื้นฟูภาษาของตนให้ได้เพื่อให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป”
ตามการสำรวจของนักวิจัย ปัจจุบันนี้ มีชาวเออดูที่สามารถพูดภาษาเออดูได้แค่ 5 คนเท่านั้นและเป็นผู้สูงอายุกว่า 70 ปีและรู้คำศัพท์ประมาณ 100 คำเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นๆ ส่วนคนรุ่นหลังก็สามารถพูดคำง่ายๆเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันเท่านั้น นางเฉิ่นกวิ่งฮวา รองผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมและการกีฬาอำเภอเตืองเยืองเผยว่า “ชาวเออดูไม่สามารถพูดคุยเป็นภาษาเออดูได้ทั้งหมด แม้ผู้สูงอายุก็ตาม ในหนังสือบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของอำเภอเตืองเยือง ในภาษาพูดของชาวเออดูยังใช้ศัพท์ของชนกลุ่มน้อยเผ่าไทหรือศัพท์ภาษากลาง แม้แต่คุณลอวันเหงะและคุณลอวันฟุ๊ก ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดของหมู่บ้านก็ไม่สามารถพูดคุยเป็นภาษาเออดูได้ทั้งหมด”
เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว นับตั้งแต่ปี 2010 ทางการอำเภอเตืองเยืองได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดเหงะอานเปิดการสอนภาษาเออดูให้แก่ชนกลุ่มน้อยเผ่าเอดูแบบปากต่อปาก นางลอถิทวี้ยัง อายุ 22 ปีในหมู่บ้านวังมนแสดงความคิดเห็นว่า เดี๋ยวนี้เธอสามารถคุยกันเป็นภาษาเออดูได้แล้ว “ดิฉันรู้ภาษาเออดูแล้วแต่ก็พูดได้นิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งเป็นคำง่ายๆ เช่น ทานข้าว เนื้อหมู เป็นต้น บางทีก็ใช้ภาษาเออดูเพื่อคุยกับเพื่อนๆ พวกเรารู้คำไหนก็พูดคำนั้น คำไหนไม่รู้จะถามเพื่อนๆหรือพี่ฯ ดิฉันมีความปรารถนาว่า จะมีการเปิดสอนภาษาเออดูมากขึ้นเพื่อช่วยให้ภาษาของเราไม่สูญหาย”

ชาวเออดูที่จังหวัดเหงะอานพยายามรักษาภาษาพูดเออดู - ảnh 2
สอนภาษาเออดูให้แก่คนรุ่นหลัง(Photo baovanhoa.vn)

ส่วนคุณหมากถิติ๊ม เจ้าหน้าที่ของหมู่บ้านวังมนเผยว่า นักวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอำเภอและจังหวัด รวมทั้งผู้สูงอายุในหมู่บ้านกำลังร่วมกันจัดทำหลักสูตรตำราเรียนเพื่อสอนภาษาเออดูให้แก่ชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น “ถ้าหากเป็นคำง่ายๆ ทุกคนก็รู้หมดแล้ว ดิฉันได้รณรงค์ให้แต่ละครอบครัวมีกระดานเพื่อให้ลูกหลานฝึกเขียน ฝึกอ่านและฝึกพูดภาษาเออดูในแต่ละวันจนกลายเป็นกิจวัตรในครอบครัวด้วย”
ส่วนนางเฉิ่นกวิ่งฮวา รองผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมและการกีฬาอำเภอเตืองเยืองให้ข้อสังเกตว่า ควบคู่กับการตระหนักได้ดีและความพยายามฟื้นฟูภาษาเออดู การสอนภาษาเออดูก็ต้องมีมาตรการอย่างรอบด้าน
เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการชาติพันธุ์จังหวัดเหงะอานได้พาคณะตัวแทนชาวเออดูที่อำเภอเตืองเยืองไปเยือนและพบปะสังสรรค์กับชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูที่บ้านคาบ เมืองคูน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว ซึ่งก็มีต้นกำเนิดจากอำเภอเตืองเยืองเช่นกัน แต่ชาวเออดูที่บ้านคาบยังคงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรม เช่น การแต่งกายแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะภาษาเออดูได้อย่างสมบูรณ์ นี่ถือเป็นสัญญาณที่น่ายินดีให้แก่การฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าเออดูในเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด