(VOVWORLD) - ชีวิตและภารกิจของประธานโฮจิมินห์ ผู้นำที่ปรีชาสามารถของประชาชนเวียดนามมีความผูกพันกับสัญลักษณ์แห่งสันติภาพและความสามัคคีระหว่างประชาชาติต่างๆ ในพินัยกรรม ท่านได้กำชับให้พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามส่งเสริมการดำเนินงาน มีส่วนร่วมต่อการฟื้นฟูความสามัคคีระหว่างพรรคการเมืองพี่น้อง ประธานโฮจิมินห์มีความปรารถนาว่า ประเทศจะมีสันติภาพ มีเอกราช เอกภาพ ประชาธิปไตยและเจริญเข้มแข็ง มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันต่อการปฏิวัติโลก ซึ่งแนวคิดของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับสันติภาพ ความสามัคคีระหว่างประเทศได้เป็นเข็มทิศนำทางให้แก่แนวทางการต่างประเทศเวียดนาม ซึ่งสร้างนิมิตหมายที่ลึกซึ้งให้แก่เพื่อนมิตรชาวต่างชาติ
ประธานโฮจิมินห์กล่าวปราศรัยในพิธีเปิดการประชุมครั้งที่ 2 สภาแห่งชาติสมัยที่ 3 เมื่อวันที่ 7 เมษายน ปี1965 (VNA) |
แนวคิดประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับความสามัคคีระหว่างประเทศ วิสัยทัศน์ที่ก้าวข้ามยุคสมัย
จุดยืนเกี่ยวกับความสามัคคีระหว่างประเทศของประธานโฮจิมินห์มีความเสมอต้นเสมอปลาย ประธานโฮจิมินห์ตระหนักว่า ถ้าอยากให้การปฏิวัติปลดปล่อยประชาชนตามเส้นทางการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพประสบความสำเร็จ ต้องระดมแหล่งพลังจากควาให้ให้มสามัคคีระหว่างประเทศ ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความสามัคคีของประธานโฮจิมินห์ได้แสดงให้เห็นถึงสติปัญญาและวิสัยทัศน์ของท่าน
ความสามัคคีระหว่างประเทศตามแนวคิดของประธานโฮจิมินห์คือไม่เลือกปฏิบัติ มีความเสมอภาค เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ให้ความเคารพเอกราช อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกัน ส่งเสริมจิตใจแห่งการพึ่งตนเอง เป็นตัวของตัวเอง มีความเคารพเข้าใจกันอย่างมีเหตุผล ประธานโฮจิมินห์ย้ำว่า เวียดนามพร้อมสร้างสัมพันธ์และร่วมมือกับทุกประเทศบนหลักการให้ความเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน ไม่บุกรุกกัน ไม่แทรกแซงกิจการภายในของกัน มีความเสมอภาค เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ นี่คือแนวคิดและวิสัยทัศน์ที่ก้าวข้ามยุคสมัย นาย เยืองจูงก๊วก นักประวัติศาสตร์เผยว่า
“ขบวนการคอมมิวนิสต์สากลได้ฟันฝ่าความท้าทายมามากมาย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกได้แบ่งเป็นหลายขั้ว ในตอนนั้น เวียดนามตั้งใจมุ่งสู่เป้าหมายที่สำคัญคือ นำเอกราชมาให้แก่ประชาชาติ โดยเฉพาะการรวมประเทศเป็นเอกภาพ ซึ่งด้วยแนวทางที่คล่องตัวบนพื้นฐานของความประสงค์ฟื้นฟูขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ประธานโฮจิมินห์สามารถระบุปัจจัยที่เป็นพื้นฐานเพื่อปฏิบัติเป้าหมายรวมประเทศเป็นเอกภาพ”
นาย เยืองจูงก๊วก นักประวัติศาสตร์ |
ตามความเห็นของประธานโฮจิมินห์ ความสามัคคีรระหว่างประเทศคือการระดมแหล่งพลังจากภายนอกเพื่อสนับสนุนความแข็งแกร่งของกระบวนการต่อสู้ช่วงชิงเอกราชของประชาชาติและสร้างสรรค์ประเทศ ผสานระหว่างพลังของประชาชาติกับพลังแห่งยุคสมัยให้เป็นพลังรวม
“การปฏิวัติเวียดนามถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติโลก ดังนั้น การปฏิวัติเวียดนามจึงได้รับผลกระทบจากโลกและการช่วยเหลือของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหภาพโซเวียดในตอนนั้น จีนและประเทศที่มีความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก”
“ แนวร่วมการทูตได้มีส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ต่อการระดมกองกำลังประชาชนที่ก้าวหน้าในโลกสนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิวัติของประชาชนเวียดนาม”
ส่วนเวียดนามก็มีความรับผิดชอบสนับสนุนและช่วยเหลือประเทศต่างๆในการปฏิบัติภาระหน้าที่ระหว่างประเทศและส่งเสริมพลังความสามัคคีระหว่างประเทศ นาย จางเตื่อเว่ย เอกอัครราชทูตจีนประจำเวียดนามในช่วงเดือนพฤษภาคมปี1989-เดือนกุมภาพันธ์ปี 1993 ได้เผยว่า
“ประธานโฮจิมินห์ให้ความสำคัญต่อความสามัคคี หาทางส่งเสริมความสามัคคีระหว่างกองกำลังที่ก้าวหน้าและกองกำลังอันชอบธรรมในโลก ”
เมื่อ 55 ปีก่อน ในพินัยกรรมของตน ประธานโฮจิมินห์ได้ระบุถึงทัศนะที่ชัดเจนและคำย้ำเตือนที่มีค่าเกี่ยวกับจิตใจและเป้าหมายแห่งความสามัคคีระหว่างประเทศ
ดอกเตอร์ David Marr ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิชาการชั้นำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เวียดนามเผยว่า พินัยกรรมเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงสติปัญญาและการมองการณ์ไกลของประธานโฮจิมินห์ ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความพยายามเพื่อปลดปล่อยประชาชาติเท่านั้นหากยังแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ระดับโลกเกี่ยวกับสันติภาพและความยุติธรรม
ดอกเตอร์ ไมเคิล ดูฮาเมล ผู้เชี่ยวชาญที่วิจัยขบวนการปฏิวัติต่างๆเผยว่า พินัยกรรมของประธานโฮจิมินห์มีความหมายในเชิงลึกต่อขบวนการสามัคคีระหว่างประเทศ โดยพินัยกรรมนี้ได้ส่งเสริมให้ประเทศและประชาชาติต่างๆในโลกร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกันในภารกิจการสร้างสรรค์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนนาย อลัน รุสซิโอ นักประวัติสาสตร์ฝรั่งเศสได้เผยว่า
“ผมคิดว่า สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุดจากชีวิตของประธานโฮจิมินห์คือผู้นำของประเทศสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ต้องมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความสนใจต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เดินหน้าในการประณามและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ความเสื่อมถอยด้านแนวคิดคอมมิวนิสต์ ประธานโฮจิมินห์เป็นแบบอย่างของการเป็นบุคคลที่ยอดเยี่ยม เป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ที่ได้รับความเคารพนับถือ ซึ่งสิ่งนี้ยังมีคุณค่าตราบเท่าทุกวันนี้”
นาย อลัน รุสซิโอ นักประวัติสาสตร์ฝรั่งเศส (lanouvellerepublique.fr) |
ส่วนนาย เยฟเจนี โคเบเลฟ นักวิจัยของรัสเซียเผยว่า แนวคิดโฮจิมินห์เป็นตัวอย่างของลัทธิการปฏิวัติสากล ไม่ว่าจะอยู่ในกรณีใดก็ไม่สามารถแยกการปฏิวัติเวียดนามออกจากการปฏิวัติสากลได้ ประธานโฮจิมินห์เป็นวีรชนที่ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประชาชาติ
ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศเวียดนามหลายคนได้ยืนยันว่า ถ้าอยากเข้าใจจิตใจของคนเวียดนาม จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ก่อน รวมทั้งพินัยกรรมของท่านด้วย ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้กับศ. Ahn Kyong Hwan ผู้เชี่ยวชาญชาวสาธารณรัฐเกาหลีที่วิจัยเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออกและเวียดนามศึกษา โดยศ. Ahn Kyong Hwan ได้แสดงความประทับใจเกี่ยวกับพินัยกรรมของประธานโฮจิมินห์ว่า
“ผมคิดว่า เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ จำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลงานต่างๆ ของท่าน รวมทั้งพินัยกรรม และคิดว่า ควรแนะนำผลงานนี้ให้แก่ชาวสาธารณรัฐเกาหลีอย่างกว้างขวาง จึงได้แปลพินัยกรรมของท่านเป็นภาษาเกาหลีและจัดการสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อแนะนำผลงานนี้ด้วย ผมเห็นว่า ประธานโฮจิมินห์เป็นผู้นำที่มีความรักปิตุภูมิและพี่น้องประชาชนเวียดนามอย่างเปี่ยมล้น ท่านยังมีความปรารถนาอันแรงกล้าเกี่ยวกับการรวมประเทศเป็นเอกภาพ สิ่งที่ผมประทับใจมากที่สุดในพินัยกรรมคือการย้ำเป็นพิเศษของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับความสามัคคี ซึ่งท่านบอกว่า เวียดนามจะพัฒนาก็ต่อเมื่อประชาชาติเวียดนามร่วมแรงร่วมใจและสามัคคีกัน ต้องมีความสามัคคีภายในพรรคและความสามัคคีระหว่างประเทศ”
ศ. Ahn Kyong Hwan (hanoimoi.vn) |
สำหรับคำถามที่ว่าความสามัคคีที่มีลักษณะแห่งยุคสมัยหรือไม่ ศ. Ahn Kyong Hwan ได้แสดงความคิดเห็นว่า “สำหรับประธานโฮจิมินห์ ไม่มีสิ่งใดล้ำค่าเหนือกว่าเอกราชและเสรีภาพและท่านได้พยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อเผยแพร่จิตใจนี้ ท่านไม่เพียงแต่ต่อสู้เพื่อเอกราชและเสรีภาพของเวียดนามเท่านั้น หากยังต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม ศักดินา จักรวรรดินิยมและลัทธิฟาสซิสต์เพื่อเอกราชและเสรีภาพของประชาชนที่ถูกกดขี่กดรีดอีกด้วย ท่านเป็นผู้ที่ยุดหลักตามลัทธิสันติภาพ ไม่ใช้ความรุนแรงและมีความประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศผ่านสันติวิธี ดังนั้น ท่านได้พยายามแก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างด้วยการสนทนาและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสงคราม ผมคิดว่า ถ้าหากแนวคิดนี้ของประธานโฮจิมินห์ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง สันติภาพของโลกจะได้รับการธำรงและโลกต้องเรียนรู้ความพยายามของท่านในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงสันติภาพและการไม่ใช้ความรุนแรง”
ศ. Ahn Kyong Hwan ยังย้ำถึงความคิดเห็นของนักวิชาการหลายๆ คนที่เข้าร่วมการสัมมนาเชิงวิชาการระหว่างประเทศเกี่ยวกับพินัยกรรมของประธานโฮจิมนห์เมื่อปี 2015 ว่า ถึงแม้ในช่วงปี 2015 ความสัมพันธ์ร่วมมือเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีและเวียดนามได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งแต่ยังมีนักวิชาการและชาวสาธารณรัฐเกาหลีรับรู้เกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ไม่มากนัก ดังนั้น ในครั้งนั้น ผู้แทนและผู้เชี่ยวชาญทุกคนได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ความรักประเทศและความรักสันติภาพของท่านประธานโฮจิมินห์มากขึ้น โดยเฉพาะผ่านพินัยกรรมนั้น ทุกคนตระหนักได้ดีเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของท่านประธานโฮจิมินห์ นอกจากนี้ ศ. Ahn Kyong Hwan ก็แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามโอวาทในพินัยกรรมประธานโฮจิมินห์ของชาวเวียดนามว่า
“พินัยกรรมของประธานโฮจิมินห์มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาของประชาชาติเวียดนาม ซึ่งหลังจากที่ประยุกต์ใช้นโยบายเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศเมื่อปี 1968 เวียดนามได้ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากและกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรือง เป็นประเทศที่น่าอยู่ นอกจากนี้ ผมเชื่อว่า ในอนาคต พรรคและประชาชนเวียดนามจะสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจต่อไปดั่งเนื้อหาในพินัยกรรมของประธานโฮจิมินห์ ช่วยให้เวียดนามนับวันยกระดับสถานะบนเวทีโลก สร้างสรรค์ประเทศเวียดนามให้เจริญรุ่งเรือง น่าอยู่และมีส่วนร่วมต่อสันติภาพของโลกมากขึ้น”
ความสามัคคีระหว่างประเทศช่วยยกระดับสถานะของเวียดนามบนเวทีโลก
สถานการณ์การปฏิวัติในเวียดนามได้พิสูจน์ให้เห็นถึงพลังของแนวคิดโฮจิมินห์เกี่ยวกับมหาสามัคคีระหว่างประเทศ ซึ่งในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ประธานโฮจิมินห์ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากถึงการสร้างสรรค์ ธำรงและพัฒนาความสามัคคีระหว่างเวียดนามกับจีน สหภาพโซเวียต และบรรดาประเทศสังคมนิยมพี่น้องและประชาชนของประชาชาติเอเชีย แอฟริกาและลาตินอเมริกา เป็นต้น และเมื่อประเทศได้รับเอกราช เวียดนามได้ปฏิบัติแนวทางการต่างประเทศที่อิสระ พึ่งตนเอง หลายรูปแบบหลายฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นหุ้นส่วนที่น่าไว้วางใจและเป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยระหว่างประเทศหลายคนต่างแสดงความประทับใจต่อผลสำเร็จนี้ว่า
“ในปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ให้การต้อนรับนาย สีจิ้นผิง ประธานประเทศจีน นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐและนาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เวียดนามสามารถธำรงความสมดุลด้านความสัมพันธ์กับบรรดาประเทศมหาอำนาจ การให้การต้อนรับผู้นำเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า บรรดาประเทศมหาอำนาจให้ความสนใจและมีความประสงค์ให้เวียดนามมีเสถียรภาพ คล่องตัวและมีบทบาทสำคัญ อันเป็นการสะท้อนคำมั่นที่จะไม่เป็นพันธมิตรกับฝ่ายใดเพื่อต่อต้านประเทศอื่นแต่ยังคงรักษาสถานะที่เป็นอิสระของตนเองได้”
“ผมคิดว่า เวียดนามมีสถานะพิเศษบนเวทีโลก บทบาทของเวียดนามในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกได้รับการยกระดับสูงเด่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเวลาที่ผ่านมา ช่วยเวียดนามยืนยันถึงสถานะและบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาระดับโลก รวมทั้งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาและผลสำเร็จในทุกด้านของเวียดนามด้วย”
“ในฐานะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวรวดเร็วที่สุดในอาเซียน เวียดนามกำลังนำหน้าในความพยายามลดช่องว่างการพัฒนาและการผสมผสานเข้ากับภูมิภาคของอาเซียน เวียดนามได้ประสบความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนปี 2020 ในสภาวการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 และการที่เวียดนามจัดฟอรั่มอนาคตอาเซียนในปี 2024 ก็แสดงให้เห็นถึงคำมั่นอย่างต่อเนื่องของเวียดนามในการเสร็จสิ้นวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน”
การยืนยันสถานะบทเวทีระหว่างประเทศของเวียดนามในเวลาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดความสามัคคีระหว่างประเทศตามพินัยกรรมของประธานโฮจิมินห์ไม่เพียงแต่เป็นอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น หากยังเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในนโยบายการต่างประเทศของเวียดนาม ความสามัคคีระหว่างประเทศได้กลายเป็นทฤษฏีและเป็นแนวปฏิบัติที่ช่วยเสริมสร้างสถานะและชื่อเสียงของเวียดนามบนเวทีโลกและเพื่อสร้างสรรค์โลกที่สันติภาพ.