มุมมองต่างๆเกี่ยวกับปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนที่แตกต่างและกิจกรรมไม่เลือกปฏิบัติในเวียดนาม
Minh Lý - VOV5 -  
(VOVworld) - เมื่อเอ่ยถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติในเวียดนาม ทุกคนมักจะนึกถึงการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี พวกเกย์หรือเปลี่ยนเพศ และคนพิการ แต่ในทางเป็นจริง ยังมีการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลอื่นๆที่เราคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่มคนเพื่อการไม่เลือกปฏิบัติ หรือ ZDAG ได้จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์และการเสวนาเกี่ยวกับปัญหาการเลือกปฏิบัติประชา สัมพันธ์เกี่ยวกับการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนต่างๆ โดยผู้สื่อข่าวมิงห์หลีสถานีวิทยุเวียดนามได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
(VOVworld) - เมื่อเอ่ยถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติในเวียดนาม ทุกคนมักจะนึกถึงการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี พวกเกย์หรือเปลี่ยนเพศ และคนพิการ แต่ในทางเป็นจริง ยังมีการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลอื่นๆที่เราคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่มคนเพื่อการไม่เลือกปฏิบัติ หรือ ZDAG ได้จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์และการเสวนาเกี่ยวกับปัญหาการเลือกปฏิบัติประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนต่างๆ โดยผู้สื่อข่าวมิงห์หลีสถานีวิทยุเวียดนามได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ภาพในกิจกรรมฉายภาพยนตร์และการเสวนาเกี่ยวกับปัญหาการเลือกปฏิบัติ
(ภาพจากเว็บไซต์ของกลุ่มZDAG)
|
เวลา 18.30น.ของวันอังคารแรกเดือนมีนาคมที่โรงภาพยนตร์ Hà Nội Cinematheque ที่สามารถบรรจุคนได้ 100 ที่นั่ง มีคนเต็มโรง โดยผู้ชมส่วนใหญ่คือนักศึกษา ผู้ที่มีงานทำและชาวต่างชาติที่กำลังอาศัยในเวียดนาม บรรดาคนพิการนั่งวิลแชร์ใกล้ที่นั่งแถวแรกบริเวณมุมซ้ายของห้อง และเยาวชนกว่า 10 คนนั่งบนฟูกยาวที่จัดวางด้านหน้าที่นั่งแถวแรก
“ดิฉัน เป็นผู้หญิงยุคใหม่ แต่พี่สาวและคุณแม่กลับบอกว่า ดิฉันเป็นคนที่ใช้ชีวิตอย่างอิสระเกินไป อยากทำอะไรก็จะทำเลย อยากคบค้ากับคนใดคนหนึ่งก็พบได้เลย ดิฉันรู้สึกว่า ช่องว่างระหว่างสตรียุคใหม่กับสตรียุคก่อนนับวันเพิ่มมากขึ้น สำหรับสตรียุคก่อน ความคิดและการใช้ชีวิตของพวกเขาได้รับอิทธิพลจากทัศนะในสังคมและความคิดของ ชาวบ้านเกี่ยวกับหน้าที่ของสตรีในครอบครัว เช่น พี่สาวของดิฉัน เมื่อเลิกงานแล้ว ก็ต้องไปซื้อของที่ตลาดเพื่อทำอาหารเย็น แล้วสอนลูกทำการบ้านจนถึง 3 – 4 ทุ่ม ซึ่งไม่มีเวลาอ่านหนังสือเพื่อดูว่า เล่มนี้ดีหรือเปล่า จะไปเที่ยวที่ไหน หรือควรเรียนต่อปริญญาโทไหม๊ เป็นต้น”
คุณบิ่งตอบคำถามของผู้ชมในการเสวนา (ภาพจากเว็บไซต์ของกลุ่มZDAG)
|
นี่คือคำในใจของคุณบิ่งในภาพยนตร์เรื่อง “ทำไมบิ่งไม่แต่งงาน” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ 1 ใน 3 เรื่องเกี่ยวกับปัญหาการเลือกปฏิบัติที่ได้รับการฉายในวันนี้ ส่วนภาพยนตร์ 2 เรื่องที่เหลือคือ “ความฝันของฉัน”ที่ใช้การวาดภาพจากทรายเล่าเรื่องเกี่ยวกับหญิงโสเภณีและภาพยนตร์เรื่อง “พวกเราได้แต่งงานแล้ว”ที่กล่าวถึงชีวิตประจำวันของสองสามีภรรยาที่เป็นคนพิการทั้งคู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นกลุ่มคนที่ถูกเลือกปฏิบัติ แต่สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “ทำไมบิ่งไม่แต่งงาน”นั้น จะต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการรับชมเพื่อสามารถเข้าใจปัญหาของคุณบิ่งโดยคุณบิ่งได้กล่าวว่า “ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัย พ่อแม่ได้บอกว่า ต้องตั้งใจเรียนให้จบก่อน เรื่องความรักไม่ต้องพูดถึง หลังจบจากมหาวิทยาลัย คนในครอบครัวบอกว่า ต้องหางานทำก่อนนะ เรื่องแต่งงานช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร พอมีงานทำและมีรายได้แล้ว ทุกคนจึงบอกว่า ถึงเวลาแต่งงานแล้วนะลูก แต่พออายุสูงขึ้นและไม่ได้แต่งงาน ทางบ้านจึงเป็นหว่งเรื่องนี้มาก โดยญาติมิตรในบ้านเกิดและเพื่อนบ้านของดิฉัน เมื่อเจอกันต่างถามว่า เมื่อไหร่จะแต่งงาน มีแฟนหรือยัง ฯลฯ เบื่อมากค่ะ บางทีก็คิดถึงพี่ๆและญาติในบ้านเกิดและอยากเจอพวกเขาแต่ไม่กล้ากลับไป ยกตัวอย่างเช่น ตรุษเต๊ตที่ผ่านมา ดิฉันมีแต่หลบลี้หนีหน้าไปเพราะกลัวว่า จะถูกถามเรื่องการแต่งงาน”
เรื่องของคุณบิ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมและบรรดาแขกรับเชิญเข้าร่วมการเสวนาที่มีขึ้นต่อจากนั้นที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มต่างๆของกลุ่มคนเพื่อการไม่เลือกปฏิบัติ หรือ ZDAG เช่น คนพิการ ผู้ติดยาเสพติด หญิงค้าประเวณี กลุ่มคนกะเทยและแปลงเพศ และนาง เงียมฮวา ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของเวียดนาม ดร.ดั่งหว่างยาง รองผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนชุมชนและการวิจัยเพื่อการพัฒนารับหน้าที่เป็นพิธีกรของการเสวนาได้ประเมินว่า “อาจกล่าวได้ว่า การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนที่แตกต่างเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ซึ่งการเลือกปฏิบัติที่เห็นได้โดยทั่วไปคือการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี คนพิการและเกย์ นอกจากนี้ ยังมีการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลอื่นๆ เช่น สตรีที่ยังไม่ได้สมรส สตรีที่แต่งงานแล้วแต่ไม่มีลูกและสตรีที่ไม่มีลูกชาย”
คำประเมินดังกล่าวของดร.ดั่งหว่างยางได้ทำให้นาย แหม่ง อายุ 25ปีจากกรุงฮานอยได้ตั้งคำถามว่า “สำหรับการเลือกปฏิบัตินั้น ผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติมักจะคิดว่า ทุกคนกำลังเข้าใจผิด แต่เขาไม่ได้คิดว่า ตนเองต่างกับคนอื่นและควรยอมรับความแตกต่างนั้น ซึ่งผมอยากถามทุกคนว่า การเลือกปฏิบัติคืออะไรและใครต้องรับผิดชอบแก้ไขปัญหานี้”
บรรยากาศของการเสวนามีความคึกคักและเปิดกว้างมากขึ้น โดยบรรดาผู้เข้าร่วมงานได้หารือเพื่อแสวงหาคำตอบที่สมเหตุสมผล
“คนเรามักจะคิดในแนวเดียวกันว่า มนุษย์เราต้องเหมือนกันหมดทุกคน ต้องปฏิบัติตนตามแนวเดียวกัน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามจะถูกเขี่ยออกจากสังคม นี่คือพฤติกรรมเลือกปฏิบัติรูปแบบหนึ่ง”
“ดิฉันคิดว่า การถูกเลือกปฏิบัตินั้นไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในสังคมเท่านั้น หากยังเกิดขึ้นจากหลายทาง เช่น จากตัวผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติ ครอบครัวและชุมชน ดิฉันมีความประสงค์ว่า ทุกคนจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหานี้เพื่อสามารถหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ พวกเราควรรับฟังและเปลี่ยนความคิดเพื่อสามารถเข้าใจกลุ่มคนที่ถูกเลือกปฏิบัติมากขึ้น ไม่ควรคิดว่า พวกเขาต้องปรับตัวเข้ากับสังคม แต่เราต้องปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนนั้นมากกว่า”
เกี่ยวกับปัญหานี้ นาง เงียมฮวา ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนได้กล่าวถึงการปฏิบัติต่อผู้ที่เคยต้องคดีฆ่าคน เพื่อทำให้ทุกคนมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและเผยว่า“ถ้ามองการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในเชิงลึก เราควรมีการปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันแม้กระทั่งคนนั้นอาจจะเป็นใครก็ตาม อย่างเช่น เพื่อนบ้านของเราเคยต้องคดีฆ่าคน แต่เรายังคงมีปฏิบัติการที่ดีต่อเขา ซึ่งหมายความว่า ทุกคนควรปฏิบัติต่อกันเหมือนพี่น้องตามที่ได้ระบุในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก ดิฉันคิดว่า ในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาการเลือกปฏิบัติก็ควรให้ความสนใจต่อการส่งสานส์ดังกล่าว”
คุณเวินกำลังพูดคุยกับบรรดาผู้ชมในการเสวนา (ภาพจากเว็บไซต์ของกลุ่มZDAG)
|
ถึงแม้การเสวนาได้เน้นหารือถึงประเด็นใหม่ๆในการเลือกปฏิบัติ แต่ก็ไม่ได้ละเลยเพิกเฉยต่อการเลือกปฏิบัติที่เห็นได้โดยทั่วไป คุณ เหงวียนถิถ่าวเวิน ผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนคนพิการปรับตัวเข้ากับชุมชนหงิหลึกซ้ง ซึ่งเป็นคนที่มีรูปร่างเล็ก ไว้ผมสั้นแบบฮัลลี่ เบอร์รี่ ย้อมผมสีแดง นั่งวิลแชร์พูดคุยกับผู้ชมว่า“ดิฉันยังจำได้ว่า ตอนดิฉันอายุ 13 – 14 ปี ดิฉันใส่กระโปรงออกไปข้างนอก มีผู้ชายวัย กลางคนได้พูดใส่หน้าดิฉันว่า คนขาเล็กต้องใส่กางเกงนะ ซึ่งทำให้ดิฉันรู้สึกอายและกังวลมากทุกครั้งเมื่อต้องออกไปข้างนอก ดิฉันกลัวว่า คุณแม่และเพื่อนๆจะรู้เรื่องดังกล่าว”
นาย เหงวียนแองฟอง สมาชิกคณะผู้บริหารเครือข่ายของผู้ติดเชื้อเอชไอวีแห่งชาติได้แจ้งข้อมูลผลการวิจัยเกี่ยวกับดัชนีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในเวียดนามเมื่อปี 2014 ที่จัดทำโดย โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือ UNAIDS ซึ่งในนั้น มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 20 ถูกซุบซิบนินทาและกล่าวว่า“คนเรามักจะบอกว่า การซุบซิบนินทาเป็นเรื่องของคนอื่น แต่ถ้าหากไม่สามารถปล่อยวางได้ก็อาจทำให้ผู้ที่ถูกซุบซิบนินทาฆ่าตัวตาย เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการจัดการประกวดภาพวาดโปสเตอร์เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ ซึ่งในนั้นโปสเตอร์ที่ได้รับการโหวตมากที่สุดคือโปสเตอร์ที่มีภาพปากที่มีคำว่า การเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุว่า หญิงโสเภณีที่ติดเชื้อเอชไอวีจะถูกปฏิเสธรับเข้าทำงานมากที่สุด ส่วนในจำนวนเกย์ที่ติดเชื้อเอชไอวี 3 คน มี 1 คนอยากฆ่าตัวตายเนื่องจากถูกซุบซิบนินทา”
การเสวนาได้เสร็จสิ้นลงหลังดำเนินไปเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง สำหรับนายแหมงนั้น การเสวนาวันนี้ได้ทำให้เขาเกิดความคิดใหม่ๆเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ เขาเห็นว่า ไม่ควรโยนความรับผิดชอบในการการต่อต้านการเลือกปฏิบัติให้แก่กลุ่มคนส่วนใหญ่ หากสมาชิกในกลุ่มคนที่ถูกเลือกปฏิบัติก็ต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของพวกเขาเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ ส่วนคุณผู้ฟังมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับปัญหานี้ ก็สามารถส่งอีเมล หรือ คอมเม้นบนเว็บไซต์ของเราเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้นะคะ.
Minh Lý - VOV5