เผยแพร่การแสดงละครแจ่วสู่คนรุ่นใหม่
Ngoc-Ngan -  
( VOVworld ) - ไม่อยากกินหมูยอและแหนมทอด อยากกินข้าวสวยและชมการแสดงแจ่ว นี่คือถ้อยคำกล่าวถึงความรักการแสดงพื้นบ้านแจ่วของชาวนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงในอดีต ส่วนสำหรับคนรุ่นใหม่นั้นยังชื่นชอบศิลปะการแสดงแจ่วซึ่งเป็นอาหารทางใจที่หาค่ามิได้หรือไม่ ขอเชิญท่านเข้าร่วมโครงการ “ แจ่ว ๔๘ชั่วโมง-ฉันเผยแพร่แจ่วสู่คนรุ่นใหม่ ”
( VOVworld ) -
ไม่อยากกินหมูยอและแหนมทอด อยากกินข้าวสวยและชมการแสดงแจ่ว นี่คือถ้อยคำกล่าวถึงความรักการแสดงพื้นบ้านแจ่วของชาวนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงในอดีต ส่วนสำหรับคนรุ่นใหม่นั้นยังชื่นชอบศิลปะการแสดงแจ่วซึ่งเป็นอาหารทางใจที่หาค่ามิได้หรือไม่ ขอเชิญท่านเข้าร่วมโครงการ “ แจ่ว ๔๘ชั่วโมง-ฉันเผยแพร่แจ่วสู่คนรุ่นใหม่ ”
ครูต๊วนเกื่องฝึกให้แทงห่าที่สวมบทแม่โด๊ป
นายเงียะสวมบท Ly truong
ที่ท่านกำลังรับฟังอยู่นี้คือการล้อเลียนระหว่างแม่โด๊ปโดยนางสาวแทงห่าสวมบทกับLy truong หรือผู้ใหญ่บ้านที่ถือไม้ไผ่นำทางโดยนายเหงวียะสวมบท ในห้องออกกำลังกายกว้าง ๔๐ ตารางเมตรของมหาวิทยาลัยการแสดงละครและภาพยนตร์ฮานอยมีผู้ร่วมการฝึกร้องและแสดงแจ่วราว ๔๐ คนกับครูเลต๊วนเกื่องกำลังนั่งชมการแสดงของห่าและเหงียะ
แจ่วเป็นศิลปะการแสดงละครพื้นบ้านแขนงหนึ่งประกอบด้วยการร้องและการรำพื้นบ้านประกอบกับศิลปะพื้นบ้านอื่นๆของเขตที่ราบลุ่มน้ำห่งหรือลุ่มน้ำแดง ส่วนภาษาสื่อสารของแจ่วนั้นเป็นภาษาชาวบ้าน มีความหมายในเชิงสั่งสอนและคกพังเพย ซึ่งคล้ายลำตัดของไทย นักแสดงแจ่วต้องมีความสามารถทั้งด้านพลังเสียงและการแสดงเพื่อสามรถถ่ายทอดบุคลิกและความรู้สึกของตัวละคร ซึ่งนางสาวทูเหวี่ยนและแทงห่าที่กำลังเข้าร่วมการฝึกอบรมก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน นางสาวเหวี่ยนกล่าวว่า “ การร้องแจ่วนั้นยากตรงที่ต้องใช้พลังเสียสูงต่ำและมีตัวโน้ตสัมพันธ์กัน คำร้องมีสัมผัสจึงจำง่ายและกินใจ แต่การขึ้นเสียงสูงต่ำของพวกหนูยังไม่เพราะเหมือนนักแสดงอาชีพ ”
นางสาวแทงห่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครแม่โด๊ปว่า “ สิ่งที่ยากสำหรับหนู่คือการสวมบทแม่โด๊ปที่ตั้งครรภ์ ๘ เดือน เนื่องจากยังไม่แต่งงานหนูจึงต้องจินตนาการเอาเอง นี่คือตัวละครที่มีอารมณ์ขัน มีความไหวตัวและมีบุคลิกเรียบง่ายของคนบ้านนอกแต่บางครั้งบางคราวก็พูดจาไม่ค่อยเรียบร้อย นับเป็นครั้งแรกที่หนูร้องเพลงทำนองแจ่วซึ่งบางครั้งก็ร้องผิดจังหวะ ”
นางสาวเลเหวี่ยน( อยู่ตรงกลาง )
แม้จะยากเพียงใด แต่ทูเหวี่ยนและแทงห่ากับเพื่อนๆเกือบ ๔๐ คนก็สามารถร้องเพลงทำนองแจ่วท่อนเกี่ยวกับแม่โด๊ปกับ Ly trung ในบทละครแจ่วโบราณกวานเอิมถิ่กิ๊งได้อย่างคล่องแคล่วภายในการเรียน ๔ รอบเรียนเท่านั้น ครูเลต๊วนเกื่อง ผู้กำกับของโรงละครแจ่วเวียดนามกล่าวเกี่ยวกับลูกศิษย์ของตนว่า “ เด็กๆไม่ใช่นักแสดงอาชีพแต่พวกเขารักศิลปะการแสดงแจ่ว การอบรมศิลปินแจ่วต้องใช้เวลา ๔ ปีและเมื่อเรียนจบมาทำงานที่โรงละครก็ต้องฝึกต่อไปสักระยะหนึ่งถึงจะสามารถขึ้นเวทีแสดงได้ แต่เด็กเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ดีและเร็วมาก เด็กๆสามารถสวมบทและแสดงให้ผู้ชมเข้าใจได้ พวกเขาสามารถเป็นนักแสดงอาชีพได้ ”
โครงการ “ แจ่ว ๔๘ชั่วโมง-ฉันเผยแพร่แจ่วสู่คนรุ่นใหม่ ” จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมนี้ โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแจ่ว ร้องเพลงทำนองแจ่วและเรียนเทคนิกการแสดง ตลอดจนได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเช่น การพบปะกับนักแสดงแจ่ว เที่ยวชมโรงละครแจ่ว แสดงแจ่ว ๔๘ ชั่วโมงและไปยังหมู่บ้านควก ตำบลฟองเจิว จังหวัดท้ายบิ่นห์ ซึ่งเป็นแหล่งศิลปะการร้องเพลงทำนองแจ่วของเวียดนาม คุณมายแอง นักเรียนคนหนึ่งกล่าวว่า “ การเข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้หนูได้มีโอกาสสัมผัสกับแจ่ว ได้เรียนการแสดงและการร้อง หนูกับเพื่อนนักเรียนจะไม่มีวันลืมช่วงเวลานี้ ”
ส่วนนางสาวเลเหวี่ยนกล่าวว่า “ ก่อนหน้านี้ หนูไม่คุ้นเคยกับแจ่ว แต่เมื่อเรียนแล้ว หนูรู้สึกใกล้ชิด คำร้องของแจ่วเป็นคำที่ชาวบ้านใช้กันทุกวันเหมือนที่เรากำลังคุยกัน เรียนมากขึ้นก็เกิดความรักและอยากศึกษาแจ่วมากขึ้น หนูยังฝึกร้องที่บ้านแม้กระทั่งตอนเข้านอนก็ยังฝันถึงการร้องแจ่ว”
เด็กนักเรียนกับครูต๊วนเกื่อง
นายรักษ์ธานินทร์ ทองประเสริฐ ผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยรู้สึกแปลกใจมากเมื่อได้ชมการแสดงและการร้องลีลาแจ่ว โดยบอกว่า ตนไม่เคยคิดเลยว่า เด็กเวียดนามรักศิลปะพื้นเมืองที่ร้องยากขนาดนี้ นาย รักษ์ธานินทร์ ทองประเสริฐ
เทปภาษาไทย
โครงการ “ แจ่ว ๔๘ชั่วโมง-ฉันเผยแพร่แจ่วสู่คนรุ่นใหม่ ” ไม่หวังผลิตนักแสดงแจ่วอาชีพแต่มุ่งเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะที่มีคุณค่าของชาติ ดังที่นายเลต๊วนเกื่อง ผู้กำกับคุยกับพวกเราว่า ศิลปะคือความรัก เมื่อเด็กมีความรักก็สามารถแสดงได้รวดเร็วและถ่ายทอดศิลปะพื้นบ้านสู่สาธารณชน ./.
Ngoc-Ngan