เวียดนามมุ่งสู่การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีผลิตวัคซีนต่างๆ

(VOVWORLD) -ในตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา งานด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอันตรายต่างๆได้รับความสนใจจากรัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานต่างๆของเวียดนาม โดยสามารถผลิตวัคซีนได้เองหลายชนิด  เช่น วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรนและบาดทะยัก วัคซีนป้องกันวัณโรคและวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้นซึ่งช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะสามารถขจัดโรคโปลิโอให้หมดไปในปี 2002 และสามารถควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของไข้ไทฟอยด์และอหิวาตกโรค

เวียดนามมุ่งสู่การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีผลิตวัคซีนต่างๆ - ảnh 1วัคซีนCOVIVAC (Photo: TTXVN)

จนถึงขณะนี้ เวียดนามเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและผลิตวัคซีนหลายชนิด รวมทั้งวัคซีนที่ใช้ในโครงการฉีดวัคซีนแห่งชาติ  ซึ่งมีส่วนช่วยขจัดโรคระบาดต่างๆ ค้ำประกันความมั่นคง ความปลอภัยและสุขภาพของชุมชน

ปัจจุบัน เวียดนามมีหน่วยงาน 4 แห่งที่ทำการวิจัยและผลิตวัคซีนได้แก่ สถาบันผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุ ( IVAC) บริษัทวัคซีนและยาชีววัตถุหมายเลข1 (VABIOTECH ) ศูนย์วิจัยผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุ (POLYVAC) และบริษัทหุ้นส่วนจำกัด MTV วัคซีนปาสเตอร์ดาลัด  โดยเฉพาะนับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 สถานประกอบการภาครัฐและภาคเอกชนได้ลงทุนเพื่อวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด -19 ซึ่งเวียดนามกำลังทดสอบทางคลินิกวัคซีน 2 ชนิดได้แก่วัคซีน Nanocovax ของบริษัทหุ้นส่วนเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม Nanogen และวัคซีน COVIVACที่ทางสถาบันวัคซีนและเภสัชกรรมเวียดนามหรือ IVAC เป็นผู้วิจัย  จนถึงขณะนี้ เวียดนามกำลังทดสอบทางคลินิกวัคซีน Nanocovax ในระยะที่ 3 ในอาสาสมัครเกือบ 1 หมื่น 4 พันคน  โดยใช้เทคโนโลยีโปรตีนลูกผสม ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีผลิตวัคซีนในปัจจุบัน ดอกเตอร์ โด๋มิงสี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยของบริษัทNanogenได้เผยว่า

“ปัจจุบัน ทั่วโลกมี 4 เทคโนโลยีเพื่อผลิตวัคซีนได้แก่ วัคซีนเชื้อตาย วัคซีนที่ใช้ไวรัสอะดีโน  เทคโนโลยี mRNAและเทคโนโลยีโปรตีนลูกผสม พวกเรามีประสบการณ์ในการผลิตวัคซีนด้วยเทคโนโลยีโปรตีนลูกผสม จึงตัดสินใจพัฒนาวัคซีนชนิดนี้”

เวียดนามมุ่งสู่การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีผลิตวัคซีนต่างๆ - ảnh 2พลโท ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ โด๋เกวี๊ยด ผู้อำนวยการสถาบันเสนารักษ์

ส่วนพลโท ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ โด๋เกวี๊ยด ผู้อำนวยการสถาบันเสนารักษ์ที่ทำการวิจัยและทดสอบวัคซีนNanocovax ได้เผยว่า

“สถาบันเสนารักษ์และสถาบันปาสเตอร์โฮจิมินห์ได้ทำการฉีดวัคซีนให้แก่อาสาสมัคร 1 หมื่น 2 พันคน ซึ่งในเบื้องต้นวัคซีนได้ผลดีมากกว่าร้อยละ 92 ในการวิจัยทั้ง 3 ระยะ จนถึงขณะนี้ อาจกล่าวได้ว่า วัคซีนนี้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันและพวกเรากำลังยื่นเรื่องขอให้กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติการใช้งาน”

ส่วนสถาบันผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุได้เสร็จสิ้นการทดสอบทางคลินิกวัคซีนCOVIVACในระยะที่ 1และกำลังเตรียมทดสอบในระยะที่ 2  ดอกเตอร์ เยืองหิวท้าย หัวหน้าสถาบัน Ivac ได้เผยว่า  วัคซีนCOVIVAC ใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบดั้งเดิม ตามผลการทดสอบระยะที่ 1 วัคซีน COVIVAC ได้รับการเมินว่า มีความปลอดภัยและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี

นอกจากนี้ การรับเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนจากต่างประเทศเพื่อผลิตภายในประเทศก็ได้รับการปฏิบัติ เช่นเครือบริษัทวินกรุ๊ปได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน mRNA ป้องกันโควิด -19 จากสหรัฐ บริษัทหุ้นส่วนจำกัด AIC และบริษัท VABIOTECH ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจากบริษัท Shionogi ของญี่ปุ่น ส่วนเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนSputnik-V ของรัสเซียก็ได้รับการถ่ายทอดให้แก่บริษัท  VABIOTECH และบริษัท DS-Bio  

จากการตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน  โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่โควิด –19ได้แพร่ระบาดอย่างรุนแรงและการปฏิบัติตามคำชี้นำของรัฐบาล กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ประสานงานกับกระทรวงและหน่วยงานต่างๆในการจัดทำโครงการแห่งชาติ “การวิจัยผลิตวัคซีนให้แก่คนจนถึงปี 2030” โดยตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปี 2025 เวียดนามจะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน 25 ชนิดและผลิตวัคซีนอย่างน้อย 15 ชนิด ส่วนจนถึงปี 2030 เวียดนามจะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีผลิตวัคซีน 30 ชนิดและผลิตวัคซีนอย่างน้อย 20 ชนิด.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด