อุตสาหกรรมยางพาราและยุทธศาสตร์แห่งสีเขียว

(VOVWORLD) - เพื่อปฏิบัติเป้าหมายพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมต่อสังคมและตอบสนองความต้องการที่เข้มงวดมากขึ้นของตลาดส่งออก ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เครือบริษัทอุตสาหกรรมยางพาราเวียดนามได้ประกาศยุทธศาสตร์การเติบโตแห่งสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงปี 2023 - 2030 วิสัยทัศน์ถึงปี 2050 ซึ่งสำหรับสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมยางพาราหลายแห่ง การพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมถือเป็นยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าเครื่องหมายการค้าของสถานประกอบการในตลาด
อุตสาหกรรมยางพาราและยุทธศาสตร์แห่งสีเขียว - ảnh 1เครือบริษัทยางพาราเวียดนามหรือ VRG บริหารพื้นที่ปลูกยางพารากว่า 410,000 เฮกตาร์ทั้งภายในและต่างประเทศ 

 

ปัจจุบัน เครือบริษัทยางพาราเวียดนามหรือ VRG ทำหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ปลูกยางพารากว่า 410,000 เฮกตาร์ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยพื้นที่ปลูกยางพาราภายในประเทศอยู่ที่เกือบ 300,000 เฮกตาร์ ที่กัมพูชากว่า 87,000 เฮกตาร์ และที่ประเทศลาวเกือบ 30,000 เฮกตาร์ ทุกปี เครือบริษัท VRG ผลิตยางพาราทุกชนิดเฉลี่ย 320,000 ตัน การประกาศยุทธศาสตร์การเติบโตแห่งสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงปี 2023-2030 และวิสัยทัศน์ถึงปี 2050 เป็นหนึ่งในแนวทางที่สำคัญของเครือบริษัท VRG ในการปฏิบัติ 3 เป้าหมายพร้อมกัน ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ - การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม- ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม

ตอบสนองความท้าทายใหม่ๆ ของตลาด

การกำหนดยุทธศาสตร์แห่งสีเขียวของเครือบริษัท VRG มีขึ้นในสภาวการณ์ที่โลก โดยเฉพาะตลาดส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรปหรือ EU และญี่ปุ่นกำลังควบคุมมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสำหรับสินค้านำเข้าที่เข้มงวดมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปจะประกาศใช้ข้อกำหนดต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าต่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โกโก้ กาแฟและยางพาราตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคมปีหน้า นอกจากนี้ตั้งแต่ต้นเดือนนี้ สหภาพยุโรปยังได้จัดเก็บภาษีคาร์บอนต่อการนำเข้าสินค้าภายในกลุ่มฯ เป็นการนำร่อง ก่อนจะทำการจัดเก็บอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2026 ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรฐานการส่งออกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำและลดการใช้พลังงานถือเป็นความท้าทายต่อสถานประกอบการ นาย เจิ่นแทงหาย รองอธิบดีกรมนำเข้าและส่งออกสังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ได้เผยว่า

“จากมุมมองทางการค้า มีความเป็นไปได้ว่า ในเวลาที่จะถึง ประเทศต่างๆ อาจเก็บภาษีต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานในการผลิตมากหรือมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ซึ่งจะเป็นการกีดกั้นทางการค้าต่อสินค้าของเวียดนาม ดังนั้น สถานประกอบการ รวมถึงสถานประกอบการด้านการผลิตและการค้าจึงต้องเร่งศึกษาปัญหานี้อย่างรอบคอบเพื่อพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการตอบสนองเงื่อนไขความต้องการของประเทศนำเข้า”

ในยุทธศาสตร์แห่งสีเขียวที่เพิ่งประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มบริษัท VRG ได้กำหนดเป้าหมายต่าง ๆ  เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมด้านพลังงานอย่างน้อยร้อยละ 15 ภายในปี 2030 และร้อยละ 30 ภายในปี 2050 เมื่อเทียบกับปีนี้ สร้างห่วงโซ่อุปทานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าหมายจนถึงปี 2030 พื้นที่ปลูกยางพาราและพื้นที่ปลูกป่าเพื่อการผลิตของเครือบริษัทฯร้อยละ 60 ได้รับใบรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนในระดับชาติและนานาชาติหรือ VFCS/PEFC/FSC  และโรงงานแปรรูปน้ำยางทุกแห่งมีใบรับรอง Chain of Custody Certification (CoC) เพื่อมุ่งสู่ปี 2050 เครือบริษัท VRG มีพื้นที่ปลูกยางพาราและพื้นที่ปลูกป่าเพื่อการผลิต 100% ที่ได้รับใบรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนในระดับชาติและระดับนานาชาติ และโรงงานผลิตน้ำยาง ผลิตภัณฑ์จากไม้และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางมีใบรับรอง CoC

เครือบริษัท VRG ยังให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตามแนวทางเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้แหล่งพลังงานตามแนวทางเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน อีกทั้ง ตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปี 2050 แหล่งพลังงานหมุนเวียนและพลังงานชีวมวลจะคิดเป็นอย่างน้อยร้อยละ 50 ของความต้องการทั้งหมด ประหยัดพลังงานได้ประมาณร้อยละ 20 - 30 เมื่อเทียบกับความต้องการทั้งหมด และลดของเสียอันตรายในกระบวนการผลิตร้อยละ 20

อุตสาหกรรมยางพาราและยุทธศาสตร์แห่งสีเขียว - ảnh 2นาย เจิ่นแทงหาย รองอธิบดีกรมนำเข้าและส่งออก สังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม (VNA)

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

สำหรับสถานประกอบการในอุตสาหกรรมยางพารา ผลิตภัณฑ์แห่งสีเขียวและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังเป็นยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าแบรนด์ในตลาด

บริษัทหุ้นส่วนยางพาราเฟือกหว่าในจังหวัดบิ่งเยืองได้ดำเนินกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้น้ำยางจากแหล่งวัตถุดิบที่ได้รับใบรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การใช้ยานพาหนะขนส่งน้ำยางและพื้นที่รับจัดเก็บ ไปจนถึงระบบสายการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ได้มาตรฐานสีเขียวจะถูกส่งออกไปยังประเทศในยุโรป สหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งด้วยความมุ่งมั่นที่จะมีพื้นที่วัตถุดิบกว่า 15,000 เฮกตาร์ที่ได้รับใบรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตน้ำยางและเครื่องฟอร์นิเจอร์ ได้ช่วยให้บริษัทฯสามารถสร้างและยืนยันส่วนแบ่งของแบรนด์สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและตอบสนองความต้องการของผู้นำเข้า ดังนั้น ถึงแม้ว่าราคาขายจะสูงกว่าราคาเฉลี่ยในตลาด แต่ใบสั่งซื้อส่งออกของบริษัทฯยังคงมต่อเนื่องจนถึงปีหน้า นาย เหงียนวันเตือก ผู้อำนวยการบริษัทยางพาราเฟือกหว่า เผยว่า

“บริษัทได้รับใบรับรองการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน และเมื่อกว่า 1 เดือนที่แล้วก็ได้รับการประเมินอีกครั้งว่าปฏิบัติได้ดีมาก ทางบริษัทฯ มีความปรารถนาคือ พื้นที่ป่าไม้ 100% จะได้รับใบรับรองนี้ แต่มีปัญหาคือพื้นที่ปลูกยางของบริษัทปะปนกับพื้นที่ปลูกยางของหลายครอบครัว ดังนั้น เราจะรณรงค์และพร้อมที่จะสนับสนุนครัวเรือนเหล่านี้ปฏิบัติตามระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่แดล้อมที่บริษัทกำลังพัฒนา”

จากความสำเร็จในเบื้องต้นของสถานประกอบการบางแห่ง อย่างบริษัทหุ้นส่วนยางพาราเฟือกหว่า ทางเครือ VRG วางแผนที่จะขยายผลรูปแบบนี้ไปยังหลายท้องถิ่นอีกทั้ง วางแผนที่จะให้การสนับสนุนครอบครัวที่ปลูกยางพารารับรู้เทคนิคในการเลือกพันธุ์ยาง เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของน้ำยาง รวมถึงการสนับสนุนการจัดซื้อในราคาที่ดีและสร้างระบบตรวจสอบ ระบุแหล่งที่มาที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด