จังหวัดเบ๊นแจพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

(VOVworld) – จังหวัดเบ๊นแจตั้งอยู่ตอนล่างของแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 65 ก.ม.และระบบแม่น้ำลำคลองที่ซับซ้อนจึงเป็นท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ จังหวัดเบ๊นแจและจังหวัดกว๋างนามได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดนำร่องปฏิบัติโครงการ “ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” ที่อุปถัมภ์โดยรัฐบาลเดนมาร์ก

(VOVworld) – จังหวัดเบ๊นแจตั้งอยู่ตอนล่างของแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 65 ก.ม.และระบบแม่น้ำลำคลองที่ซับซ้อนจึงเป็นท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ จังหวัดเบ๊นแจและจังหวัดกว๋างนามได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดนำร่องปฏิบัติโครงการ “ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” ที่อุปถัมภ์โดยรัฐบาลเดนมาร์ก
จังหวัดเบ๊นแจพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1
จังหวัดเบ๊นแจตั้งอยู่ตอนล่างของแม่น้ำโขง (Photo dichvuhangkhong.com.vn)

ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุนได้ส่งผลกระทบในทางลบทำให้ประชาชนในอำเภอริมฝั่งทะเลของจังหวัดเบ๊นแจขาดแคลนน้ำจืดเพื่อใช้อุปโภค แต่ละปี มีที่ดินนับหมื่นตารางเมตรถูกกัดเซาะ ส่งผลให้นับพันครัวเรือนไม่มีที่อยู่อาศัยและต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปที่อื่น ดังนั้น ทางการปกครองและชาวท้องถิ่นได้พยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อลดผลกระทบดังกล่าวให้เหลือน้อยที่สุด จากเงินอุปถัมภ์กว่า 1แสน 4หมื่นล้านด่งของรัฐบาลเดนมาร์กและงบประมาณของท้องถิ่น จังหวัดเบ๊นแจได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การก่อสร้างระบบทำนบกั้นน้ำที่ใช้เงินทุนก่อสร้างโครงการละ 1 หมื่น 5 พันล้านด่งเพื่อลดปัญหาน้ำทะเลซึมเข้ามาในพื้นที่เกษตรกว่า 1 หมื่นเฮ็กต้า จัดสรรค์น้ำจืดให้แก่การผลิตและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนนับพันคน ตลอดจนก่อสร้างและซ่อมแซมโรงประปาที่จัดสรรค์น้ำให้แก่กว่า 2000 ครัวเรือน ระบบท่อส่งน้ำสะอาดจากสระและบึงไปยังบ้านเรือนประชาชน ก่อสร้างโรงกรองน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำจืด เป็นต้น นาย โห่วันเฟือก เกษตรกรตำบลยาวแถก อำเภอแถกฟู้แสดงความคิดเห็นว่า “ผมมีทั้งบ่อน้ำและถังเก็บน้ำฝน ซึ่งมีน้ำจืดเพียงพอสำหรับการเลี้ยงกุ้งในบ่อและใช้ในชีวิตประจำวัน ฤดูแล้งยาว 1 เดือนเท่านั้น ดังนั้นเราจึงไม่กลัวว่าจะขาดแคลนน้ำประปา”
นอกจากความพยายามปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุนของจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงแล้ว จังหวัดเบ๊นแจยังก่อสร้างทำนบกั้นน้ำเค็มที่ตำบลแถงจิ๋ อำเภอบิ่งด๋าย ก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนในตำบลเซินดิ๋ง อำเภอเจอะแลก ตลอดจนก่อสร้างระบบระบายน้ำ ขุดลอกแม่น้ำบาลายเพื่อใช้เป็นแหล่งจัดสรรค์น้ำจืดให้แก่ครัวเรือนนับพันแห่งในอำเภอโจว์แถ่ง บิ่งด๋ายและบาชี สร้างเขตตั้งถิ่นฐานสองแห่งให้แก่ผู้อพยพจากเขตที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ พร้อมทั้งเป็นฝ่ายรุกในการร่างโครงการที่ได้รับสิทธิพิเศษในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีสองโครงการที่อยู่ในรายชื่อโครงการที่ได้รับสิทธิพิเศษภายใต้การดำเนินงานของส่วนกลางคือ โครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำประปาให้แก่เขตกู่ลาวมิงห์ของอำเภอเจอะแลก หมอไก่เหนือ หมอไก่ใต้และแถกฟู้ที่ประสบปัญหาน้ำค็มซึมและโครงการก่อสร้างทำนบป้องกันการกัดเซาะฝั่งแม่น้ำหมอไก่ที่ใช้เงินทุนก่อสร้างเกือบ 1 ล้านล้านด่ง จากการปฏิบัติโครงการเหล่านี้ได้ช่วยให้จังหวัดเบ๊นแจลดผลเสียหายจากภัยธรรมชาติ นายกาววันจ๋อง รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดเบ๊นแจเผยว่า “สิ่งที่น่ายินดีคือ หลังจากที่ได้รับการอนุมัติ แผนปฏิบัติการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้รับการปฏิบัติทันที โดยเฉพาะในการวางแผนของหน่วยงานแต่ละหน่วย โดยเฉพาะหน่วยงานคมนาคมและหน่วยงานการเกษตรต่างระบุถึงแผนปฏิบัติการดังกล่าวโดยสอดแทรกกับกิจกรรมต่างๆเพื่อใช้ทั้งเงินทุนของโครงการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและงบประมาณแผ่นดินของจังหวัดและประเทศ"

จังหวัดเบ๊นแจพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2
ปี 2020 ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 12 เซนติเมตรทำให้พื้นที่ร้อยละ 13 ของจังหวัดเบ๊นแจจมอยู่ใต้น้ำ (Photo canthotv)

นักวิชาการคาดว่า ปี 2020 ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 12 เซนติเมตร ซึ่งทำให้พื้นที่ 272 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณร้อยละ 13 ของจังหวัดเบ๊นแจจมอยู่ใต้น้ำ ทำให้ประชาชนเกือบ 9 หมื่น 7 พันคนต้องอาศัยอยู่ในเขตน้ำท่วม จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่นับวันซับซ้อนยิ่งขึ้น ทางการปกครองท้องถิ่นและประชาชนจังหวัดเบ๊นแจต้องให้ความสนใจถึงปัญหานี้ต่อไปเพื่อสามารถปรับตัวให้เหมาะสมได้ นายเลวันลา รองหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำการป้องกันพายุและน้ำท่วมของอำเภอบิ่งด๋ายเผยว่ามีงานที่ต้องทำมากมายเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก่อนอื่นคือการก่อสร้างและซ่อมแซมทำนบกั้นน้ำให้เสร็จเรียบร้อย ต่อจากนั้นก็ต้องรณรงค์ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ไม่สามารถจัดสรรค์น้ำได้ให้ทำการสำรองน้ำประปาเอาไว้ใช้ ตลอดจนรณรงค์ให้สถานประกอบการลงทุนก่อสร้างโรงผลิตน้ำจืดในเขตริมฝั่งทะเลเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและรณรงค์ให้ประชาชนปลูกป่าชายเลนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

จากผลสำเร็จที่ได้ประสบ ทางการปกครองและประชาชนจังหวัดเบ๊นแจมีความเชื่อมั่นว่า จะสามารถลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติได้ ควบคู่กันนั้นทางจังหวัดเบ๊นแจยังผลักดันการเรียกการลงทุนและความร่วมมือจากแหล่งพลังทั้งภายในและต่างประเทศต่อไปเพื่อปฏิบัติมาตรการต่างๆในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด